โครงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบพัทลุง .2(ตามรอยถวายอดิเรก)


การท่องเที่ยว 4 ส.คือ สายน้ำ สายธรรม สายศิลป์และสายไสยศาสตร์


</p> <p “=””> การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบ พัทลุง มี 2 มหาวิทยาลัยในภาคใต้ ทำการวิจัย คือ ชมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และมหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เราใช้คำว่าการท่องเที่ยว 4 ส.คือ สายน้ำ สายธรรม สายศิลป์และสายไสยศาสตร์ ผู้เขียนได้เข้าร่วมเวที ทั้ง 2 มหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาหาความรู้ จะได้นำมาจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เข้าร่วมเวทีแล้วก็กลับมานั่งถก นั่งทบทวนกันในสิ่งที่ชุมชนมีอยู่ทั้งอดีตและปัจจุบัน ตอนหนึ่งของการทบทวน คุณ วงศกร มีสวัสดิ์ ได้เอ่ยถึง พระอุดมปิฏก ว่าเป็นนักจัดการศึกษาในแถบสงขลาพัทลุง และเป็นต้นเรื่องของการถวาย”อดิเรก” ทำให้เป็นที่น่าสนใจ จึงได้สืบค้น จากกูเกิ้ล ว่าพระอุดมปิฎกเป็นใคร ได้ข้อมูลน่าสนใจ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปัน ในการท่องเที่ยว สายธรรม ดังนี้ “ </p>

สมัยรัชกาลที่ 2

พระอุดมปิฎก นามเดิม สอน นามฉายา พุทฺธสโร เป็นชาวจังหวัดพัทลุง ได้เข้ามาพักอาศัยอยู่ ณ วัดหนัง เขตบางขุนเทียน (ปัจจุบันเขตจอมทอง) ได้มาศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม อยู่ที่วัดหงสาราม (ปัจจุบันเป็นวัดหงส์รัตนาราม) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ภายหลังได้ย้ายมาอยู่วัดหงสารามและเคยเป็นเจ้าอาวาสวัดหงสาราม รูปที่ 5 ทรงรู้จักและคุ้นเคยเป็นอันดี ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ครั้นขึ้นเสวยราชย์แล้ว ก็ทรงตั้งให้พระมหาสอนเป็นพระราชาคณะ มีราชทินนามว่า พระอุดมปิฎก และเป็นเจ้าอาวาสวัดหงสารามจนตลอดรัชกาล เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 3 แล้ว รัชกาลที่ 4 ซึ่งยังผนวชอยู่ ก็ทรงลาสิกขาขึ้นเสวยราชสมบัติ พระอุดมปิฎกก็ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสกลับภูมิลำเนาเดิม

ท่านเจ้าคุณพระอุดมปิฎก มีประวัติที่ควรจารึกไว้ให้ปรากฏ คือ เมื่อรัชกาลที่ 4 ขึ้นเสวยราชสมบัติแล้ว ท่านกลัวว่าราชภัยจะมาถึงตน เพราะเคยมีปฏิกิริยาคัดค้านการทรงตั้งคณะธรรมยุตติกนิกายอย่างแรงกล้า จึงรีบลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหงสารามกลับไปอยู่ในภูมิลำเนาเดิม ครั้นถึงงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ทรงรับสั่งให้สืบหาพระอุดมปิฎก ครั้นทรงทราบว่าจำพรรษาอยู่ ณ วัดสุนทราวาส (สนทรา) จังหวัดพัทลุง จึงรับสั่งให้อาราธนามาในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา โดยให้เป็นภาระหน้าที่ของคณะข้าราชการกรมการจังหวัดเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเดินทาง (โดยทางเรือ) ทุกประการ ท่านจึงเดินทางมาตามหมายกำหนดการ ครั้นถึงวันพระราชพิธี พระอุดมปิฎกเข้านั่งประจำที่เป็นองค์สุดท้ายปลายแถว ถึงเวลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนจตุปัจจัยไทยทานโดยลำดับ นับตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชลงมาจนถึงพระอุดมปิฎก ทรงโสมนัสยิ่งนัก ทรงทักทายด้วยความคุ้นเคย ตอนท้ายทรงรับสั่งว่า ท่านเดินทางมาแต่ไกล นานปีจึงจะได้พบกัน ขอจงให้พรโยมให้ชื่นใจทีเถิด เมื่อได้รับอนุญาตจากสมเด็จพระสังฆราชแล้ว ท่านเจ้าคุณก็ตั้งพัดยศซึ่งถวายพระพรด้วยปฏิภาณโวหาร ว่ากลอนสดเป็นภาษาบาลีว่า

อติเรกวสฺสสตํ ชีว
อติเรกวสฺสสตํ ชีว
อดิเรกวสฺสสตํ ชีว
ทีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ
ทีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ
สุขิโต โหตุ ปรมินฺทมหาราชา
สิทฺธิกิจฺจํ สิทฺธิกมฺมํ สิทฺธิลาโภ ชโย นิจฺจํ
ปรมินฺทมหาราชวรสฺส ภวตุ สพฺพทา ขอถวายพระพร

เนื่องจากท่านไม่ได้เตรียมไว้ก่อน เพราะไม่รู้ว่าจะต้องถวายพระพร จึงว่าติดเป็นระยะๆ วรรคแรกว่าซ้ำถึง 3 หน จึงว่าวรรคที่สองต่อไปได้ ว่าวรรคที่สองซ้ำถึงสองหน จึงว่าวรรคที่สามต่อไปได้ และว่าได้ตลอดจนจบโดยมิได้ซ้ำอีกเลย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสดับแล้วทรงโปรดพระพรบทนี้มาก จึงทรงรับสั่งให้ถือเป็นธรรมเนียมให้พระสงฆ์ใช้พรบทนี้ถวายพระพรพระมหากษัตริย์ ในพระราชพิธีทั้งปวงตราบเท่าจนทุกวันนี้ โดยมิได้ตัดตอนแก้ไขแต่ประการใด แม้คำที่ท่านว่าซ้ำสองหนสามหน ก็ให้รักษาไว้เหมือนเดิม เรียกว่าถวายอดิเรก แต่ได้ทรงเพิ่มเติมคำว่า ตุ ต่อท้ายคำว่า ชีว เป็น ชีวตุ สืบมาจนบัดนี้

โดยที่พระอุดมปิฎกผู้เป็นต้นเหตุถวายพระพรบทนี้เป็นพระราชาคณะ ดังนั้นจึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบมาว่า พระผู้ที่จะถวายอดิเรกได้นั้นต้องมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ธรรมเนียมนี้ได้รักษามาเป็นเวลาช้านาน แต่ปัจจุบันนี้ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2510) ทางการคณะสงฆ์ได้อนุญาตให้พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ซึ่งถือพัดยศเปลวเพลิงเป็นผู้ถวายอดิเรกได้โดยอนุโลม นับได้ว่าพระอุดมปิฎกเป็นต้นบัญญัติแห่งการถวายอดิเรกด้วยประการฉะนี้

มีเรื่องเล่าเพิ่มเติมว่า เนื่องจากท่านมหาสอนเป็นคนรูปร่างเล็กผิวดำและเตี้ย แม้ท่านจะสน ใจในการศึกษา แต่ก็หาโอกาสสอบไม่ได้ ด้วยในขณะนั้นผู้ที่จะเข้าสอบเปรียญ นอกจากจะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถแล้ว คณะกรรมการจะต้องพิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีรูปร่างสวยงามและมีนิสัยใจคอดีด้วย ถึงคราวคณะกรรมการประชุมสอบ พระภิกษุสอนชอบไปช่วยเหลือด้วยการต้มน้ำร้อนชงน้ำชาถวายคณะกรรมการประจำ วันหนึ่งขณะที่พระกรรมการกำลังประชุมสอบพระภิกษุรูปหนึ่งอยู่นั้น พระกรรมการรูปหนึ่ง ได้ออกจากที่ประชุมไปทำธุรกิจส่วนตัวในห้องน้ำ ได้ยินเสียงพระภิกษุสอนพูดกับพระภิกษุเพื่อนอื่นๆ ใน วงน้ำชาว่า ประโยคนี้แปลไม่ได้อีกก็แย่แล้ว พระกรรมการรูปนั้นได้ยินก็สนใจถึงถามว่า คุณแปลได้หรือ พระภิกษุสอนตอบว่าถึงจะแปลได้ก็ไม่มีคนรับรองให้แปล พระกรรมการรูปนั้นจึงรับว่าจะเป็นผู้รับรองส่งสอบ จึงเป็นอันว่าพระภิกษุสอนได้มีโอกาสเข้าสอบในเวลาต่อมา และสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ดังกล่าวแล้ว เรื่องรูปร่างสวยไม่สวยจึงค่อยคลายโดยลำดับมา

  • 10315 reads
  • Printer-friendly version( เครดิตข้อมูลจาก บาลีคิด )
  • การท่องเที่ยวสายธรรมจึงต้องมีการท่องตามรอยพระอุดมปิฎก และวัดสุนทราวาส พัทลุง อีกเส้นทางหนึ่งด้วย


หมายเลขบันทึก: 616429เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2016 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2016 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ได้ประวัติบุคคลในท้องถิ่นที่น่าสนใจ

บังมีกิจกรรมอะไรอีกครับ

ชอบประวัติบุคคลในท้องถิ่นครับ

ธีรกานต์ โพธิ์แก้ว

อ่านแล้วรู้สึกเจริญใจ และเจริญปัญญา จริงๆ เลยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณตา

กิจกรรมเยอะแยะไปหมดเลย

สนุกกับการทำงนนะคะ

เรียนอาจารย์ขจิต

หากมีโอาส ไปวัดสุนทรา คงได้สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม

เรียนอาจารย์ต้น

เมื่อได้สืบค้น ประวัติชุมชน พบสิ่งดีๆที่คน ในอดีตทำไว้

บางเรื่องเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ถูกบันทึก

แต่เล่าขานกันต่อมา เช่นกรณี สงครามเก้าทรัพย์

ประวัติของมหาช่วย ทุกข์ราช ที่ชาวพัทลุงเล่าขานสืบกันมา ก็น่าสนใจ

หวัดดีจ้ะลุงวอ

มาเป็นกำลังใจให้คนทำงานจ้ะ

ขอบคุณ คุณ ธีรกานต์ ที่มาติดตามเรื่องราวชุมชน

สวัสดีคุณ ยาย

ผู้สูงวัย ใช้ภูมิปัญญาที่มีถ่ายทอดสู่รุ่นหลัง

สมองได้พัฒนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท