โดยคำว่า..แรกกอนไปแวะ มาแวะ พอเสือขบแพะ ไม่แวะไม่เวียน(ภาคต่อจากบองหลาเวียนแลน)


"เป็นเรื่องธรรมดา ที่เมื่อก่อนไปแวะ มาแวะ พอเสือขบแพะแล้วเขาก็ไม่แวะไม่เวียนมา"หมายถึงได้ในสิ่งที่ต้องการแล้ว ก็ไม่เห็นประโยชน์ในการไปมาหาสู่...ของวิศวะสังคม........

ก่อนหน้าที่ผู้เขียนจะเดินเข้าสู่ถนนสายที่ หกสิบ มีพรรคพวกเพื่อนฝูง ที่รู้จักมักคุ้นห่วงใยว่าจะไม่มีงานทำ

มาชวนไปทำธุระกิจขายตรง หลายคน ในสินค้าหลายยี่ห้อ บางราย มาเพียงครั้งเดียว พอถูกปฎิเสธก็หาย

ไปไม่เวียนแวะ บางคนมีความหวังอย่างแรงกล้ามาหลายหนหลายครั้ง แต่ผู้เขียนก็ปฎิเสธไปทุกครั้ง

มีอยู่รายหนึ่ง ที่ถูกปฎิเสธ ก็ยังคงแวะมาหาอย่างต่อ และเป็นคนเดียวที่ยังคงแวะเวียนมา

เขาเป็นทั้งทั้งผู้เกื้อกูลครั้งยังทำงานอยู่ เขาผันตัวเองจากข้าราชการเป็นนักขายชั้นยอด

เขาหวังดี มีของมาฝากประจำ และ แนะนำมีข้อเสนอที่น่าสนใจ อยากให้ผู้เขียนไปเป็นทีมร่วมงาน

เขาบอกว่างานที่เขาทำ เป็นงาน วิศวะสังคม ออกแบบเพื่อเป็นหลักประกันและความมั่นคงในอนาคต

สร้างความมั่นคงในชีวิตให้สังคม โดยการขายกระดาษแผ่นเดียว ชี้ช่องทางการทำเงินให้กับทีมร่วมงาน

ทั้งยังสรรเสริญคุณสมบัติของผู้เขียนที่มีคนรู้จักและเครือข่ายในสังคมอย่างมากมาย เขามองเห็น

โอกาสของผู้เขียน ในเส้นทางนักขาย แต่ผู้เขียนก็ยังยืนยันว่า ต้องการทำงานที่มีความสุข

งานอาสาคืองานที่ทำแล้วมีสุข แม้ไม่ได้เงิน ก็ยินดีไปร่วมงาน นั้นคืองานอาสา หากเขาต้องทำกิจกรรม

ในการงานอาสา บอกมาไกลไกล้ผู้เขียนยินดีไปร่วมงาน แต่ในการเป็นนักขายผู้เขียนไม่สันทัดและรู้สึก

ไม่มีความสุขกับงาน วิศวะสังคม ......

และท้ายที่สุดด้วยความจำใจยอมจำนนเมื่อไม่ร่วมเป็นทีมงาน เขาก็ต้องการให้ผู้เขียนมีหลักประกัน

ในอนาคต เกิดเป็นอะไรขึ้นมาจะเป็นภาระแก่ลูกหลาน

จากวันนั้นถึงวันนี้ ที่เขาหายหน้าไม่มาแวะเวียน แล้ววันนี้ในขณะที่ผู้เขียนกำลังนั่งท่องอินเตอร์เน็ต

คนข้างกายผู้เขียนก็ถามถึงเขาคนนั้น ว่า"ยังติดต่อกัน อยู่หรือไม่ ทำไมเขาจึงไม่แวะมาหา

ผู้เขียนตอบ คนข้างกายไปว่า"เป็นเรื่องธรรมดา ที่เมื่อก่อนไปแวะ มาแวะ พอเสือขบแพะแล้วเขาก็ไม่

แวะไม่เวียนมา"หมายถึงได้ในสิ่งที่ต้องการแล้ว ก็ไม่เห็นประโยชน์ในการไปมาหาสู่...ของวิศวะ

สังคม........

หมายเลขบันทึก: 597163เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2015 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2015 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ผมก็โดนขายตรงแต่ทึ่งมากคนที่มาชวนไปขายตรงดันเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย

เลยบอกปฏิเสธไปเพราะไม่ชอบ

แต่งานที่เพื่อนบังบอกว่า วิศวะกรทางสังคม คงไม่ใช่แล้ว 555

ตามมาเรียนรู้คำคมชอบมากๆเลยครับ

เอาผักนักเรียนมาฝากครับ

เรียนท่านอาจารย์ ขจิต

ผมก็ปฎิเสธการขายตรง มาหลายหนหลายครั้ง

รู้สึกอึดอัด ไม่มีสุขในงานขาย

ไม่เหมือนไปชวนเยาวชน ปลูกผัก ทำกิจกรรม เพียงนั่งมองเห็นงานก็สบายใจ

ความสุขตรงนี้..เรียกว่า.."เอาหูไปนา..เอาตาไป..ไร่"..ได้ไหมเจ้าคะ...ท่านวอญ่า ผู้เฒ่า..

มียี่โถแดง..มาฝาก..จ้ะ..

-สวัสดีครับท่านวอญ่า..

-ชอบ ๆ "ไปแวะ มาแวะ พอเสือขบแพะแล้วเขาก็ไม่

แวะไม่เวียนมา"

-เคยมีคนไปแวะ มาแวะ เหมือนกันครับ...พอเสือขบแพะเขาก็ไม่แวะไม่เวียนมา...เช่นกัน 555

-ด้วยความระลึกถึงท่าน..

-ว่าง ๆ มีโอกาสขึ้นเหนือขอเชิญมาแวะ...รับรองเสือไม่ขบแพะแน่นอน ณ Hi Hug House@หนองรางครับ..

สุขสันต์วันเกิดนะจ๊ะลุงวอ

ขอให้อายุยืน...หมื่น ๆ ปีจ้าา

เรียนคุณ ยาย ธี

บางเรื่องต้องเอาหูไปนา เอาตาไปไร่

ถึงวัยเกษียณ ต้องอยู่แบบสบายๆ

อยากอยู่ ..อยู่

อยากไป...ไป

อยากกิน...กิน

อยากทำ..ทำ

ตามอัตภาพของผู้สูงวัย

ไม่รัก ไม่ชอบ ไม่ทำน่ะถูกแล้ว

ทำไปฝืนความรู้สึก ดีตรงไหน

นะลุงนะ งานอาสาทำแล้วสุขใจ ได้บุญ

กับประโยคว่า เขาได้ทุกอย่างไปแล้ว เขาจะแวะมาทำไม เสียดสีมากๆครับ

เรียนคุณ เพชร

สำนวน หรือภาษาถิ่น นับวันคนรุ่นใหม่ไม่เข้าใจความหมาย

จึงนำมาบันทึกไว้ เท่าที่นึกออก

น้องมะเดื่อ ลุงวอ แก่ขึ้นตามกาลเวลา

ปีนี้ ฟันขอลาเหงือกไปหลาบซี่

สุขภาพอื่น ยังดีอยู่ สัญจรได้ต่อไป

ใช่ครับ อาจารย์ หนุ่ย....

ทำในสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่มีความสุข

เขามองว่าเรามีศักยภาพ ในการพยปะผู้คน

แต่เราไม่มีศักยภาพพอที่จะ เป็นนักวิศกรรมสังคม

เรียนอาจารย์ ต้น ภาษาถิ่นใต้ โวหาร และมุตโต

คนใต้เรา ยิ่งคนแต่แรก พูดเป็นปริศนาธรรม คำคม คำคล้องจอง ให้ชวนคิด

ซึ่งเป็นสิ่งที่ครนำมาบันทึกเพื่อการเรียนรู้ ความหมาย นัยะ

เหมือนอย่างคำชม ตนใต้เราชมแล้วเพื่อน ยิ้มจนร้อง

เช่น ทาแป้งประไข่จี้งจก เหมือน เหยียวดำซาวพร้าว

ใส่เสื้อแดง สวยเหมือกาคาบพริก ..... เหล่านี้

ซึ้งจะนำมาเสนอ เท่าที่นึกออก บอกได้

ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท