ทำไมพุทธศาสนิกชนจึงควรศึกษา "พระอภิธรรม" และ พระไตรปิฎก


การปฏิบัติธรรม โดยไม่ศึกษาพระอภิธรรม หรือ ปรมัตถธรรม ดุจดั่ง การเรียนคณิตศาสตร์โดยไม่เริ่มจากการเรียนหัดนับเลข 1-10 เสียก่อน

การปฏิบัติธรรม โดยไม่ศึกษาพระอภิธรรม หรือ ปรมัตถธรรม

---------------------------
ดุจดั่ง การเรียนคณิตศาสตร์โดยไม่เริ่มจากการเรียนหัดนับเลข 1-10 เสียก่อน
**********************************
ณ วันนี้ ผมรู้สึกว่า การทุ่มเทศึกษาเพื่อความเข้าใจในพระอภิธรรม ที่ผ่านมาหลายปีก่อนๆ (หลังจากที่พบทางตันในความก้าวหน้าของการศึกษาธรรมะ ของตัวเอง) ได้ช่วยให้ผมเข้าใจธรรมะมากขึ้นมากๆๆๆๆ

เนื้อหาพื้นฐานด้านพระอภิธรรม (โดยเฉพาะ จิต เจตสิก นาม รูป ปัญจทวารวิถี ฯลฯ) ได้ช่วยให้ผมเข้าใจ "ธรรมะ" มากขึ้นอย่างรวดเร็ว (เมื่อเทียบกับสมัยก่อนๆ ที่เน้นไปทำความเข้าใจหลักปฏิบัติ เพียงอย่างเดียว โดยมองข้ามหลักปริยัติไปเกือบสิ้นเชิง) เพราะ ทำให้เข้าใจการดำรงอยู่ของชีวิต และสรรพสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะจิต ที่เกิดขึ้น ทีละ 1 ขณะ เท่านั้น เปรียบดั่งการหัดนับเลข 1-10 นั่นเอง

แม้ในขณะที่กำลังศึกษาพระอภิธรรมนั้น จะยังรู้สึก งงงง ว่าจะนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร ก็ตาม

แต่ในระยะต่อๆๆๆๆมา เมื่อได้ขยายระนาบการศึกษาเข้าไปหา "พระสูตร" และ "พระวินัย" ตามลำดับ โดยเน้นไปในเชิงลึกๆ ของภาคปฏิบัติ เพื่อการปฏิบัติที่ได้ผลดีกว่า ประกอบไปด้วยพร้อมๆกัน (โดยเน้นทำความเข้าใจ ไม่เน้นการท่องจำ) ก็ช่วยทำให้เกิดความเข้าใจหลักปฏิบัติธรรมแบบองค์รวม ตามหลักการพัฒนาตนเอง ที่บรรยายไว้้ในพระไตรปิฎกได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

ณ วันนี้ ผมจึงตระหนักว่า พุทธศาสนาทำไมต้องมีพระไตรปิฎก (ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Tripitaka) และพุทธศาสนิกชน ก็ควรต้องศึกษา "พระไตรปิฎก และคำว่า พระไตรปิฎก นั้น น่าจะสื่อถึงการพิทักษ์ ปกป้องชีวิตให้ห่างไกลจากกิเลส การเป็นคนดี แบบเข้าใจโลก เข้าใจธรรมะ และเข้าใจแก่นแท้ของคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

การศึกษาพระไตรปิฎกแบบเข้าใจ มากกว่าการท่องจำนั้น ได้ทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น และรู้สึกดีใจมากๆๆ ที่ได้ตั้งใจศึกษาพระอภิธรรมมาก่อน แม้การศึกษาจะอยู่เพียงในชั้น ปริยัติ ก็ตาม ที่น่าจะต้องพยายามทำความเข้าใจปริยัติ อย่างชัดเจน ก่อนการปฏิบัติ เช่นเดียวกับต้องเข้าใจทฤษฎีในแต่ละเรื่องอย่างเพียงพอ ก่อนการปฏิบัติงานในเรื่องนั้นๆ นั่นเอง
------------------------------------------
สำหรับท่านที่ถนัด หรือเน้นการปฏิบัติ โดยการก้าวข้ามปริยัติ ก็อาจจะทำได้ แต่ในที่สุดก็คงต้องวนกลับมาหาหลักปริยัติอยู่ดี เพื่อความก้าวหน้าที่ไม่หลงทาง

เฉกเช่นเดียวช่างซ่อมรถ ก็ต้องเข้าใจการทำงานของรถ จึงจะซ่อมได้ดี จะมาหวังซ่อมรถแบบลองผิดลองถูก เปลี่ยนอะไหล่รถไปเรื่อยๆ จนพบจุดเสีย ทำให้รถใช้งานได้อีกครั้งหนึ่งนั้น คงจะเป็นการเสียเวลา และทรัพยากรต่างๆอย่างมากมายทีเดียว ฉันใดก็ฉันนั้น
-----------------------------------------------
เมื่อมองย้อนกลับไปมา แล้ว จึงเกิดอุปมาดังกล่างข้างต้นว่า "การปฏิบัติธรรม โดยไม่ศึกษาพระอภิธรรม หรือ ปรมัตถธรรม ก็ดุจดั่ง การเรียนคณิตศาสตร์โดยไม่เริ่มจากการหัดนับเลข 1-10 เสียก่อน นั่นเอง เก่งแค่ไหน ก็น่าจะก้าวหน้ายาก และวันหนึ่งอาจจะต้องหันกลับมาหัดนับเลข 1-10 อยู่ดี

แต่ถ้า....ใครคิดว่าทำได้ โดยไม่ต้องหวนกลับมาหัดนับเลขอีก ก็ทำไปเลยครับ ไม่มีปัญหากับใคร หรือคนอื่นใดหรอก

แต่ผมทำไม่ได้ครับ
------------------------------------
ผมเรียนมาอย่างนี้ ปฏิบัติอย่างนี้ และเข้าใจอย่างนี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 611939เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2016 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 สิงหาคม 2016 10:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Most people look at dhamma study in reverse (flipped dhamma? ;-)

We learn 'vinaya' (the rules) first and we learn to obey. Then we learn 'sutta' (the stories) so we can understand the rules in the 'story language' (like children learning from story books). A few people in their advanced age get to learn 'abhidhamma' (the real thing) because our dhamma masters usually think we are like lotus blooms (going through stages from buddibg to surfacing over the water) ready for 'the light' (enlightenment) only when we are about to wither and die.


Yes siree. I do agree that 'bhaavava' (mediataion/สมาธิ) as ussually taught now is not really helping us to learn about our citta and cetasikas. Because we are taught to focus on an 'external thing' instead of our citta and cetasikas arising and ceasing from moment to moment in our life.

So, learning to recognize cetasikas early in life can be a great path to being true Buddhist.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท