หลัก 8 ในการจำแนกแท้เก๊ คือการวิเคราะห์เนื้อ และองค์ประกอบของมวลสาร


หลัก 8 ข้อในหลักข้อ 8

ในการจำแนกแท้เก๊ คือการวิเคราะห์เนื้อ และองค์ประกอบของมวลสาร
***********************************
ผมได้เรียบเรียงหลักการนี้ เริ่มมาจากพระเนื้อผงปูนเปลือกหอย ไล่มาตามลำดับ จนมาลงตัวที่หลัก 8 พอดีๆ อย่างไม่น่าเชื่อ ว่าจะตรงกับคำสอนของพระพุทธองค์ ในหลัก อริยมรรคมีองค์ 8 พอดีๆ โดยบังเอิญ อย่างไม่น่าเชื่อ
------------------------------
การจำแนกหลักต่างๆ เหล่านี้ อาศัยไล่ลำดับมาจากความพยายามที่จะใช้ตัวเลขในการกำหนดหลักการจำแนก ให้แตกต่างจากคำสอนของคนอื่นๆ ที่ผ่านมาทั้งหมด

และไล่ลำดับมาจนถึง หลัก 8 ที่มีเจตนาที่จะเข้าใจที่มาของความหลากหลายของเนื้อพระแต่ละกลุ่ม แต่ละกรุ แต่ละองค์ ด้วยหลักการที่มา 8 ประการ คือ

1. เป้าหมายของการสร้าง
2. ปรัชญาในการสร้าง
3. หลักคิดในการสร้าง
4. เทคโนโลยีที่ใช้
5. วัสดุที่ใช้แบบต่างๆ
6. การจัดการในแต่ละขั้นตอน
7. การดำเนินการให้เป็นไปตามแผน และ
8. สิ่งแวดล้อมในขณะดำเนินการสร้าง

ทั้ง 8 ปัจจัยนี้เอง ที่ทำให้เกิดความเหมือน และความต่างของการสร้าง และความแปรปรวนของพระแต่ละองคืที่ทำให้มีลักษณะแตกต่างกันเกือบจะสิ้นเชิง แต่ก็ยังคงเอกลักษณ์หลักๆ ที่เหมือนกันไว้เช่นเดิม

ที่เราจะต้องจับประเด็นทั้งสองมิติ (ต้องมีความเหมือนในความแตกต่าง และมีความแตกต่างในความเหมือน) นี้ให้ได้ในการพิจารณา เก๊-แท้ ของแต่ละองค์

นี่ว่าเฉพาะเนื้อ หรือมวลสารในการสร้างนะครับ

ในมิติของพุทธศิลป์ ก็สามารถใช้หลัก 8 นี้ไปเทียบเคียงเป็นหลักการในการพิจารณาได้เช่นเดียวกัน
--------------------------------------------------
ดังนั้น หลักเริ่มต้นแบบง่ายๆ 2 ข้อ ในการพิจารณาหลัก 8 นี้ ก็คือ

ก. ความเหมือนที่ต้องมีให้เห็นในความแตกต่าง (เช่นสนิมเหล็กในเนื้อพระรอด การงอกที่ผิวของเนื้อผง ดิน ว่าน ฯลฯ) และ

ข. ความแตกต่างที่ต้องมี ในความเหมือน( โดยเฉพาะความหลากหลาย ในแต่ละจุด แต่ละ1ตารางมิลลิเมตร บนพื้นผิว ที่มักจะไม่เหมือนกันเลย อย่างต่อเนื่องกันไป แบบไม่มีระหว่างคั่น)

แค่ 2 ข้อนี้ เมื่อใช้อย่างถูกวิธีแล้ว พระเก๊ก็ผ่านเข้ามายากแล้วครับ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


หมายเลขบันทึก: 617040เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2016 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ตุลาคม 2016 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท