ประชุมแพทย์สตรีที่กัลกัตตา



ถามตัวเองเสมอว่า สมาคมแพทย์สตรีมีบทบาทหลักอะไรนอกเหนือจากสมาคมแพทย์อื่นๆ คงไม่เน้นวิชาการในทางการแพทย์สาขาต่างๆ เพราะราชวิทยาลัยทำหน้าที่หลักนี้อยู่แล้ว

ไปงานประชุมแพทย์สตรีที่กัลกัตตาอินเดียรอบนี้ ( 4-7 ธ.ค.2558 ) เป็นการประชุมระดับภูมิภาค Central Asia ซึ่งขณะนี้มีประเทศสมาชิกแค่สองประเทศคือไทยและอินเดีย มีโอกาสสัมผัสสมาคมแพทย์สตรีอินเดีย ( Association of Medical Women in India : AMWI ) พบว่างานหลักจะเป็นงานจิตอาสา ดูแลผู้ป่วยยากจน แพทย์ส่วนใหญ่เป็นสูตินรีแพทย์ ที่สูงอายุหรือเกษียณอายุ แล้วมาทำงานจิตอาสานี้ นอกเหนืองานเหล่านี้ก็จะทำงานล้อไปกับ WHO เน้นเรื่องสิทธิสตรี เช่น Domestic Violence หรือ Surrogacy เป็นต้น

นอกจากนี้มีโอกาสถาม Prof.Kyung Ah Park ซึ่งเป็นประธาน Medical Women International Association (MWIA) ว่าทางเกาหลีงานหลักที่สำคัญของสมาคมแพทย์สตรีคืออะไร เธอบอกว่าทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำแพทย์สตรีรุ่นน้องที่ประสบปัญหาไม่สมดุลย์ด้านอาชีพการงานและครอบครัว ถือว่าเป็นงานหลักเลย ทำให้รู้สึกว่าที่นั่นอบอุ่นจังมีที่ปรึกษา นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งส่งเสริม ฝึกฝนภาวะผู้นำแพทย์สตรีอีกด้วย

แล้วเมืองไทยหล่ะ สมาคมแพทย์สตรีทำอะไรบ้าง ? ถ้าสังเกตให้ดีระยะ 2-3 ปีให้หลังนี้มีกิจกรรมต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน อาทิ การส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม เช่น อบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานแก่ครูอาจารย์และบุคคลทั่วไป การอบรมภาวะผู้นำแพทย์สตรี นอกเหนือจากงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเต้านม การให้ทุนนักศึกษาแพทย์สตรี หรือการประชุมวิชาการทางการแพทย์ทั้งใน กทม และต่างจังหวัด


หมายเลขบันทึก: 598213เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2015 08:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ธันวาคม 2015 08:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท