ฉันและการเติบโตทางความคิดที่เป็นระบบ Transformative Learning to Systems Thinking


จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอ.ป๊อบและ อ.เดียร์ในหลายๆครั้ง จากการตั้งโจทย์จากผู้รับบริการ หรือแม้กระทั่งการเรียนการสอนกับนักศึกษาเองก็ตาม ทำให้ดิฉันได้เติบโตในทางด้านความรู้ ความคิด และการเรียนรู้ของตนเองเพิ่มมากขึ้น

แต่การจัดระบบความคิดของตนเองยังคงมีความท้าทายอยู่มากค่ะ เพราะเป็นมนุษย์ไม่ออกาไนซ์และมักจะทำไปตามสิ่งที่อยากจะทำก่อนเสมอ จึงเป็นอุปสรรคกับการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบในเวลาอันจำกัด ทั้งๆที่เวลามีอยู่มากแต่อาจจะให้ความหมกมุ่นกับการอ่านแบบมีสมาธิจริงๆจังๆไม่มากนัก

เกริ่นไปนานค่ะ ขอเข้าเรื่องการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะสิ่งที่ได้เพิ่มเติมจากตัวเองจากการลงมือทำ เริ่มจากกรณีศึกษาน้อง A ตามบันทึกก่อนหน้านี้ https://www.gotoknow.org/posts/606337 ที่ดิฉันได้ไปเรียนรู้กับน้องเอ พาไปนอกสถานที่เพื่อฝึกกิจกรรมบำบัดจริง เพื่อให้ถึงการรับรู้ในคุณค่าของตัวเขาเอง หลังจากนั้นทางทีม จึงได้ปรับกรณีศึกษานี้มาเพื่อปรับเป็นข้อสอบ โดยได้ทำการเตรียมสคริป ซ้อมการแสดง ถ่ายทำจริง feedback มากกว่า 15 รอบ สรุปสุดท้ายผู้กำกับ(อ.ป๊อบ) ได้เสนอให้ทำเป็น Short-cut VDO แสดง-หยุด-ตอบคำถาม-แสดง หลังจากนั้นก็ทำต้นฉบับข้อสอบแลป และออกแบบข้อสอบ MEQ ในรูปแบบ SOAP Noteเพิ่มอีกฉบับจากกรณีศึกษานี้ ใช้เวลาถึง 7 ชั่วโมง

ดังตัวอย่าง SOAP Note

S: ผู้รับบริการท่าทางไม่มั่นใจ ตื่นเต้น พูดคุยถามคำตอบคำ ไม่สบตา ตื่นเต้นเวลาเจอคนใหม่ๆ กลัวที่จะได้ไปนอกสถานที่ใหม่ๆ (ร้านขายเครื่องเขียน) พบเจอคนใหม่ๆ (คนขายเครื่องเขียน)

O: ผู้รับบริการก้มหน้าโยกตัวขณะคิดหาคำตอบ นั่งงอตัว ถามคะแนนความมั่นใจในการร้องเพลงประกอบการเล่นกีตาร์ (10/10) คะแนนความสามารถในการร้องเพลงประกอบการเล่นกีตาร์ (9/10) หลังจากร้องเพลงและเล่นกีตาร์แล้ว กรณีศึกษาให้คะแนนความมั่นใจในการทำกิจกรรมนี้ (7/10) และให้คะแนนความสามารถในการทำกิจกรรมนี้ (8/10) ซ้อมร้องเพลงและเล่นกีตาร์ 2-4 รอบ

A: กรณีศึกษา ตื่นเต้น กลัว ปรับตัวยากกับคนขายเครื่องเขียนขณะซื้อสินค้าในร้านเครื่องเขียน ความมั่นใจและความสามารถลดลงเพราะก่อนทำกิจกรรมการร้องเพลงประกอบการเล่นกีตาร์มีความรู้สึก Overconfidence หลังจากทำกิจกรรมการร้องเพลงเสร็จแล้วมีการรับรู้ตนเองในความเป็นจริง (Reality perception – Matter of fact) มากขึ้น

P: ลดความตื่นเต้น โดยปรับภาวะร่างกาย เช่น การฝึกหายใจ การออกเสียง อา เอ อี โอ อู (ดังกังวาน)

ลดความกลัว โดยฝึกถามหาของที่อยากซื้อกับคนขายเครื่องเขียน (Graded exposure)

เพิ่มความมั่นใจ โดยการให้กรณีศึกษาซ้อมร้องเพลงและเล่นกีตาร์ 2-4 รอบ แล้วพบว่าพร้อมแสดง

การเรียนรู้ใหม่อีกเรื่องคือ หนึ่งกรณีศึกษาที่ ขาดความมั่นใจในตนเอง วัยรุ่น ที่ได้ขอปรึกษาในทีมถึงการรักษา และได้สรุปออกมาเป็นโปรแกรมที่เหมาะสม โดยการเขียนมาจากความเชื่อด้วยเทคนิค Systems Thinking ประกอบด้วย

- Mind-mapping ด้วยการอัดเสียงขณะเล่าเคสของตนเอง และจัดกลุ่มคีย์เวิร์ดจากสิ่งที่ได้ฟัง

- Mental-modeling นำมาเขียนเชื่อมโยงความสัมพันธ์

- Metacognitive measuring เขียน โปรแกรมการรักษาของกรณีศึกษานี้

ประเมิน ความมั่นใจของตนเองในการเขียน ให้ 7/10 และ ประเมินความสามารถ 7.5/10 หลังจากนี้เชื่อมั่นว่าจะทำได้ เพราะมีแนวทางการจัดการความคิดของตัวเองแล้ว ขอบคุณ อ.เดียร์ ที่ตั้งใจสอนคะถึงแม้ลูกศิษย์จะตอบ วกไปวนมา 555 ไม่ได้ตั้งใจค่ะ และ ดร.ป๊อบสำหรับการโค้ช

สรุปโปรแกรมของกรณีศึกษาที่สองนี้ (เฉลยจากอ.ป๊อบ) เหมือนเล่นเกมส์แล้วได้สมบัติเลยค่ะ

โปรแกรม

Program evaluation: สงสัยน้องอาจมี poor self-confident ซึ่งจะส่งผลกระทบกับความสามารถในการทำกิจกรรมที่น้อยลง (poor self-efficacy) ในบริบทการฝึกงาน ทำให้น้องมีภาวะเครียด (emotional distress) (ตื่นเต้นและกลัว)

Program re-evaluation:

1. การประเมินตนเอง (self-assessment)

1.1 การประเมินความต้องการของน้อง (needs assessment for self-development) เช่น น้องอยากพัฒนาตนเองขณะฝึกงานอะไรบ้าง น้องมีความต้องการจะพัฒนาตนเองเรื่องอะไรบ้าง

1.2 ประเมินความสามารถในการฝึกงาน (self-efficacy) เช่น ทักษะการประเมินทางกิจกรรมบำบัด ทักษะการสื่อสาร

2. ประเมินการตระหนักรู้ในตนเอง (self-awareness)

2.1 Bio-feedback trainings for emotional perception “Fear” ฝึกรับรู้ปฏิกิริยาของร่างกายขณะกลัว เช่น การสบตาที่ลดลง การพูดตะกุกตะกัก โทนเสียงที่เบา การหายใจตื้นบริเวณอก ท่าทางของร่างกายก้มกว่าปกติ

2.2 Systems Thinking for emotional copings ฝึกการจัดระบบความคิดเพื่อจัดการอารมณ์ด้วยการเขียน เช่น เขียนบทบาท PT บทบาทนักศึกษากายภาพบำบัดในการฝึกปฏิบัติงาน ด้วยวิธีเขียน

- Mind-mapping

- Mental-modeling

- Metacognitive measuring

หมายเหตุ ทำการประเมินซ้ำในบริบทการฝึกงานจริงและประเมินแบบ 1-1 ระหว่างนักกิจกรรมบำบัดและผู้รับบริการ

เรื่องที่สำคัญอีกหนึ่งเรื่องคือ STUDY PLAN ก่อนที่ได้เกริ่นไปก่อนหน้านี้นะคะ ว่าจะทำอย่างไรจึงจะได้บรรลุเป้าหมายในการเข้าเรียนต่อภายใน 12 เดือนต่อจากนี้

ขั้นตอน

1. เขียน TO DO LIST

2. เขียน Done (ใช้เวลาในการทำเท่าไหร่)

3. เขียน Plan ที่ประกอบด้วย TO DO LIST และ Done

4. พิมพ์ตารางชีวิตที่จะใช้ในการเรียน STUDY PLAN

5. ค้นหาความเชื่อของตนเองและลงมือทำ Mission

“เวลาเหลือน้อยแล้ว จะใช้ทุกวินาทีให้มีค่า จะไม่ถอย จะจดจ่อ จะไม่จมอยู่กับอดีต จะไม่ปล่อยให้สิ่งที่เรารัก และความฝันหลุดมือไป เพราะจะจับต้องไม่ได้อีกแล้ว ได้แต่คิดถึง รักและขอบคุณคุณแม่คุณพ่อ น้อง ป้า ครอบครัว และตัวเรา”

ทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ คือการเขียน Systems thinking นั่นเอง

ได้ผลลัพธ์ดังนี้ค่ะ

ขอขอบคุณกรณีศึกษา ผศ.ดรศุภลักษณ์ และ อ.วินัย สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจะเรียนรู้ตลอดชีวิต

หมายเลขบันทึก: 606952เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2016 14:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2016 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท