From Glasshouse To Bazaar


From Glasshouse To Bazaar

In this book, we will be talking about the Royal Society Thai Dictionary (2554 edition), some issues and suggestions for a revision. Please join me in exploration and in contribution to Thai language. Afterall, Thai is our language - our heritage and pride.

[But why do I write this English? There are 2 main reasons. One is about taking Thai language into international arena - we can't talk Thai to the world and hope they will understaand. Another is about internationalization of Thais so we Thais can promote Thai language beyond our own language limit. You can help with your ideas and comments. This is an open public forum! Welcome.]

Let us begin with some background information about the Royal Society (of Thailand). From http://www.royin.go.th/?page_id=822

สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเป็นส่วนราชการระดับกรม
ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
ประวัติความเป็นมา

เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศให้จัดตั้ง “ราชบัณฑิตยสภา” ขึ้น ทรงเห็นสมควรฟื้นฟูกิจการของ กรมราชบัณฑิตย์ ซึ่งมีมาแต่โบราณและเป็นตำแหน่งสำหรับทรงตั้งผู้มีความรู้ศาสตราคมไว้รับราชการ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ สภาผู้แทนราษฎร ได้ถวายคำปรึกษาแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมควรจัดตั้งราชบัณฑิตยสถานให้มีสมาชิกผู้ประกอบด้วยคุณวิชา สมควรจะได้เลือกตั้งเป็นราชบัณฑิตในภายหน้าเพื่อกระทำการค้นคว้าหาความรู้นำมาเผยแพร่แก่ประชาชนและสร้างตำรับตำราให้แพร่หลายต่อไปจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติว่าด้วยราชบัณฑิตยสถาน ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ และให้ยกเลิกประกาศตั้งราชบัณฑิตยสภา ฉบับลงวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙

เริ่มแรกที่ตั้งราชบัณฑิตยสถานนั้น ยังไม่มีราชบัณฑิต มีแต่ภาคีสมาชิก ซึ่งจัดการประชุมครั้งแรกขึ้น ณ ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๗ ภายหลังมีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๔๘๕ และมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งราชบัณฑิตเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๕ จำนวน ๕๑ คน

งานสำคัญในช่วงแรกเกิดจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ การประกวดแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็กประจำปี ที่ราชบัณฑิตยสถานดำเนินการสืบเนื่องมาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๗๗ จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีงานหลักอีก ๕ งาน ได้แก่ งานชำระพจนานุกรม ซึ่งเดิมคืองานชำระปทานุกรมที่รับโอนจากกระทรวงธรรมการมาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๗๗ งานสารานุกรม งานบัญญัติศัพท์ภาษาไทย งานอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ และงานจัดทำหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน...

ในปี ๒๕๕๖ ราชบัณฑิตยสภาโดยสภาราชบัณฑิตเห็นเป็นการสมควรเปลี่ยนชื่อ “ราชบัณฑิตยสถาน” เป็น “ราชบัณฑิตยสภา” อันเป็นชื่อเดิมที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาส ๑๒๐ ปี พระบรมราชสมภพ...

ในปี ๒๕๕๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่าเป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยราชบัณฑิตยสถาน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๐ ก ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ชื่อหน่วยงาน “ราชบัณฑิตยสถาน” จึงเปลี่ยนเป็น “สำนักงานราชบัณฑิตยสภา” และ “สภาราชบัณฑิต” จึงเปลี่ยนเป็น “ราชบัณฑิตยสภา”...

"นับตั้งแต่วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ หน่วยงาน “ราชบัณฑิตยสถาน” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานราชบัณฑิตยสภา” และ “สภาราชบัณฑิต” เปลี่ยนชื่อเป็น “ราชบัณฑิตยสภา” แต่การดำเนินงานทางด้านวิชาการและการนำผลงานให้บริการเผยแพร่สู่ประชาชนยังดำเนินต่อไป พร้อมการพัฒนาให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการผลิตหนังสือวิชาการในศาสตร์สาขาต่าง ๆ การผลิตรายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ การจัดทำซีดี ดีวีดี เผยแพร่ความรู้ การจัดสื่อการเรียนรู้รูปแบบ e-learning ฯลฯ แล้ว ในปี ๒๕๕๘ สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้มีการนำหนังสือเล่มที่ประชาชนมีความต้องการนำไปใช้เป็นอย่างมากมาพัฒนาความสามารถในการนำไปใช้โดยได้จ้างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค (NECTEC) ให้จัดทำโปรแกรมประยุกต์หรือแอปพลิเคชัน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ และอ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งสามารถใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ตโฟน ทั้งสำนักงานราชบัณฑิตยสภาและเนคเทคได้มีข้อตกลงความร่วมมือที่จะนำผลผลิตทางวิชาการอื่น ๆ มาจัดทำแอปพลิเคชันต่อไปด้วย นอกจากนี้ สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้เพิ่มประสิทธิภาพและส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทยแก่ผู้พิการ เช่น การจัดทำหนังสือพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน และอ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นฉบับอักษรเบรลล์ เพื่อผู้พิการทางการเห็น ทั้งมีการจัดฝึกอบรมการอ่านออกเสียงภาษาไทยที่ถูกต้องแก่เพื่อนคนตาบอดและครูผู้สอนคนตาบอดเพื่อส่งเสริมให้ผู้พิการทางสายตาและคนตาบอดได้เรียนรู้การอ่านออกเสียงภาษาไทยอย่างถูกต้องได้อย่างเท่าเทียมกับผู้อื่น"

นอกจากนี้ สำนักงานราชบัณฑิตยสภายังมีโครงการจัดทำฐานข้อมูลคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน การส่งเสริมการอนุรักษ์ภาษาถิ่นและภูมิปัญญาถิ่นในทุกภาคของประเทศ โดยได้จัดทำองค์ความรู้เกี่ยวกับภาษาถิ่น ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ และนำเผยแพร่ทั้งจัดพิมพ์เป็นหนังสือ ผลิตรายการวิทยุ การจัดกิจกรรมประกวดนักเรียนให้เล่าเรื่องความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนโดยใช้ภาษาถิ่น

หน้าที่ภารกิจและบทบาทสำคัญของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา อันได้แก่ การสร้างองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาต่าง ๆ การกำหนดมาตรฐานการใช้ภาษาไทย และการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางวิชาการแก่ประชาชน ได้ดำเนินการและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา ๙๐ ปี แห่งการสถาปนาราชบัณฑิตยสภา นับตั้งแต่วันที่ ๑๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๙ จนถึงปัจจุบัน

(Full text: http://www.royin.go.th/?page_id=822) [bold-face added]

Now that RSTD is out of 'glasshouse' (where copies had been kept for reference) and has been mingling with people in streets for a year. RSTD is now a public tool for Thai langauage. A tool that we should be using to improve our language skill and a tool that we should maintain and improve its capability fir us now and our children. RSTD does not belong to only the Royal Society, it belongs to all Thais.


In the next blog we will be looking at some issues of RSTD2554. For now please install copy of Royal Society dictionary app for mobile for yourphone OS (if you haven't done so and see for yourselves what a useful RSTD is). The app is free!

<p “=””>[I have been blogging on Thai Language and Royal Society dictionary for some time now. I will be moving those previous blogs into this book for easy reference. I hope this book will be a good read and topic to talk about – just for fun. OK you can be serious ;-) if you wish.]
</p>

หมายเลขบันทึก: 611393เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2016 05:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2016 04:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Hi ขจิต ฝอยทอง : You should thank the Royal Society - not me ;-)

I am merely a messenger, maybe at best an advocate. But we all are 'owners' and 'advocates' for Thai language and its use. (I am of course a very poor user but learning. ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท