เดอร์ไคลม์


ไปเปิดเจอสมุดบันทึกเล่มเก่าได้ทำการโนตไว้เมื่อหลายปีที่แล้ว บอกตามตรงไม่ทราบที่มา ไม่รู้ว่าจดหรือฟังบรรยายจ่ากโอกาสไหน แต่ที่แน่ ๆ ผมก็ไม่เคลมว่าเป็นความคิดของผมเอง เป็นข้อสรุปและโนตสั้น ๆในสมุดพก ที่เห้นว่ามีค่าควรจดจำ ขออนุญาตนำเสนอไว้ในที่นี้ครับ

แนวคิดสำคัญที่ อีมิล เดอร์ไคลม์ได้ให้ไว้เพื่อการอธิบายสังคมก็คือ สังคมนั้นประกอบด้วยการพึ่งพาอาศัยระหว่างสมาชิก(interdependence) เพราะมนุษย์อยุ่คนเดียวไม่ได้หากมนุาย์อยู่คนเดียวมนุษย์จะมีความยากลำบากในการดำรงชีวิตอย่างมาก สังคมจึงจะต้องมีการแบ่งแยกงานให้สมาชิกในสังคมแต่ละคนช่วยกัีนทำ เดอร์ไคลม์ถือว่าการแบ่งแยกงานกันทำนี้จะเป้นเงื่อนไขหลักที่ทำให้สังคมเกิดเสถียรภาพ แน่นอนว่าในแต่ละสังคมจะมีการตกลงกันว่าสิ่งใดเป้นสิ่งที่ทำได้ สิ่งใดเป้นสิ่งที่ทำไม่ได้ หรือไม่ควรทำ อาจมีสมาชิกบางคนอยากจะทำในสิ่งที่สังคมคิดว่าไม่ควรทำ แต่สมาชิกผู้นั้นก็ต้องยอมเสียสละที่จะไม่ทำเพื่อความสงบสุขของสะังคมส่วนรรวม มนุษย์เป้นสัตว์สังคมที่จะต้องเรียนรู้ าษา ทักษะ ประเพณี เพราะบรรดาสิ่งเหล่านี้เป้นสิ่งที่จะทำให้มนุษยืดำรงอยู่ได้ในสังคม และในทางกลับกันมันก็เป้นสิ่งที่ทำให้สังคมมนุษย์ดำรงอยุ่ได้ด้วย คุณลักษณะที่สำคัญของมนุษย์ก้คือ หน้่าที่ทางศีลธรรม และการมีความจงรักภักดี (ต่อกลุ่ม)

การหลอมรวมและความเป้นหนึ่งเดียวของสังคมเกิดขึ้นจากการที่บุคคลติดต่อประสานสัมพันธ์กัน พิะีการ พิธีกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่กอรปด้วยความเชื่อถือศรัทธา เช่นพิธีการทางศาสนาจะดึงดูดผุ้คนที่มีความเชื่อถือศรัทธาเหมือนๆ กันให้เข้ามามีความผูกพันซึ่งกันและกัน เป้นการติดต่อสัมพันธ์กันที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ยิ่งมีการติดต่อสัมพันธ์กันมากขึ้นเข้มข้นขึ้นเท่าไหร่ก็จะมีส่วนทำให้เกิดค่านิยมบางอย่างร่วมกัน ค่านิยมบางอย่างที่ว่านี้คือความคิดความเชื่อจะก่อให้่เกิดพลังยึดเหนี่ยวทางสังคม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเมื่อมีค่านิยมร่วมกันย่อมจะมีความพยายามที่จะทำให้มีการละเมิดค่านิยมนั้นด้วย

สังคมที่มีการแบ่งงานกันทำมาก จะเป้นสังคมแบบอินทรีย์ ตรงนี้คือแต่ละคนในสังคมถูกมองเป็นเหมือนหน่วยของอวัยวะหรือเซลลืที่ทำหน้าที่เพื่อช่วยให้กิจกรรมทางสังคมในภาพรวมนั้นดำเนินไปได้ แต่สังคมที่มีการแบ่งงานกันทำน้อย จะเป็นสังคมแบบจักรกล คือแต่ละคนต้องทำงานในส่วนของตนเองหลายท ๆ ด้าน

การจะทำให้คนในสังคมมีแบบแผนเดียวกันจำเป็นต้องสร้างขึ้นผ่านสิ่งที่เรียกว่าการขัดเกลาทางสังคม โดยมีครอบครัว วัด โบสถ์ ดรงเรียน ทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคม เชื่อว่าหากคนมีแบบแผนแล้วจะมีแนวดน้มต่อต้านแบบแผนอื่นที่ขัดแย้่งกับแบบแผนที่ได้รับการขัดเกลามา

เดอร์ไคลม์ ยังแยกคำว่าศึกษาศาสตร์ Educationออกจากคำว่าครุศาสตร์ Pedagogy เพราะครุศาสตร์นั้นเป็นวิชาครูเป็นความรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนใสนห้องเรียน ขณะที่ศึกาาสาสตร์เป็นวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสังคม ทำหน้าที่ปลูกฝังพลังทางศีลธรรมให้แก่ผู้คนในสังคมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เขาเชื่อว่าพลังทางศีลธรรมจะทำให้สังคมเป็นปึกแผ่น (Education can change the natural man to be social man by teach him to know and do under the social wants/needs) สังคมจะอยู่รอดได้เมื่อสมาชิกมีความเป็นปึกแผ่น แต่ถ้าทุกคนมีความสามารถและความสนใจทุกอย่างเหมือนกันหมด ก็จะไม่ทำให้เกิดความแตกต่าง กิจกรรมทางสังคมก็จะไม่แตกต่างกัน ดังนั้นการศึกษานี่เองจะช่วยขัดเกลาให้สมาชิกในสังคมมีความสามารถและความสนใจเฉพาะทางที่แตกต่างกันอออกไป

กล่าวอีกนัยหนึ่ง การปลูกฝังศีลธรรมจะทำให้สังคมมีความเป้นปึกแผ่น ส่วนการสอนวิชาความรู้ตามศาสตร์จำเพาะต่าง ๆ จะนำไปสู่การแบ่งงานกันทำ

คำสำคัญ (Tags): #เดอร์ไคลม์
หมายเลขบันทึก: 617293เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2016 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2016 11:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท