"๙ ข้อพื้นฐานที่ทำร้ายการศึกษาไทย" ... (ท่านปิยโสภณ)



๙ ข้อพื้นฐานที่ทำร้ายการศึกษาไทย


ระบบที่ทำร้ายการศึกษาของชาติ คือ

๑. ระบบช่วงชั้น คือ ภัยร้ายของการศึกษาไทย การซ้ำชั้นต้องรีบกลับนำมาใช้ การไม่ให้เด็กตกซ้ำชั้น คือ การฆ่าเด็ก ผลักเด็กให้เกิดความเบื่อหน่ายตายใจว่าไม่เรียนก็ได้เลื่อนชั้น กลายเป็นนิสัยสันดานให้เป็นคนไม่เอาจริง ใครเป็นคนคิดระบบนี้ต้องรับผิดชอบ

๒. การที่ไม้เรียวหลุดมือครู ทำให้ครูยุคนี้ท้อต่อพฤติกรรมของเด็ก ขนาดพ่อแม่ยังเอาลูกไม่อยู่ คิดหรือว่าครูจะเอาอยู่ ทั้งยังไม่ใช่ลูกของครู ขนาดหนึ่งต่อหนึ่งยังไม่รอด นี่ครูคนเดียวต้องรับผิดชอบเด็กอย่างน้อย ๔๐ คน

๓. ครูทำกิจกรรมข้างนอกมากเกินไปจนไม่มีเวลาสอนนักเรียนอย่างเต็มที่ ฝากเรียน ฝากสอน ให้นักเรียนอยู่กับคำสั่งที่ว่างเปล่า

๔. ครูมีทัศนคติรับจ้าง ไร้วิญญาณครู ไม่สอนเต็มที่ในห้องเรียน แต่รอสอนพิเศษนอกห้องเพื่อหารายได้พิเศษจากเด็ก กลายเป็นวงจรอุบาทว์ไม่สิ้นสุด ระบบสอนพิเศษจึงควรหยุด แต่ควรให้พิเศษทุกนาทีที่อยู่ในห้องเรียน

๕. ครูใช้เด็กเป็นเรือจ้างทำวิทยฐานะทางวิชาการ เพื่อให้ตนก้าวหน้า จนลืมเด็กในอ้อมกอดของตน

๖. สมศ. (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา) องค์กรนี้ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพการศึกษาของชาติ แต่ยิ่งประเมินยิ่งตกต่ำ เพราะประเมินจากกระดาษ อาคารเรียน ตัวครู มิใช่ตัวนักเรียน ยิ่งบางแห่งยังประเมินแบบลูบหน้าปะจมูก ทำให้ผู้บริหารการศึกษา และครูไม่ตื่นตัวปรับปรุงการศึกษาของตน

๗. ผอ.โรงเรียนแต่ละแห่งมีงานยุ่งมาก อีกทั้งยังเมาแป๋ สอบถามเด็ก ๆ ที่มาบวชว่า ทำไม ม.๒ แล้วจึงอ่านไม่คล่อง เขียนไม่แตกฉานแม้คำง่าย ๆ เขาตอบว่า เพราะครูไม่ค่อยเข้าสอนอย่างจริงจัง โรงเรียนแต่ละแห่งแก่ประชุม แก่กิจกรรม แก่เกียรติบัตร จนลืมดวงตาละห้อยที่รอคอยครูอยู่ในห้องเรียน

๘. บางโรงเรียนห้องเรียนใหญ่เกินกำลังครู ทั้งครูเองยังถูกกำหนดให้สอนตรงสายมากเกินไป ทำให้ขยับอะไรที่ชอบและถนัดไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่มนุษย์คนหนึ่งมีความสามารถมากกว่าหนึ่งอยู่แล้ว ปล่อยให้ครูที่เก่งหลายด้านต้องตายด้านไปกับระบบนี้ การศึกษาคือ การค้นหาทักษะของครูให้สอนได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้มิใช่หรือ แต่นี่ระบบกลับบอนไซความสามารถของมนุษย์ให้ตายไปจนเกษียณอายุราชการ

๙. การที่โรงเรียนลืมปราชญ์ชาวบ้านที่มีความเชี่ยวชาญชำนาญในด้านต่าง ๆ ซึ่งเขาประกอบอาชีพทำมาหากินจนเจริญรุ่งเรือง สร้างฐานะ แต่เรากลับเมินเฉยไม่เชิญมาเป็นครูต้นแบบ การเชิญปราชญ์ชุมชนมาสอนนักเรียนในวิชานั้น ๆ จะสร้างแรงบันดาลใจใหญ่หลวงให้เด็ก ๆ อยากเรี่ยนรู้มากกว่าครูปกติสอนอย่างแน่นอน หรือว่าไม่ใช่ครูจึงยืนหน้าห้องเรียนไม่ได้

ที่เขียนมานี้มิได้ตำหนิครู แต่อยากให้แก้ตราสังที่มัดอกครู มัดระบบการศึกษาไทยให้มีลมหายใจต่อไป


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


บทความนี้ถือเป็นสิ่งที่น่าสนใจ
เป็นมุมสะท้อนอีกด้านหนึ่งของสังคมการศึกษาไทย

ลองไตร่ตรองดูนะครับ

บุญรักษา ทุกท่าน ;)...


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขอบคุณหนังสือ ...

ท่านปิยโสภณ. "๙ ข้อพื้นฐานที่ทำร้ายการศึกษาไทย", Secret. ๘, ๑๗๑ (๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๘) : หน้า ๙๒.


หมายเลขบันทึก: 593715เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2015 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2015 00:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจารย์ครับสมัยที่ผมเรียนไม่เห็นมี สมศ ไม่มีการประกวดอะไรทั้งนั้น เรียนแบบเบื่อๆอยากๆ ไม่ต้องถึงป.4 ก็อ่านออกเขียนได้ ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ผมว่าอยู่ที่สภาพสังคมที่มันเปลี่ยนไป มีสิ่งล่อใจให้หลงไหลมากกว่าสมัยก่อนมากมาย ทําให้ทั้งครูและลูกศิษย์ต่างฝ่ายต่างสนใจเรื่องที่ตัวเองอยากครับ

หนังสือแนะนําของเคล็ดไทย

เห็นเหมือนท่าน ประธาน ครับ ;)...

มันเป็นเรื่องน่าแปลกใจจริง ๆ ที่มี สมศ. แต่ระบบการศึกษาไทยกลับตกต่ำลง
เหมือนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาอะไรบางอย่าง

เศร้าใจอยู่มิคลายครับ ...


พาเจ้าเฟรซ มาให้กำลังใจค่ะ

นำขนมครกร้อนๆ จากเตามาฝากค่ะ (ขนมครก ตำบลบ้านพระ) ...เติมพลัง และสู้ๆนะคะ

สงสารเด็กสมัยนี้ค่ะ

เมื่อก่อนเรามีคำว่า ครู วันนี้กลายเป็น ผู้สอน

เมื่อก่อนเรามีคำว่า ลูกศิษย์ วันนี้กลายเป็น ผู้เรียน

เศร้าค่ะ

ขอบคุณมากครับ อาจารย์ Rung ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท