​นิทาน นิยาย และความจริงของธรรมชาติของการพัฒนาการของมวลสารในพระเครื่องเนื้อต่างๆ


นิทาน นิยาย และความจริงของธรรมชาติของการพัฒนาการของมวลสารในพระเครื่องเนื้อต่างๆ

************************************
ในวงการพระเครื่อง มีนิทานที่ชอบนำมาสร้างเป็นนิยาย และกลายเป็นหลักการที่ใช้ในการพิจารณาเนื้อพระเก่าได้อายุอยู่เรื่องหนึ่ง คือ.....

"เนื้อเก่ามากจนกลายเป็นหิน"

ที่ฟังแล้วดูเหมือนจะเป็นความจริง แต่ก็แค่นิทาน และ นิยายเท่านั้น

การที่สิ่งใดจะกลายเป็นหินนั้นต้องใช้เวลาและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมมากๆ จึงจะทำให้เนื้อมวลสารเดิม เปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่เปราะบาง กลายเป็นเนื้อที่แข็งแกร่งแบบหินโดยธรรมชาตินั้น มี 3 แบบหลักๆ ดังนี้

1. การพอกของสนิมเหล็ก แร่เหล็ก แบบ "ลูกรัง" (Laterization) ใช้เวลาระดับหลายสิบปี หรือหลายร้อยปี โดยอนุมูลเหล็กที่อยู่ในน้ำมาตกตะกอนอยู่ในเนื้อ และหรือที่ผิวของวัสดุนั้นๆ จึงจะมีลักษณะของก้อนสนิมเหล็กพอกอย่างชัดเจน ถ้าไม่มีก็ไม่ใช่ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คือ พระจากกรุพระธาตุนาดูน มหาสารคาม ที่เป็นพื้นที่เกิดลูกรังได้ง่าย ที่จะมีความแข็งเท่ากับหินลูกรังแบบต่างๆ

2. การพอก หรือการงอกของปูน (Calcification) ใช้เวลาตั้งแต่หลายเดือน หลายปี จนถึงเป็นร้อยปี ที่จะมีความหนาเพิ่มขึ้นๆๆๆ ไปเรื่อยๆ เช่นกรณีของพระเนื้อผงปูนเปลือกหอยทุกชนิด ที่จะมีความแข็งเท่าๆกับหินปูน สูงสุดเท่ากับหินอ่อน

3. การแทรกซึมของสารพวกซิลิก้า เข้าไปในโครงสร้างเดิมที่เปราะบาง แบบเดียวกับไม้ กระดูกสัตว์กลายเป็นหิน (Petrification) ที่ต้องใช้เวลาเป็นแสน เป็นล้านปี ที่มีความแข็งเท่ากับแก้ว หรือกระจก หรือเม็ดทราย ที่ไม่เกี่ยวกับความแข็งของพระเครื่อง หรือการกลาย "เป็นหิน" แต่อย่างใด

นอกจากนี้ก็เป็นการทับถมกันเป็นเวลายาวนานหลายล้านปี ภายใต้แรงกดดัน หรืออุณหภูมิสูง ที่ทำให้มีการหลอมละลาย หรือเชื่อมตัวเข้าด้วยกัน จนมีลักษณะคล้ายหิน ที่เราเรียกว่า "หินแปร"

4. ลักษณะของ "หินแปร" นี้ คนเราได้นำมาเป็นหลักการในการแปลงดิน ให้ทนและแข็งกว่าเดิม โดยการนำดินเหนียวมาเผาให้เป็น "อิฐ" เพื่อให้แร่เหล็กในดินเหนียวแตกสลายมาเกาะกันเป็นอิฐ มีสีแบบสนิมเหล็กแดงๆ ใช้ในการก่อสร้างมากกว่า

นอกจากนี้ถ้าต้องการสิ่งที่แข็งแรงกว่านั้นก็นำหินมาบด ใช้สารเชื่อมปั้นเป็นรูปร่างที่ต้องการแล้วเผากลับให้เชื่อมกันเป็นหินอีกครั้งหนึ่ง ในกลุ่มวัสดุที่เรียกว่า Stoneware ที่จะมีความแข็งใกล้กับหิน และแข็งกว่ากระจก สามารถกรีดกระจกได้ ที่พบในกรณีการสร้าง พระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน เป็นต้น

ดังนั้น พระเครื่องที่มีความแข็ง ดั่งหินนั้น มีอยู่เพียง 4 กลุ่ม คือ
ก. แข็งแบบหินปูน (เฉพาะที่ผิว) ในกรณีพระเนื้อผง
ข. แข็งแบบลูกรัง ในกรณีพระแช่น้ำ หรือความชื้นที่มีแร่เหล็กมากๆ นานๆ
ค. แข็งแบบอิฐ จากการเผาดินเหนียวให้สลายตัว จนแร่เหล็กสลายตัวมาเกาะกันใหม่ และ
ง. แข็งแบบหิน ที่บดเป็นผงผสมสารเชื่อม แล้วนำมาเผาให้เนื้อเชื่อมกันใหม่

นอกนั้น ไม่มีเนื้อ "กลายเป็นหิน" อย่างมากก็นิทาน และนิยายครับ

หมายเลขบันทึก: 604382เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2016 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2016 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท