บทเรียนสำเร็จรูป


บทเรียนสำเร็จรูป
องค์ประกอบของบทเรียนสำเร็จรูป
1. คำชี้แจงสำหรับครู
2.คำชี้แจงสำหรับนักเรียน
3. วัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เกิดหลังจากใช้บทเรียนสำเร็จรูป
4. เนื้อหาที่เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก
5. กรอบคำถาม
6. แบบฝึก/คำถาม เพื่อทบทวนความเข้าใจเนื้อหาที่ได้ศึกษา พร้อมเฉลย
7. แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน
8. เฉลยแบบทดสอบ

การผลิตและพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป

ขั้นตอนการผลิตและพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปมี 4 ขั้นตอน
1. ขั้นวางแผน (Planning)
2. ขั้นการผลิต (Production)
3. ขั้นการทดลองต้นฉบับ (Prototype testing)
4. ขั้นทดลองใช้จริง
ขั้นวางแผน (Planning)
- ศึกษาหลักสูตร เพื่อให้ทราบถึงเนื้อหาสาระที่จะนำมาจัดทำเป็นบทเรียนสำเร็จรูป
- กำหนดเนื้อหาสาระที่จะนำมาจัดทำบทเรียน
- กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น
- จุดประสงค์นำทาง จุดประสงค์ปลายทาง
- ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังว่า เมื่อผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้จบแล้ว ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง
- วิเคราะห์ความยาก-ง่ายของเนื้อหา
- เตรียมสร้างแบบทดสอบทั้งก่อนและหลังเรียนในแต่ละกรอบสาระการเรียนรู้ให้ครอบคลุม
- ความรู้ (Knowledge)
- ทักษะ/กระบวนการ (Skills Practice/Process)
- เจตคติ (Attitude)
ขั้นการผลิต ( Production)
1) เขียนบทเรียนสำเร็จรูปประกอบด้วย
- จุดประสงค์ของบทเรียนสำเร็จรูป
- ข้อทดสอบก่อนและหลังเรียน
- กิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกรอบสาระการเรียนรู้หลักและกรอบสาระการเรียนรู้สาขา
- นำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามที่วางแผนไว้
- การวัดผลประเมินผล
2) สร้างแผนการเรียนรู้
- ศึกษาวิธีการสร้างแผนการเรียนรู้
- ศึกษาบทเรียนสำเร็จรูป
- เขียนแผนการเรียนรู้ตามเนื้อหา โดยพิจารณาความสอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหาและเวลาที่ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้
- นำแผนการเรียนรู้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพ
- ปรับปรุงแก้ไข ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
ขั้นการทดลองต้นฉบับ ( Prototype testing)
นำบทเรียนสำเร็จรูปต้นฉบับไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นหนึ่งต่อหนึ่ง นำบทเรียนสำเร็จรูปไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่ยังไม่เคยศึกษาเรื่องนั้นมาก่อน เพื่อดูความถูกต้องของเนื้อหา ขั้นตอนต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ จากนั้นจึงนำผลและข้อบทพร่องที่พบ มาปรับปรุงแก้ไข เพื่อใช้ในการทดลองขั้นกลุ่มเล็กต่อไป
ขั้นกลุ่มเล็ก นำบทเรียนสำเร็จรูปที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขในขั้นหนึ่งต่อหนึ่งไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่กำลังเรียนเนื้อหาวิชานั้น เพื่อตรวจสอบความบกพร่องของบทเรียน และเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ เมื่อทดลองแล้วพบว่าประสิทธิภาพยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ จะต้องปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาของบทเรียนสำเร็จรูป และปรับปรุงกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งแบบทดสอบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
ขั้นกลุ่มใหญ่ นำบทเรียนสำเร็จรูปไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่กำลังเรียนเนื้อหาวิชานั้น และเป็นกลุ่มทดลองที่มีลักษณะและคุณสมบัติใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจริง ๆ ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ เมื่อทดลองแล้วพบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ก็ดำเนินการจัดทำต้นฉบับเพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างต่อไป
ขั้นทดลองใช้จริง การทดลองใช้จริง เพื่อหาประสิทธิภาพบทเรียนสำเร็จรูป มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป
1.1 ให้ผู้เรียน ศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนในการเรียนอย่างละเอียด โดยอ่านจากคำชี้แจง/คำแนะนำในการศึกษาด้วยบทเรียนสำเร็จรูป
1.2 ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) ครูตรวจแบบทดสอบก่อนเรียนและให้คะแนน
1.3 ผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียนที่ระบุไว้ในบทเรียนสำเร็จรูปครบถ้วนแล้ว ให้ทำแบบฝึกหัดและตรวจตำตอบจากคำเฉลยที่ให้ไว้ ทำเช่นนี้ทุกหน่วยการเรียนรู้จนครบ
1.4 ครูตรวจสอบการตอบคำถามในแต่ละกรอบและการทำแบบฝึกหัดของผู้เรียนทุกหน่วยการเรียนรู้
1.5 หลังจากผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ ในบทเรียนสำเร็จรูปจบแล้วให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test)
2. เครื่องมือที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป
2.1 แบบฝึกหัด
2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้
เครื่องมือที่ใช้วัดผลการเรียนรู้ เช่น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จะต้องให้ได้ข้อมูลตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการทราบ ครอบคลุมเนื้อหา สอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและไม่ง่ายหรือยากจนเกินไป อาจจะตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญหรือโดยการวิเคราะห์ ดังนี้
3.1 หาความตรงเนื้อหา เป็นการหาว่าแบบวัดจะวัดได้ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการวัดหรือไม่โดยอาศัยการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ คน ซึ่งเหมาะกับเครื่องมือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบทดสอบ
3.2 หาความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา
กำหนดคะแนนของผู้เชี่ยวชาญอาจจะเป็น +1 หรือ 0 หรือ -1 ดังนี้
+1 = แน่ใจว่าข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้จริง
0 = ไม่แน่ใจว่าข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้จริง
-1 = แน่ใจว่าข้อสอบข้อนั้นไม่ได้วัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้จริง
ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป ในกรณีที่กำหนดการให้คะแนนของผู้เชี่ยวชาญเป็น 5 หรือ 4 หรือ 3 หรือ 2 หรือ 1 ดังนี้
5 = ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้มากที่สุด
4 = ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้มาก
3 = ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้บ้าง
2 = ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้น้อย
1 = ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้น้อยที่สุด
ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป

….. อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/433120

หมายเลขบันทึก: 598496เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2015 17:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ธันวาคม 2017 07:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท