​การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการ การท่องเที่ยวและกีฬาแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการ เพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน กลุ่มท่องเที่ยวมรดกโลกเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ


การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่แนวทางพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและกีฬาแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการ ประกอบด้วยกระบวนการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการใน 2 ส่วน

บุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวและกีฬาในพื้นที่ดำเนินการ 5 คลัสเตอร์ ใช้ระยะเวลา

คลัสเตอร์ละ3 วัน 2 คืน รวม 5 คลัสเตอร์จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 200 คน ประกอบด้วย

(1) กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาและภาคเหนือ จำนวน 40 คน

วันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ 2558 ณ โรงแรมเทวราช จังหวัดน่าน

ติดตามอ่านได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/586768

(2) กลุ่มท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง จำนวน 40 คน

วันที่ 11-13 มีนาคม 2558 ณ โรงแรมเชียงคาน ริเวอร์ เมาท์เท่น รีสอร์ท จังหวัดเลย

ติดตามอ่านได้ที่: http://www.gotoknow.org/posts/587212

(3) กลุ่มท่องเที่ยวมรดกโลกเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จำนวน 40 คน

วันที่ 23- 25 มีนาคม 2558 ณ โรงแรมสุโขทัยเทรเชอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดสุโขทัย

(4) กลุ่มท่องเที่ยวมหัศจรรย์สองสมุทร จำนวน 40 คน

วันที่ 6-8 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมภูงา จังหวัดพังงา

(5) กลุ่มท่องเที่ยว Active Beach จำนวน 40 คน

วันที่ 13-15 พฤษภาคม 2558 ณ บ้านปู รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดตราด

หมายเลขบันทึก: 587700เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2015 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2015 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
สรุปโดยทีมงานวิชาการ ChiraAcademy

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬา

ด้านการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน

กลุ่มท่องเที่ยวมรดกโลกเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ระหว่างวันที่ 23 – 25 มีนาคม 2558 ณ โรงแรมสุโขทัยเทรเชอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา

…………………………………………………………

พิธีเปิด

กล่าวรายงาน

โดย นายประสิทธิ์ปิ่มบุญผู้ช่วยท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุโขทัย

กราบเรียนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ที่เคารพอย่างสูง

ผมนายประสิทธิ์ปิ่มบุญ ผู้ช่วยท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุโขทัยในนามของผู้จัดประชุม ขอกราบขอบพระคุณท่านที่กรุณามาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและกีฬาแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน กลุ่มท่องเที่ยวมรดกโลกเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนในวันนี้

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้มอบหมายให้มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเป็นที่ปรึกษาและดำเนินการจัดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำและเผยแพร่แนวทางการพัฒนาศักยภาพองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาไปยังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สร้างความเข้มแข็งให้องค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาในระดับประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมใหทุนมนุษย์ในด้านการท่องเที่ยวและกีฬามีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสร้างศักยภาพการบริหารอย่างมีส่วนร่วมเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงระดับโลกอย่างต่อเนื่อง

สำหรับการประชุมดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 40 คน ซึ่งมาจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการในกลุ่มท่องเที่ยวมรดกโลกเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ได้แก่ จังหวัดตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี และพระนครศรีอยุธยา อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดียิ่ง

หลักสูตรการประชุมในครั้งนี้ กำหนดดำเนินการในระหว่างวันที่ 23-25 มีนาคม 2558 โดยมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและกีฬากับแนวทางการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงสู่อาเซียน / กลยุทธ์การตลาดสร้างมูลค่าเพิ่มการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันสู่อาเซียน / และการแบ่งกลุ่มอภิปรายการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มจากการท่องเที่ยวและกีฬาสู่อาเซียน / รวมทั้งการทัศนศึกษาและดูงานกรณีศึกษา ณ ชุมชนเมืองเก่าสุโขทัย และชุมชนบ้านนาต้นจั่น

บัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้ว ผมใคร่ขอเรียนเชิญท่านประธานได้กรุณาเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและกีฬา แบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน กลุ่มท่องเที่ยวมรดกโลกเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนในวันนี้ ขอกราบเรียนเชิญ

กล่าวเปิด

โดยนายปิติแก้วสลับสีผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย

ขอต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมที่มาจากทั้ง 7 จังหวัด ได้แก่ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา จังหวัดสุโขทัยยินดีอย่างยิ่งในการต้อนรับและดูแลผู้มาเยี่ยมเยือน จากที่เห็นในกำหนดการทั้ง 3 วันนั้นดีมาก เสียดายที่ไม่ได้มีโอกาสมาร่วมพูดคุย และเสียดายที่ไม่ได้มาร่วมงานได้ตลอด

โครงการพัฒนาองค์กรเครือข่าย ทั้ง 4 ภาคส่วนประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคภาควิชาการ และภาคชุมชน คือส่วนประกอบสำคัญของความสำเร็จตรงนี้ สุโขทัยเป็นเมืองมรดกโลก ที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่ประทับใจ รวมถึงการมีสุขภาพอนามัยที่ดีถ้วนหน้า ซึ่งทั้ง 4 ส่วนอยู่ในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เราจะเน้นในด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยกับศรีสัชนาลัยจะเชื่อมโยงไปกำแพงเพชร และจังหวัดใกล้เคียงได้อย่างไร และจะเชื่อมโยงไปเมืองมรดกโลกที่หลวงพระบางด้วยจะทำอย่างไร อย่างบางกอกแอร์เวย์อยากทำไฟล์ทบินจากสุโขทัยไปหลวงพระบาง ซึ่งถ้าทำได้จริงจะเป็นการเชื่อมโยงเส้นทางมรดกโลกได้ดีมาก

การพัฒนาสู่ยุทธศาสตร์เพื่อความยั่งยืน เราไม่สามารถพัฒนาแค่การท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว ต้องใช้การสร้างความประทับใจ ผ่านการให้บริการ การตั้งราคา และการดูแลสถานที่ เพราะเราเป็นองค์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

จังหวัดสุโขทัยมีส่วนในการพัฒนาสุโขทัยเอง ในส่วนของโครงการปกครองส่วนท้องถิ่น มี อบต. เทศบาลเมือง 3 แห่ง และเทศบาลตำบล ทุกองค์กรมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวสุโขทัย องค์กรไหนจะมีส่วนร่วมมากน้อย ขึ้นอยู่กับบทบาทของแต่ละภาคส่วนอาทิ การสร้างความประทับใจ การดูแลบ้านเมืองให้สะอาด การส่งเสริมรายได้ และการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน

ในเขตเมืองได้มีการจัดการเรื่องบทบาทของแต่ละภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นด้านความสะอาด ผู้ประกอบการ รถจักรยานเช่า ร้านอาหาร ฯลฯ ได้มีการติดตั้งกล้องวงจรปิด เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว

การเชื่อมโยงสาขาด้านการท่องเที่ยวและด้านการเกษตรเข้าด้วยกัน โครงสร้างด้านทรัพยากรมนุษย์ และบุคลากร ทำอย่างไรจึงเอาการท่องเที่ยวไปเติมรายได้ให้คนสุโขทัย สิ่งนี้เป็นโจทย์ที่เราต้องศึกษา เราต้องพยายามเชื่อมโยงการท่องเที่ยว สาขาบริการ โรงแรม ขนส่ง พาณิชยกรรม ทุกสาขาจะเป็นส่วนเติมเต็มทางการท่องเที่ยว เราต้องดึงหลายสาขามาให้คนส่วนใหญ่ การส่งเสริมไปในแต่ละด้านใดด้านหนึ่งคงไม่ได้ประโยชน์ จึงต้องสร้างให้ทุกด้านได้ประโยชน์รวมกัน

วันนี้นอกจากความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ส่วนราชการพยายามสร้างโครงข่ายอำนวยความสะดวกหลาย ๆ เรื่อง สร้างให้การท่องเที่ยวมีประโยชน์อย่างช้า ๆ อยากให้ดึงความร่วมมือในการสร้างการเชื่อมโยงเส้นทางระหว่างตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ ภูหลวง ถึงหลวงพระบาง ความเป็นถนน 4 เลนนั้นไม่ใช่เพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียว ยังมีในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถสร้างความประทับใจได้ ซึ่งสามารถดูแลในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน การใช้งบพัฒนาจังหวัดเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การพัฒนาด้านจิตใจ การบริการและการมีส่วนร่วมต่าง ๆ

การพัฒนาภาษา ทำอย่างไรเราถึงรู้ถึง 10 ภาษาได้ ภาษาอังกฤษอาจใช้เป็นภาษากลาง แต่ถ้าเราอยากได้เปรียบจะทำอย่างไร ครูสอนภาษาไทยได้รับเกียรติหรือไม่ครูจากประเทศในอาเซียนมีโอกาสเข้ามาสอนเด็กหรือเยาวชนบ้านเราหรือไม่ ควรมีการแลกเปลี่ยนที่จะต้องพัฒนาไปสู่อาเซียน

เมื่อพูดถึงสุโขทัยอยากให้นักท่องเที่ยวนึกถึงก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย ทองสุโขทัย สังคโลก เป็นต้น การสร้างสุโขทัยเป็นแบรนด์ให้เกิดขึ้น อย่างคุณวิวัฒน์เจ้าของโรงแรมเทรเชอร์ ฯ สุโขทัย เน้นการสร้าง Brand AEC ในนามหอการค้า

เรื่องอาหารที่สุโขทัยเด่นมาก พบว่าเวลาไปที่จังหวัดอื่นยังมีไส้กรอกสุโขทัย ไปที่เชียงรายมีข้าวแกงสุโขทัย สุวรรณภูมิมีผัดไทยสุโขทัย สรุปคือชื่อสุโขทัยสามารถขายได้ด้วยตนเอง แต่จะทำอย่างไรถึงติดตรา ติดใจแบรนด์ ในอนาคต

อยากให้ท่านที่มาจาก 8 จังหวัด ได้ไปลงในพื้นที่สุโขทัยด้วย วันนี้ทองสุโขทัยน่าสนใจ ลดลงเหลือ 18,000 บาท อาจซื้อติดมือไป และอาจได้กำไรต่อมา

ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย มีถั่วลิสง ถั่วฝักยาว ถ้าแท้ ๆ จะมีหนังหมู อยากให้ท่านที่มาจาก 7 จังหวัดได้เห็นตรงนี้ด้วย

สุดท้ายขอขอบคุณที่ให้เกียรติจัดงานที่สุโขทัยเทรเชอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา อยากให้มีคนมาเที่ยวที่สุโขทัยมากขึ้นจะได้เอาเงินมาช่วยพัฒนาเมืองเก่า ราชธานีแห่งแรกของไทยให้ยั่งยืนต่อไป ขอขอบคุณผู้จัดโครงการฯ และคิดว่ากิจกรรมวันนี้น่าจะเกิดประโยชน์กับประเทศ สู่ภาพรวมในอนาคตต่อไป

สรุปโดยทีมงานวิชาการ ChiraAcademy

ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬา

ด้านการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน

โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ดร.จีระ ได้ถือโอกาสกล่าวขอบคุณตัวแทนกระทรวงที่นั่งอยู่ที่นี่

สำหรับประเทศไทยพบว่าอัตราการเจริญเติบโตของไทยเมื่อเทียบกับที่ผ่านมาด้านการส่งออกของไทยมีความลำบากมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ช่วยเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจคือการท่องเที่ยว ดังนั้น การท่องเที่ยวจึงเป็นสิ่งที่สำคัญในอนาคต

ตัวละครทั้ง 4 กลุ่ม คือ กลุ่มภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคชุมชนและผู้นำท้องถิ่น นั้นแต่ก่อนอาจไม่ได้ทำงานร่วมกัน แต่ในอนาคตข้างหน้าควรหันหน้ามาทำงานร่วมกัน ให้ปรึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

สี่คำที่ต้องจำคือ

1.เครือข่าย

2.การพัฒนาเครือข่ายให้มีศักยภาพสูงขึ้น หรือเรียกว่า Capacity Building

3.การสร้าง Value

Value Added อยากให้มีมูลค่าหรือความคิดร่วมกัน

Value Creationสร้างให้มีมูลค่าต่อสังคมมากขึ้น

Value Diversity สร้างให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม องค์กรและความคิด ให้ไปดูงานและเรียนรู้จักกัน

4. การสร้างความยั่งยืน

Workshop

เป้าหมายคือ ต้องค้นหาตัวเองก่อนว่าสถานการณ์คืออะไร จะไปทางไหน ไปอย่างไร และสุดท้ายคือจะทำให้สำเร็จได้อย่างไร

สิ่งที่ได้เมื่ออยู่กับ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. ความรู้ (Knowledge)

2. กระบวนการ (Process)

3. ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (Outcomes)

มีโจทย์หลัก ๆ2-3 อย่างที่ฝากไว้

คนไม่มี Pattern เดียวกัน ถ้าได้องค์ความรู้ไปเพิ่มสมรรถนะของคนได้ จะสามารถนำไปเพิ่มสถานการณ์ของการสร้างเครือข่ายได้

มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาช่วยเป็นโค้ช

ทำไมต้องมีการเรียนเรื่องทุนมนุษย์ และเรื่องที่ต้องมาเป็น Trainer การดึงความสามารถของทุกท่านขึ้นมา

อยากให้มีเวลาในการตอบคำถาม โอกาสในการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวมรดกโลกเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการปรับตัวจะทำอย่างไร

มองโอกาสในการพัฒนามรดกโลก สุโขทัยและจังหวัดใกล้เคียง

กลุ่มที่ 3 การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

1. ประเด็นที่ผู้ว่าฯ แจ้งมาคือ การให้พยายามหาเส้นทางมรดกโลกที่เชื่อมสุโขทัย หลวงพระบาง โดยบางกอกแอร์เวย์ สุโขทัยเพียงอย่างเดียวน้ำหนักไม่พอ ดังนั้นจะนำอาเซียนมาเชื่อมโยงให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นได้อย่างไร อาจใช้สายการบินบางกอกแอร์เวย์ หรือสายการบินอื่นในการเชื่อมโยง

2. บางกอกแอร์เวย์ มีจุดเชื่อมจากสุโขทัยไปต่อนครวัด นครธม

การเชื่อมโยงทางบก North West Economic Corridor มีรถวิ่งไปถึงเลย หลวงพระบาง สามารถเข้ามาที่พิษณุโลกและสุโขทัยในอนาคต

สิ่งที่อยากปรับตัวในอาเซียน 3 เรื่องคือ

1. ทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวรู้จักวัฒนธรรม สามารถเรียนรู้วัฒนธรรมเพื่อการปรับตัว ต้องคุยเรื่องการสื่อสาร เช่น อาเซียน ญี่ปุ่น เกาหลี จีน

2. การเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม และ Cross Culture ต่าง ๆ

3. การเตรียมการต้องเตรียมความพร้อม และให้เป็นเจ้าบ้านที่ดี

กลุ่มที่ 2 การท่องเที่ยวเชิงกีฬา

เป็นตัวแทนมาจาก อพท. สุโขทัยได้กล่าวถึงโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยวและกีฬา ที่จังหวัดสุโขทัยว่าสิ่งที่เป็นโอกาสคือความเป็นมรดกโลกที่สามารถโปรโมทขายได้ในระดับสากล กีฬามีสนาม BMX เฉลิมพระเกียรติ มีสนามใหญ่สุด มีการเก็บตัวนักกีฬาที่แข่งเอเชี่ยนเกมส์ มีวิถีชีวิตคนในชุมชน สังคโลก อาหาร

สิ่งที่อยากปรับตัวในอาเซียน 3 เรื่องคือ

1. มีการปรับปรุงทางด้านการรองรับในอนาคต

2. การพัฒนาทักษะคนบริการด้านการท่องเที่ยว

3. การมีทักษะการพัฒนาภาษาอาเซียน และภาษาอังกฤษ

กลุ่มที่ 4 การท่องเที่ยวชุมชน

เป็นตัวแทนจาก อพท.อุทัยธานี ได้มองถึงโอกาสทางการท่องเที่ยว จากนครสวรรค์ อุทัยธานี เข้าสู่อาเซียน อย่างนครสวรรค์ที่จะเชื่อมโยงอาเซียน ค่อย ๆ เข้ากับ MOU มากกว่า ที่ตามมาคือจีนจะเป็นอันดับที่เราจะเชื่อมต่อไป เน้นการเชื่อมเป็นกลุ่มกันมากกว่า

อุทัยธานีที่จะเชื่อมโยงจริง ๆ นั้น ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวเป็นทางยุโรปเกือบหมด ไม่ค่อยมีทางอาเซียนเลยจะทำอย่างไรดี

สิ่งที่อยากปรับตัวในอาเซียน 3 เรื่องคือ

1. การศักยภาพด้านการท่องเที่ยวมรดกโลก ยังมีข้อจำกัดทางการท่องเที่ยว

2. อาจมีข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เปิดสู่อาเซียน อยากให้ทำเผื่อบันเทิงได้ด้วย

3. ภาษาอยากให้มีการพัฒนาทางด้านภาษาอังกฤษและอาเซียน ซึ่งจะมีพี่ใหญ่ที่นครสวรรค์ที่ประชุมบ่อย แม้ว่านครสวรรค์จะเป็นจังหวัดใหญ่ มีการจัดประชุมทางด้านกีฬาเยอะมาก

กลุ่มที่ 1 การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

คุณสิทธิชัยตัวแทนจาก อพท.สุโขทัย กล่าวว่าสุโขทัยเป็นศูนย์กลางจังหวัดต่าง ๆ โดยรอบ ๆ เป็นโอกาสที่จะขยายไปสู่ที่อื่นได้ มีทรัพยากรธรรมชาติ มีอุทยานแห่งชาติ มีพ่อขุนรามคำแหงและอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย มีอุทยานแห่งชาติที่นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมได้มากมาย เมื่อเข้ามาแล้วจะไปไหนต่อ นำเสนอเรื่องราวและขยายผล

สุโขทัยเป็น Brand ของประเทศ เนื่องจากความเป็นราชธานีแห่งแรก หรือเมืองเก่า และการมีสถาปัตยกรรมของคนในพื้นที่มานำเสนอให้นักท่องเที่ยวได้ดูจากแหล่งมรดกโลกที่เป็นซากปรักหักพังมีเส้นทางการขับรถมาจากเชียงของและไล่ลงไปเรื่อย ๆ เส้นทางผ่านจุดไหนบ้างและให้ดูเส้นทางส่งเสริมประกอบ

สิ่งที่อยากปรับตัวในอาเซียน 3 เรื่องคือ

1. การสร้างจุดขาย

2. การจัดการ เราควรมานั่งคุยว่าจะเชื่อมโยงพื้นที่ไปต่อที่อื่นอย่างไร ทุกจังหวัดมีคำขวัญจะจัดการอย่างไร มีภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการและคนในท้องถิ่น จะจัดการอย่างไร ประเทศไทยมีข้อเสียเรื่องการประสานและการบูรณาการร่วมกัน

3. ส่งเสริมในเรื่องการประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ ประเพณีการลอยกระทง และประเพณีทั้ง 12 เดือน ยังไม่ได้หยิบยกให้รับรู้ ในการท่องเที่ยว 12 เมืองห้ามพลาด นอกจากสุโขทัยแล้วยังมี ศรีสัชนาลัย และกงไกรลาส

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

สิ่งที่อยากเห็นคือการมองไปข้างหน้าร่วมกันจะสามารถกำหนดได้ว่าเป็นอย่างไร มีมรดกโลกเชื่อมโยงระหว่างสุโขทัยไปหลวงพระบาง และเสียมเรียบได้เป็นต้น

สุโขทัยต้องมีแนวร่วมในประเทศด้วย อย่างกำแพงเพชร พิษณุโลก และสามารรถ เชื่อมกับภาคการเกษตรและการท่องเที่ยวด้านอื่นได้เช่นแม่สาย สุโขทัยเป็นลักษณะแนวร่วมกับจังหวัดอื่นด้วยจะได้ขับเคลื่อนไปในทิศทางร่วมกัน

สิ่งที่อยากฝากคือ

1. การมองที่อนาคตว่าจะไปทางไหน

2. การปรับเรื่อง Networking และให้คนพูดถึงลูกค้าและนักท่องเที่ยวด้วย ทั้งสุโขทัยและจังหวัดใกล้เคียง สุโขทัยและชุมชนต้องเป็น Global Networking ปี ๆ หนึ่งจะได้คนเท่าไหร่และมาจากไหนบ้าง

3.ท่าทีของข้าราชการในอนาคตต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/17636

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2558. หน้า 5

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.gotoknow.org/posts/588684

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 9-24 เมษายน 2558

Please click this link to read the project news.

http://www.gotoknow.org/posts/588991

Source: FIHRD-Chira Academy Newsletter Fortnightly. on 9-24 April 2015 (English Version)

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการ

Please click this link to watch the project's news.

ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ "ดร.จีระ"
ตอน : การท่องเที่ยวและกีฬากับการบริหารจัดการเช­ิงบูรณาการ ตอนที่ 3
ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน 2558
ทางสถานีโทรทัศน์ TGN

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

การอภิปรายเรื่อง "ท่องเที่ยวและกีฬากับแนวทางการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง
สู่อาเซียน"

หัวข้อ เส้นทางวัฒนธรรมกับการสร้างเครือข่ายท่องเที่ยวมรดกโลกเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

โดย รศ.ดร.มังกรทองสุขดี ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ปัจจัยสำคัญคือด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมนุษย์นั้นมีความเกี่ยวข้องอยู่เสมอมนุษย์ยังคงมีความรู้สึกรัก ชอบ เกลียดชัง

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความสัมพันธ์ การเป็นกัลยาณมิตร เราต้องมีความชัดเจน ทำตัวให้ถูกต้องและเหมาะสมต้องสร้างให้ทุกคนมีความภาคภูมิใจ ศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น อาทิ ประวัติเมืองบางขลัง จังหวัดสุโขทัยนั้นเป็นจุดสำคัญที่สุดของความเป็นชาติไทย คือพ่อขุนบางกลางข้าว(พ่อขุนบางกลางหาว) กับพ่อขุนบานเมือง (พ่อขุนผาเมือง) องค์หนึ่งตีศรีสัชนาลัย องค์หนึ่งตีสุโขทัย

ปรากฎในหลักศิลาจารึกหลักที่ 2 หรือจารึกวัดศรีชุม ของกรุงสุโขทัย ได้กล่าวถึงเมืองบางขลังเป็นเมืองโบราณนับพันปี กล่าวถึง พ่อขุนผาเมือง และ พ่อขุนบางกลางหาว ร่วมกันปราบกบฏขอมสบาดโขลญลำพง และมีข้อความกล่าวถึงเมืองบางขลัง ในด้านที่ 1 บรรทัดที่ 24 ว่า ...พล พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด พาพ่อขุนผาเมืองผดาจกันและกัน พ่อขุนบางกลางหาวได้เมืองศรีสัชนาลัย พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด เอาพลมา...บางขลังเวนบางขลังแก่พ่อขุนผาเมือง แล้วพ่อขุนผาเมืองเอาเม้อเมืองราด เมืองสากอได... เมืองบางขลังโบราณ จะร้างไปเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด ตามแหล่งที่ตั้ง ทางด้านทิศตะวันตก ติดกับเทือกเขาเล็กๆที่ชาวบ้านเรียกว่า เขาเดื่อ หรือเขาวงเดื่อ ณ ที่นั้นมีซากแหล่งศิลาแลง และโบราณสถานอยู่ เชื่อกันว่า เมืองบางขลังเป็นเมืองหน้าด่าน หรือเมืองนักรบของเมืองเก่าสวรรคโลก (ศรีสัชนาลัย) ต้องทำศึกกับชาวล้านนา และเมืองอื่นทั่วๆไป

เพราะมีสุโขทัยจึงมีอยุธยา มีรัตนโกสินทร์ มีประเทศไทยเกิดขึ้นถ้าจะชี้นำการสร้างเครือข่ายว่าจะไปที่ไหน ขอให้ไปพบชาวบ้านแล้วให้เขาเล่าความภูมิใจในถิ่นกำเนิดของเขาจะเป็นการสร้างเครือข่ายที่ดีอย่างหนึ่ง

ในประวัติศาสตร์สุโขทัย มีบุคคลทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญหลายท่าน อาทิ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชสมเด็จพระแม่ย่า (นางเสือง) มีบุตรชาย 2 คนเป็นกษัตริย์มหาราชทั้งคู่ คือพ่อขุนบานเมืองและพ่อขุนรามคำแหง

ปัจจัยสำคัญคือการสร้างให้มีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์ กับมนุษย์ และมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม การมีคุณธรรมของคนไทย นำสู่การสร้างวัฒนธรรมไทย

สมัยสุโขทัยมีการสร้างกิจกรรมและประเพณีที่สื่อถึงการนึกถึงคุณของสิ่งแวดล้อม อาทิ การเผาเทียนเล่นไฟ การลอยกระทง เป็นการแสดงถึงการให้ความสำคัญกับน้ำที่มีประโยชน์ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีประโยชน์ต้องสร้างให้คนระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคา พระแม่ธรณีพระแม่โพสพ

การอภิปรายเรื่อง "ท่องเที่ยวและกีฬากับแนวทางการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง
สู่อาเซียน"

หัวข้อ กรณีศึกษาด้านการพัฒนาชุมชนเชื่อมโยงสู่อาเซียน

โดย คุณกฤศดา ธีราทิตยกุล

การท่องเที่ยวชุมชนเป็นประเด็นที่หลายประเทศเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากชุมชนนั้นเป็นเจ้าของและได้รับผลประโยชน์โดยตรง

ในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศนั้นยังมีความแตกต่างทางเศรษฐกิจ การเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและวัฒนธรรมมาก ยังคงมีความแตกต่างทั้งประเทศที่ร่ำรวย และประเทศที่ยากจน

ในมุมของการท่องเที่ยวแบบเดิมจะสามารถช่วยอะไรได้หรือไม่

จากตัวเลขในปี พ.ศ. 2533 พบว่าตัวเลขการท่องเที่ยวได้เขยิบขึ้น นำไปสู่ความแตกต่างเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ในส่วนอาเซียนเมื่อการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นก็ส่งผลต่อปัญหาทางด้านวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เห็นชัดขึ้นเช่นกัน สิ่งที่น่าสนใจในเรื่องการการท่องเที่ยว (Tourism) ก็คือความรับผิดชอบต่อการท่องเที่ยว (Responsible Tourism) การท่องเที่ยวเป็นอีกทางเลือกที่แก้ปัญหา มีองค์กรพัฒนาเอกชนเนเธอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ ไทย อินโดนีเซียที่ช่วยในการผลักดันชุมชน แลสร้างความสัมพันธ์การท่องเที่ยวชุมชนอย่างมีส่วนร่วม มากขึ้น

มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ

การท่องเที่ยวโดยชุมชน คือการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม กำหนดทิศทางโดยชุมชน จัดการโดยชุมชนเพื่อชุมชนและชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของมีสิทธิในการจัดการดูแล เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน (โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ, 2540)

ในช่วงแรก ๆ ได้พยายามเข้าไปดูแลจัดการการท่องเที่ยวให้ชุมชนในเมืองเรียนรู้คนที่อยู่นอกเมือง พบได้ว่าในช่วงแรก ๆ นั้นชุมชนแทบจะไม่มีความภูมิใจในการแสดงออกเลย ต่อมาจึงสร้างการกระตุ้นให้ชุมชนเป็นแหล่งให้ผู้คนมาสนใจเรียนรู้มากขึ้น ใช้การท่องเที่ยวช่วยในการบริหารจัดการชุมชน

ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนของฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียนั้นมีความคล้ายคลึงกัน คือมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และประวัติศาสตร์ ทั้งในเรื่องนโยบายและการพัฒนาที่ประสบความสำเร็จ มีการจัด International Conference โดยชุมชนเป็นผู้จัดการ มีการเชิญ Speaker จากที่ต่าง ๆ รวมกันเป็น Guest Speaker แต่จำนวนนักท่องเที่ยวนั้นยังไม่สูงมาก ในเรื่อง CBT การท่องเที่ยวโดยชุมชนยังมีน้อยอยู่ที่นำสู่การพัฒนาชุมชน อย่างองค์กรที่อยู่ในอินโดฯ ชื่อ Indonesia Conservation Network มีการให้ชุมชนปรับเป็นพื้นที่ที่สามารถให้มีการศึกษาร่วมด้วย

ในกลุ่มประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม เป็นกลุ่มที่เริ่มต้นเรื่องการท่องเที่ยวค่อนข้างช้า จึงหันมามุ่งเรื่องการเปิดตลาดและเปิดตัวเองสู่ภายนอก โดยใช้วิธีการรับการท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาแล้วค่อยมาพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศอีกที ปัจจุบันจำนวนนักท่องเที่ยวลาวเพิ่มจาก 7 แสนคน เป็น 2.5 ล้านคน มีการท่องเที่ยวในเมืองสำคัญซึ่งเป็นเมืองมรดกโลก อาทิ หลวงพระบาง วังเวียง เวียงจันทร์ ปักเซ ที่สามารถรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก การหันไปพัฒนาชุมชนเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อปกป้องสัตว์ป่า พบว่ามีองค์กรเอกชนที่มีโครงการจำนวนมากที่ช่วยในการดูแลรักษาสัตว์ป่า โดยมีการจัดการการท่องเที่ยวขึ้นมาเพื่อดูแล

ประเทศกัมพูชา ลาว เวียดนาม เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจไม่ค่อยจะดีนัก ต้องได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรเอกชนซึ่งในระยะหลังกัมพูชาเริ่มให้ความสนใจนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น

คนในอาเซียนมีจำนวนคน 600 ล้านคน ประมาณ 9 % ของประชากรโลก หากรวมประชากรในประเทศ ASEAN กับอีก 6 ประเทศคู่เจรจา (จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) ก็จะมีประมาณ 3,284 ล้านคน ครึ่งหนึ่งของประชากรโลกการท่องเที่ยวรวมในอาเซียนมีอยู่ 90 ล้านคน คนกลุ่มใหญ่ในอาเซียนคือกลุ่ม GMS ไทยมี 26 ล้านคน

ก่อนที่จะไปอาเซียนอยากให้มองที่ GMS เราสามารถทำให้เป็นศูนย์กลางเกิด Win-Win Situation อยากให้มองถึงปัญหาด้านการท่องเที่ยว การทำลายสิ่งแวดล้อมและการทำลายวัฒนธรรมด้วย

ลาว

ส่วนดีคือการที่ชุมชนสามารถจัดการเองได้ ชุมชนจะมองภาพท่องเที่ยวที่เป็น Mass อย่างลาวก็ได้ ซึ่งลาวก็มีโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพให้ยั่งยืน เป็นการสร้างโอกาสให้เกิดความเคารพหรือวัฒนธรรม

กัมพูชา

เราจะมองภาพไปที่ อังกอร์วัด นครวัด นครธม กัมพูชามีชุมชนจำนวนมากรองจากประเทศไทย มีชุมชนเกือบ 200 ชุมชน

ที่กัมพูชามี 50 ชุมชน ใช้วิถีชีวิตและเครื่องมือไม่เฉพาะอังกอร์วัด

มาเลเซีย

ชุมชนเป็นลักษณะโฮมสเตย์ มีเกือบทุกรัฐ มีการจัดการแบบเอกชนไม่ใช่แบบชุมชนทีเดียว การจัดการแบบชุมชนมีความยุ่งยากแต่ยั่งยืน และรัฐบาลให้การสนับสนุนในการลงทุนให้โฮมสเตย์โดยให้ชุมชนมายืมเงินไปลงทุน

บรูไน

รายได้ส่วนใหญ่เป็นก๊าซ และออย ไม่ใช่มาจากทางการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น การท่องเที่ยวเป็นในลักษณะการเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียน มีบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ที่มีการผลักดันการท่องเที่ยวไปด้วยกัน

สิงคโปร์

มี Green Tourism , Responsible Tourism , Casino ,F1 ที่ประสบความสำเร็จ อยากให้ศึกษาว่าสิงคโปร์มีการกระจายท่องเที่ยวได้อย่างไร

เมียนมาร์

พม่าเพิ่งเปิดประเทศและเริ่มใหม่ เรื่อง CBT จึงใช้การพัฒนาชุมชนผ่านการท่องเที่ยว คือ Community Development Through Tourism

กลุ่มไทย อินโดฯ ฟิลิปปินส์ คนในชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น สามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง

NGOs สามารถพึ่งตนเองได้ ในหลายชุมชน มีรายได้ ปีละหลายล้านเด็กในชุมชนได้เรียนรู้และได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมผ่านการแสดง

นักท่องเที่ยวต่างชาติมี 10 % ที่สนใจการท่องเที่ยวโดยชุมชน แม่กำปองถือว่าเป็นตัวอย่างที่คลาสสิกมากมีบริษัทต่างประเทศเข้ามาอยู่ในชุมชน ชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยว การจะเปิด Eco Lodge ต้องผ่านชุมชนหมดเลย การท่องเที่ยวชุมชนเป็นกรณีที่น่าศึกษามีการ Monitor ติดตามสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมตลอด

ลาว เวียดนาม กัมพูชา จะทำอย่างไรให้ยั่งยืน และจะไปต่อ

องค์กรกลุ่มประเทศเหล่านี้พยายามแก้ปัญหาอยู่ สามารถสร้างมาตรฐานการท่องเที่ยวชุมชนออกมา มีการเช็คจำนวนนักท่องเที่ยวว่ามีเท่าไหร่ ในส่วนของโมเดลสุดท้ายคือ มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน เป็นเศรษฐกิจดี ไม่ต้องการ Tourism มากส่วนใหญ่เป็นแบบ Domestic คือ ไปพักด้วยกัน

การเปิดอาเซียนในด้านสังคม วัฒนธรรม ความมั่นคง และทหาร การสร้างโดยชุมชน การขาดความยั่งยืน ชุมชนแบบไทยเป็นแบบไหน จะออกมาเป็นประเทศเพื่อนบ้านเป็นแบบไหน

คุณพิชญ์ภูรี

ชุมชนจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ ให้นำการท่องเที่ยวชุมชนมาแก้ปัญหา

ด้วยวิถีชีวิตอาหาร เสื้อผ้า ชุมชนเหล่านี้จะมีเสน่ห์

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

เสนอให้ไปวิจัยบทเรียนต่อว่าเอา Networking ไปใช้หรือไม่ มีบทเรียนหรือไม่ เชื่อมกับอาเซียน GMS ให้เรียนรู้จากเขาได้ ต้องการศึกษาจุดอ่อน จุดแข็ง ความล้มเหลว ความสำเร็จด้วย ต้องพยายามเรียนรู้ซึ่งกันและกันถ้าพบว่าโปรเจคขาดอะไรบางอย่าง อาจให้นักธุรกิจ ชุมชน ราชการที่มี Mindset ที่เหมาะสมเป็นคนนำได้

การผนึกกำลังความหลากหลาย ต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวังและให้มีการแบ่งปันกันอย่างสมดุล เอาความรู้ไปใช้

คุณพิชญ์ภูรี

การมองโอกาสในแวดวงการท่องเที่ยวและกีฬา สามารถนำเอาองค์ความรู้ในเรื่องโอกาส การท่องเที่ยวเชิงกีฬาไปใช้

การอภิปรายเรื่อง "ท่องเที่ยวและกีฬากับแนวทางการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง
สู่อาเซียน"

หัวข้อการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการท่องเที่ยวเชิงกีฬาเชื่อมโยงสู่อาเซียน

โดย ดร.ชัยนิมากร

นายกสมาคมการจัดการกีฬาแห่งประเทศไทย

ประธานกรรมการอำนวยการบริษัทในเครือแกรนด์สปอร์ต

ท่องเที่ยวและกีฬาเชื่อมสามารถนำมาต่อกันได้อย่างไร

ถ้าพูดถึงเรื่องการกีฬาโดยทั่วไปนั้น จะนึกถึงการไปดูการแข่งขัน การมาพักโรงแรมและดู/เล่นกีฬา จึงอยากให้ไปดูตัวอย่างที่การกีฬานั้นสามารถเชื่อมโยงไปยังการท่องเที่ยวได้เช่น อังกฤษ สเปน จึงขออยากให้ศึกษาทั้ง 2 ประเทศนี้ด้วย เช่นที่สเปน เมืองบาเซโลน่า ได้เอาความหลังจากความสำเร็จมาทำให้คนชื่นชม

สำหรับประเทศไทย ภาครัฐต้องการขยายยอดรายได้จากการท่องเที่ยวจากปีละ 1ล้านล้านบาท เป็น 2 ล้านล้านบาท ถึงแม้ว่าไม่ได้เป็นตัวทำรายได้ทั้งหมดแต่กีฬานั้นสามารถช่วยให้รายได้ทางการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะกีฬาอาชีพ กีฬาที่ต้องใช้สนาม และมี ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น การขี่จักรยานไตรกีฬา หรือการจัดกีฬาใหญ่ ๆ ที่ต้องจ้างคนมา

การสร้างมูลค่าเพิ่มทางการกีฬา

สิ่งที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้คงเป็นเรื่อง Sports Tourism Marketing คือการนำการตลาดมาเกี่ยวข้อง เราต้องดูว่ามีวิธีการใดที่ช่วยให้คนมาหาเราได้บ้าง

- กีฬาพื้นฐาน ถ้ามีโรงเรียนกีฬาดัง ๆ คนก็สนใจอยากจะเรียน กีฬาพื้นฐาน

- กีฬามวลชน วิ่ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน สามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ตัวอย่างเช่น ที่สุโขทัยมีการจัดบอสตันมาราธอน เป็นการนำการแข่งขันโดยไม่ต้องเสียเงินสร้างสนามมาช่วยในการดึงคนเข้ามา แต่ประเด็นที่ควรคำนึงถึงด้วยคือเรื่องที่พักการทำการตลาด การมองโอกาส และอุปสรรค จะมีวิธีการจัดการอย่างไรขอยกตัวอย่างเรื่องราคาเช่าจักรยานที่สุโขทัย ให้เช่าในราคา 20 บาทต่อคัน ขอถามว่าการตั้งราคาเช่นนี้สำหรับคนต่างประเทศราคาถูกไปหรือไม่ เนื่องจากค่าเงินของต่างประเทศสูงกว่าไทยมากจึงอยากให้มีศึกษาเรื่องการตั้งราคา (Pricing) ที่เหมาะสมด้วย

ข้อดีของกีฬา คือ นอกจากนักกีฬา และทีมการจัดการแข่งขันแล้ว สิ่งที่ตามมาด้วยคือครอบครัว และแฟนกีฬากีฬาบางประเภททางผู้จัดการแข่งขันจะออกค่าใช้จ่ายให้ บางประเภทนักกีฬาออกเงินเอง กีฬาประเภทไหนมีผลดี ผลเสียอย่างไร มีข้อดีข้อด้อย อย่างไร อยากให้ลองศึกษาให้ดี

การจัดปฏิทินการกีฬา ถ้ามีเรื่องสนามกีฬามาเกี่ยวข้อง การบริหารจัดการสถานที่จะมีบทบาทสูงดังนั้นจึงต้องมีกระบวนการในการบริหารจัดการให้ได้ตลอดทั้งปี กีฬาบางประเภทเช่นกีฬาระดับโลก เราต้องใช้กีฬาเพื่อให้เกิดประโยชน์มากสุด ต้องใช้ประโยชน์จากการจัดการแข่งขันหรือสนามกีฬา อย่างเช่น การจัด Exhibition แสดงสินค้า เป็นต้น

ฟุตบอล

ถ้าเปรียบเทียบเรื่องคุณภาพของฟุตบอลสุโขทัย กับฟุตบอลบุรีรัมย์ มีความแตกต่างกันแค่ไหน แต่ทำไมถึงแตกต่างกัน ประเด็นคือเราต้องหาคนที่ใจกล้ามาทำให้ฟุตบอลเกิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นได้ ลองสังเกตว่าทำไมทัวร์เดอฟรองค์ถึงไม่ต้องทำยากเหมือนที่อื่น ไม่จำเป็นต้องไปทำที่สนามใหญ่แต่เน้นการปรับภูมิประเทศมาเป็นแนวคิดในการสร้างโอกาสได้

การสร้างมูลค่าเพิ่ม

อยากให้มีการกล้าคิดใหญ่มากขึ้นแบบคุณเนวิน คือคิดที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มจากจำนวนคนที่มาเพิ่มขึ้น เนื่องจากเมื่อมีคนที่มาร่วมงานมากขึ้น จะทำให้อยู่นานขึ้น สิ่งที่ตามมาคือรายได้เพิ่มขึ้น อยากให้ศึกษาคุณลักษณะของแต่ละพื้นที่ เช่น ที่เมืองและพื้นที่โดยรอบมีอะไรที่เป็นจุดขายได้บ้าง ให้จัดทำเป็นข้อมูลขึ้นมา

การให้ความสำคัญในเรื่อง Safety และ Facility ที่สะดวกสบาย จะสามารถช่วยเชื่อมโยงและเชื่อมต่อกับอาเซียน

การสำรวจในพื้นที่ว่ามีอะไรที่สามารถนำมาทำเป็นรูปแบบเพื่อการศึกษาและให้ความรู้ได้ เช่น ถ้าอยากศึกษาเรื่องมวยให้มาอาเซียน โดยเน้นการมีรูปแบบให้เลือก เน้นวิธีการร่วมมือกันระหว่างประเทศ ปรับประวัติศาสตร์ที่สร้างความร่วมมือและสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพราะบางครั้งประวัติศาสตร์ที่แท้จริงก็ไม่สามารถนำมาพูดได้ ให้ศึกษาข้อมูลและประวัติศาสตร์ในระดับอาเซียนเพื่อนำมาเชื่อมโยงในการจัดกิจกรรมร่วมกัน อย่างการเริ่มจัดกีฬา เอเชียนเกมส์เริ่มครั้งแรกในปี ค.ศ. 1951

การรวบรวมข้อมูลของ Sport Tourism สิ่งที่อยากเสนอแนะคือ การวางแผนงานและประกวดโครงการฯ เพื่อการพัฒนาร่วมกัน

ตัวอย่างเช่นเมืองอินชอน ข้างเมืองโซล ประเทศเกาหลีใต้ได้มีการพัฒนาจากทุ่งหญ้ามาทำเป็นโฮมสเตย์ เพื่อเป็นที่พักให้กับการจัดแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์

การทำ Real Estate หรือการทำเมืองใหม่

ควรมีการจำลองรูปแบบให้เหมาะสมกับสิ่งที่ทำ และให้มีการเชื่อมโยงกับอาเซียน อยากให้มีการนำความคิดไปสู่การปฏิบัติจริงให้ได้ อย่างเช่น ไทยสามารถเชื่อมโยงกับหลวงพระบางได้ ให้ลองศึกษาแนวคิดของทางยุโรปที่มียูโรพาสที่สามารถเชื่อมเส้นทางไปสายต่าง ๆ ได้

Sports Tourism เป็นอุตสาหกรรมใหม่

อาเซียนมีโครงการร่วมกัน มีการจัด World Cup โอลิมปิก มีการจัดร่วมกันในอาเซียน

ให้เอาเอกชนมาบริหารและร่วมมือกัน

คุณพิชญ์ภูรี

สุโขทัยเป็นเมืองมรดกโลก มีปัญหาเรื่องความไม่สม่ำเสมอของนักท่องเที่ยวแต่มีกรณีศึกษาชุมชนที่ดีมาก

สุโขทัย มีความคิดสร้างสรรค์คิด Theme ใหม่เป็นแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ร่วมหัวใจทำท่องเที่ยวและกีฬา

การอภิปรายเรื่อง "ท่องเที่ยวและกีฬากับแนวทางการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง
สู่อาเซียน"

หัวข้อการท่องเที่ยวและกีฬาแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการ
กรณีศึกษาการสร้างเครือข่าย กลุ่ม
YEC หอการค้าสุโขทัย สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยว

(ยกตัวอย่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกิจกรรมทางการท่องเที่ยว และการสร้างแนวร่วมทางการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน)

โดยนายวิวัฒน์ธาราวิวัฒน์

ประธานกลุ่ม YEC หอการค้าสุโขทัย

กรรมการผู้จัดการ โรงแรมสุโขทัย เทรเชอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา

กลุ่ม YEC หรือกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่หอการค้าไทย ที่มีอายุไม่เกิน 45 ปี มีในประเทศไทยมา 10 ปีแล้ว จากเดิมจะมีกลุ่มนี้อยู่ที่นครสวรรค์ ในส่วนสุโขทัยเพิ่งก่อตั้งไม่ถึงปี

มีลักษณะการทำงานเป็นทีม โดยให้แต่ละจังหวัดช่วยทำ และได้ชื่นชม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คุณกอบกาญจน์วัฒนวรางกูร ช่วยผลักดันกลุ่ม YEC ให้เกิดทั่วประเทศ การสร้างความร่วมมือผ่านการประชุมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันทั่วประเทศ และถูกกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ของประเทศไทย สู่การพัฒนาเป็นวิสัยทัศน์ และส่งเสริมการสร้างคุณธรรม ปราศจากคอรัปชั่น เพราะต้องการให้ YEC ทำงานให้กับสังคม สร้างคนรุ่นใหม่ให้ออกมาทำงานเพื่อสังคม การมีจิตสำนึกที่ดี มีวินัย และมีคุณธรรมจากสิ่งที่พบเห็นเพราะในสังคมไทยปัจจุบันยังมีความไร้ระเบียบและวินัยในสังคมไทย จะทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการเคารพกฎกติกาที่ควรเป็นจึงอยากให้เน้นในเรื่องจิตอาสาเป็นหลัก โดยทำบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเช่นมีโครงการ 1 ไร่ 1 แสน ซึ่งเป็นแนวทางที่ YEC ยึดถือและนำไปปฏิบัติ

การทำงานด้านการท่องเที่ยว

ปัจจุบันกลุ่ม YEC สุโขทัยมีสมาชิกทำงานอยู่ 20 กว่าคน ในด้านธุรกิจท่องเที่ยวมีการนำ YEC เข้ามาช่วยทำงานทำให้เห็นพลังของคนรุ่นใหม่หลายอย่าง ได้เห็นความคิดสร้างสรรค์ ได้เห็นนวัตกรรมที่พยายามผลักดันด้วยจิตอาสา ได้เห็นความอดทนที่ไม่มีอะไรที่ย่อท้อ และพร้อมทำงานให้กับสังคม อาทิ

- แนวคิดการสร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิดให้กับกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ได้เข้ามาช่วยธุรกิจที่บ้านของตน

- การแสดงพลังของกลุ่ม YEC เริ่มต้นจากกิจกรรม CSR ช่วยเด็ก ๆ ซ่อมเครื่องเล่นที่วัดตระพังทอง ไปบริจาคเงินให้โรงเรียนเด็กพิเศษที่เป็นดาวน์ซินโดรม

- การเริ่มต้นจัดงานลอยกระทงสุโขทัย ที่สร้างความมีส่วนร่วมจากคนในท้องถิ่นให้ทุกหน้าบ้านต้องประดับโคมไฟเสมือนการเปิดบ้านในช่วงเทศกาลลอยกระทง ซึ่งจากโครงการดังกล่าวทำให้หาเงินมาได้เกือบแสน และสามารถช่วยให้จังหวัดฟื้นประเพณีเก่า ๆ ที่คนมองข้าม

- การให้ YEC เป็นผู้สร้างกิจกรรมและใช้บริการ ให้มีการนั่งฟังและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันเพื่อสร้างเครือข่ายให้ทุกคนมี Value added ในการทำธุรกิจ ได้พบเพื่อนใหม่ เจอประสบการณ์ใหม่ และทำประโยชน์ให้กับสังคมด้วย

- กิจกรรมSoul land and love song แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์รูปหัวใจ เป็นโครงการแก้มลิงสุโขทัย คือตอนแรกสถานที่นี้เป็นเหมือนทะเลทรายต่อมาได้มีการปรับปรุงพื้นที่ และมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย

เหตุผลที่ YEC ได้ทำงานเพราะมีหลายภาคส่วนให้โอกาสไปทำงาน และให้เข้าไปจัดกิจกรรมต่างๆ เนื่องจากเห็นศักยภาพของ YEC มีการให้สมาคมการท่องเที่ยวเป็นพี่เลี้ยงและน้อง YEC คิดโครงการต่างๆ เอง ซึ่งจากที่ได้มีโอกาสทำโครงการต่าง ๆ นี้เอง จึงพบว่าเด็กรุ่นใหม่ความคิดที่ไปไกลมาก

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คุณมังกร - จากตัวอย่างพบว่าท่านเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านการเป็น Networking ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และถ้าเป็น Networking ระหว่างประเทศสามารถร่วมมือกันได้ด้วยอย่างนี้จะดีมาก

คุณคริส - ได้นำประสบการณ์จริงมาเผยแพร่ ทำให้ทราบว่ามีการเกิดสมาคม Networking ของท่องเที่ยวและกีฬาในอาเซียนแล้ว ซึ่งถ้ามาตรฐานก้าวไปข้างหน้า และเป็นมี่ยอมรับ มีคนจากต่างประเทศบินมาจะสามารถสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มในอาเซียนได้อย่างดี

ดร.ชัย – กล่าวถึง Sports Tourism ที่เกิดจากงานวิจัยของ ดร.จีระที่เมื่อการจัดโครงการในปีแรกได้เชิญดร.ชัยเป็นที่ปรึกษา Sports สามารถนำไปสู่ Tourism ในอาเซียน ได้ ขณะเดียวกัน Tourism ก็นำไปสู่ Sports ได้

สิ่งที่อยากให้ทั้งการท่องเที่ยวและกีฬามีคือ Value Added , Value Creation, Value Diversity ซึ่งเราสามารถสร้างขึ้นได้

จากตัวอย่างของ Sports Tourism นั้นอยากให้ไปศึกษาที่สิงคโปร์ว่าเขาทำอย่างไร มีกิจกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้เข้าประเทศได้อย่างไร

สำหรับประเทศไทยที่เห็นแล้วมีตัวอย่างใน Asean Beach Game เห็นว่าใคร ๆ ก็อยากมาภูเก็ต

ในการสอนหนังสือจาก ดร.ชัย พอพูดเรื่อง Sports Tourism มีคนพูดว่าเล่นเกมส์นี้ถูกเพราะมี Feeling Sports ดีอย่างเพราะทำให้เรามีพลังขึ้นมา เรียกได้ว่า Sports Move People

คุณวิวัฒน์ - เป็นหนึ่งใน 4 ตัวละคร คือเมื่อ link กับรัฐแล้วกระเด้งไปวิชาการ แล้วกระเด้งไปเทศบาล เพราะเทศบาลคืออนาคตท่องเที่ยวและกีฬาที่ใหญ่ที่สุด

Networking เป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ เพราะว่ามนุษย์ในอนาคตต้องไม่เก่งคนเดียว ถ้ามีเพื่อนหลายคนให้เอา idea ที่หลากหลายมาประมวลเป็น idea เราได้ สิ่งสำคัญคือการ Link กับแต่ละกลุ่มจะทำอย่างไรถ้ามี Networking แล้วควรมี Creativity Knowledge ด้วย

โจทย์คือ

- Networking

- Capacity Building

- 3V คิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์

- Sustainability

- Follow up

ข้อเสนอแนะในการทำ Workshop

ต้องทำด้วยการใช้ Stage 4 Stage โดยให้สำรวจตัวเองในเรื่องสถานการณ์ปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร และอยู่ตรงไหน เช่น ถ้าจะไปอาเซียน ต้องเริ่มจากความเข้มแข็งก่อนแล้วจึงไปสู่เป้าหมายคือ Vision Goal ดูว่าต้องทำอะไร อยากทำอะไร ในวันพรุ่งนี้คิดโปรเจคร่วมกัน ต้องมี Idea และให้ Turn idea into action เพื่อให้วิ่งสู่ความสัมพันธ์อาเซียนให้ได้

โจทย์คือ จะรองรับการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่อาเซียน โดยทำให้หลุดพ้นจากความประมาทหรือ Comfort Zone ได้อย่างไร

การเป็นสังคมที่ไม่ใฝ่รู้ จะแก้ไขอย่างไร และทำอย่างไรให้แต่ละฝ่ายขับเคลื่อน สร้างพลังและสร้างมูลค่าให้ได้

อุปสรรคคืออะไร ให้ List เรื่องคน เรื่องกฎระเบียบ เรื่อง mindset การไม่คิดบวก

คนไทยไม่เคยสอน Do what you know ? ไทยเป็นสังคมที่เวอร์ทางปริญญาแต่ไม่เวอร์ทางปัญญา

Chira Way คือการกระตุ้นให้คิด ให้มองอย่าง Reality and Relevance อย่าดาวกระจาย และให้ทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬา

ด้านการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน

กลุ่มท่องเที่ยวมรดกโลกเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

วันที่24 มีนาคม 2558

คุณแสงจันทร์ แก้วประทุมรัสมี

การบริหารจัดการอยากเน้นให้คนในพื้นที่มีประสบการณ์และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายได้อย่างแท้จริง

การสร้างความสัมพันธ์สามารถให้เกิดขึ้นได้จากการทำกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการสร้างความต่อเนื่อง เน้นการสร้างเครือข่ายในเขตพื้นที่กลุ่มท่องเที่ยวมรดกโลกเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเน้นการแบ่งพื้นที่ในมิติของการทำงานร่วมกันว่ามีศักยภาพด้านไหน อาทิทางกลุ่มท่องเที่ยวมหัศจรรย์สองสมุทร ทางอันดามันเด่นในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ อาจเน้นเรื่องการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ในกลุ่มอารยธรรมล้านนาและภาคเหนือเด่นเรื่องการท่องเที่ยวสุขภาพ อาจสามารถทำให้เป็นระดับ World class ได้ เป็นต้น สิ่งที่อยากจะฝากไว้ในด้านการปฏิรูปการท่องเที่ยวและกีฬาจะสามารถไปด้วยกันได้อย่างไร ขอยกตัวอย่างที่ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เช่นที่เชียงใหม่ เมื่อช่วงวันที่ 23 มีนาคม ที่ผ่านมา ไปประชุมพบว่าเมืองเชียงใหม่นั้นเหมือนเมืองที่ถูกปกครองไปด้วยหมอกมลพิษ พบทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลายมากขึ้น มีนักท่องเที่ยวเข้ามาที่ภาคเหนือจำนวนมาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตในพื้นที่ที่เคยอยู่ ซึ่งพบว่าบางอาชีพอาจทำอาชีพที่เชื่อมโยงกับธุรกิจได้ แต่บางอาชีพนั้นต้องรับผลกระทบในเรื่องขยะ ความสะอาด และความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน เราจะปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไรและคนในพื้นที่จะไม่สามารถต่างคนต่างอยู่ได้เหมือนเดิม ต้องทำงานร่วมกันมากขึ้น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ได้กล่าวถึงการจัดประชุมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ว่าเป็นการประชุมที่ดี และมีเป้าหมายในการนำเสนอผลงานในวันที่ 25 มีนาคม โดยจะมีการจัด Workshop อีกชั่วโมงหนึ่ง จึงอยากขอให้ทุกท่านคิดว่าจะนำเสนออะไรในวันที่ 25 มีนาคม อยากให้ดูไปที่ลูกค้า และการตลาดแลละให้มีการคุยกันทั้งสองฝ่าย

การมองไปถึงอาเซียนต้องทำตัวเราให้เข้มแข็งก่อน และต้องหลุดจาก Comfort zone ให้ได้

ตอนทำ Workshopจะมีโค้ชที่เข้าไปช่วย ต้องถามก่อนว่าพื้นฐานของมนุษย์ที่ต้องมีคืออะไร ต้องเป็นแบบผู้นำจีนพูดไว้ คือมนุษย์ต้องมีคุณธรรม จริยธรรมคิดดีต่อสังคมหรือไม่ ถึงค่อยกระเด้งสู่ความเป็นเลิศ และต้องทำให้เป็นมืออาชีพมากขึ้น

การจะเสนออะไรมาขอให้คิดจากสิ่งที่เกิดจากความจริง อยากให้ Practical คือ Realistic and Relevance

การท่องเที่ยวต้องเน้นการสร้างประสบการณ์ในทุกเรื่อง ทั้งด้านเทคนิค คณิตศาสตร์ และหลายสิ่ง โดยก่อนอื่นทุกคนในห้องนี้ต้องมีระบบความคิดก่อน และระบบความคิดนั้นต้องสามารถสอนได้โดยหลักการนั้นต้องมีการฝึกมาทุกวัน ต้องมีการเอาตัวรอดและสามารถจัดการกับต่างประเทศได้

คุณพิชญ์ภูรีพึ่งสำราญ

คำพูดที่น่าสนใจมากคือหลักการเรื่องทุนมนุษย์ เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่างเชียงใหม่ เช่นปัญหาหมอกควันต้องเรียนรู้วิธีการบริหารจัดการเพื่อสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงได้

สิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาคือทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นหัวใจในการบูรณาการตามโจทย์ที่เห็น

คนที่ได้ถูกเลือกสรรมาแล้วคือ Training for Trainer

หัวข้อที่เรียนรู้วันนี้เกี่ยวอะไรกับเรื่องกีฬาและเรื่องท่องเที่ยว ถ้าเข้าใจเรื่องทุนมนุษย์ สำคัญมาก

การบรรยายหัวข้อ การพัฒนาทุนมนุษย์ (Capacity Building) ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันสู่อาเซียน

โดยดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวถึงทุนในโลกของเราว่ามี 4 ทุน

1. ทรัพยากรธรรมชาติ - อย่างแต่ก่อนพ่อขุนรามคำแหงบอกว่าในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แต่ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติหายไปหมด เนื่องจากคนไม่มีคุณธรรม จริยธรรม จึงไม่สนใจในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ

2. เงิน

3. เทคโนโลยี

4. คน เป็นทุนที่สำคัญและเป็นตัวประกอบของทุนอีก 4 ทุน

ดังนั้น จึงขอให้คนในห้องนี้จับประเด็นให้ได้

การพูดเรื่องคนเพราะคนต้องการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงให้ได้

การเปลี่ยนแปลง (Change) เพราะเหตุใดทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) จึงสำคัญกว่าปริมาณ (Quantity) มนุษย์

- ให้ลองศึกษาดูว่าเหตุผลที่ลีกวนยูเก่งเพราะอะไรคำตอบคือเพราะลีกวนยูเป็นผู้มีปัญญาและเห็นว่าคนคือทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กรส่วนอีกท่านที่อยากให้ดูเป็นตัวอย่างคือคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ท่านทำงานทุกวัน เน้นเรื่องคนและปรัชญา ไม่ได้มองคนแค่การบริหารงานบุคคล แต่ต้องรู้จักให้คนคิดเป็น คือการรู้เหตุและรู้ผล เรียกว่าการมีปัญญา

ถ้าหากจะทำการท่องเที่ยวในอาเซียนจะต้องรู้ว่า การท่องเที่ยวในอาเซียนเกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด

- ดูตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ ว่ามีรายได้ประชาชาติเหนือกว่าไทย 11 เท่า ถามว่าเขาทำได้อย่างไร

- ขอให้ทุกคนเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ เน้นเรื่องการใฝ่รู้ มนุษย์เราสำคัญสุดเพราะมนุษย์มีศักยภาพที่อยู่ข้างในเราต้องนำออกมาให้ได้

- การสร้างเครือข่าย (Networking) ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

- วันนี้เราจะมีความรู้อะไรใหม่ ๆ 1 เรื่อง ให้เขียนว่าได้เรียนรู้อะไรจากที่ประชุม 2 เรื่อง ให้คิดและสังเคราะห์ให้ดี

- สิ่งที่เสนอต้องมีโอกาสสำเร็จ ไม่ใช่เสนอแล้วขึ้นหิ้ง

- สร้างให้มีบรรยากาศกับการเรียน คือให้มีการปะทะกันทางปัญญา ให้ออกความเห็น และให้เห็นโอกาสทางปัญญา

- เราจะสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ได้จริงหรือไม่ อย่างปัจจุบัน Social Media กลายเป็นฐานที่สำคัญ

- ต้องคิดมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นว่าคืออะไร

HR Architecture

HR Architecture เป็นกระบวนการการเรียนรู้ที่มีรากฐานมาจากการศึกษา สุขภาพอนามัย ครอบครัว และสื่อมวลชน ฯลฯ ดังนั้นจึงต้องคิดให้เป็น และมีระบบความคิดให้ดี เพื่อให้สังคมไปรอด

วิธีการคือ

- อย่าหยุดการเรียนรู้ ให้ล้างความล้มเหลวของครอบครัว ฝึกหาการหาความรู้ร่วมกันถ้าการศึกษาดีจะช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและยากจนการมีความเข้าใจโลกาภิวัตน์ความเข้าใจเรื่องคอรัปชั่น ได้นั้น ก็ขึ้นอยู่กับทุนมนุษย์ทั้งนั้น

- HR Architecture คือการออกแบบสถาปนิกตั้งแต่เกิดถึงตาย และถ้ามีผลจากการมีทุนมนุษย์ที่ไม่ดีจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ได้

- 8K's5K's คือทุนด้านการพัฒนาคน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการต่อยอดทางการท่องเที่ยว

ไม่ว่าธุรกิจใดก็ตาม เราต้องทำสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

- เราต้องปรับทัศนคติให้ได้ก่อนว่าเราต้องเป็น World class และมีความเป็นสากล มีมาตรฐานด้านอาเซียน มีการเข้าสังคม และมีมารยาทในการเข้าสังคม

- กระบวนในการทำงานของ ดร.จีระ ต้องเน้นการทำวิจัยก่อน โดยหาคนที่มีความรู้ และสร้างเครือข่ายให้ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

- ก่อนตายให้เราทิ้งมรดกไว้บ้าง

- Activity กับ Strategy ต้องไปด้วยกัน ให้มีเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน และทำให้คุ้มค่าประเทศไทยจึงสามารถมี Wealth เพิ่มขึ้น

8K's 5K's

8K's5K's เป็นทุนมนุษย์ - เราต้องมีเครือข่าย คำว่าทุนมนุษย์เป็นพฤติกรรมของแต่ละคนที่อยู่ในห้องนี้K 1 เป็นตัวแม่ K 2 – 8 เป็นตัวลูก

การสร้าง 8K'sและ 5K's คือ

- ต้องมีการเติบโตที่ดี

- ต้องมี Purpose และ Meaning เพราะ เรื่องคน เราทำงานทุกเรื่อง ต้องไม่มุ่งหวังเงิน มุ่งหวังตำแหน่งที่เกินไป แต่ต้องมุ่งเน้นการมีสุขภาพที่ดี

- การทำงานต้องดูว่าทำเพื่ออะไร ให้ทำงานในสิ่งที่ชอบ ให้สำรวจตัวเองว่าชอบงานที่ทำอยู่หรือไม่ หรือทำไปเพื่อความอยู่รอด

- ต้องมีศักยภาพในการหาความรู้ ข้าราชการดีจะช่วยประเทศได้แน่นอน

- การทำงานต้องรู้เป้าหมายคือ Purpose and meaning รับใช้เจ้านายหรือรับใช้ประชาชน ชุมชนเท่านั้นที่เป็นใหญ่ ต้องให้คนไทยเห็นคุณค่าของประชาชน

- ทุนแห่งความยั่งยืนคือพฤติกรรมของคนในห้องนี้ ถ้าทำวันนี้แล้วจะต้องสำเร็จในอนาคต มีความต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่องหรือไม่

- การสร้างให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต อย่างอาเซียนเป็นตัวสร้างความเป็นเลิศได้ดี

- ประเทศไทยเก่งในการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ จะแก้ไขอย่างไร

- อนาคตเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลง จะเอาความรู้ที่ไหน

5K's

- ทุนทางความคิดสร้างสรรค์

- ทุนทางความรู้

- ทุนทางนวัตกรรม

- ทุนทางอารมณ์

- ทุนทางวัฒนธรรม

วัฒนธรรมมีเป็นแสนล้าน และวัฒนธรรมคือสิ่งที่ต้องอยู่ในสายเลือดของเรา มนุษย์เป็นคนสร้างวัฒนธรรม แต่มนุษย์เอาวัฒนธรรมเป็นโบราณวัตถุ

การสร้างภาวะผู้นำ

- อย่าวิตกกับวิกฤต

- อย่าทำแล้วหยุด

- อย่ารอให้อนาคตมาถึงเรา

- บริหารความไม่แน่นอน อย่าบริหาร Change แต่ให้คาดคะเน Change ให้ได้

- วินัยเป็นเรื่องสำคัญ

- ต้องมีความรู้ต่อเนื่อง

- อย่าให้ตัวเองเป็น Command & Control

- กระตุ้นให้คนอื่นเป็นเลิศ และให้ Benchmark กับทั่วโลก สร้าง Platform ให้คนอื่นเดิน

- Leader ในขณะนี้คือ Servant Leader

- สร้างโอกาสใหม่ ๆ

- จังหวะเข้าออกและ Speed สำคัญที่สุด

- การตัดสินใจที่ดี

- การทำงานเป็นทีม

การคัดเลือกหัวข้อ

1. ให้เลือกหัวข้อที่ดีก่อน – ให้ดูว่าทุกเรื่องที่เลือกมานั้น อะไรสำคัญที่สุด ไม่ใช่สำคัญต่อตัวเองเท่านั้น แต่ต้องสำคัญต่อองค์กร สำคัญต่อชุมชน และสำคัญต่อประเทศ

2. ทำให้เกิด Action Plan ต้องกล้าตัดสินใจและรับผิดชอบใน Action Plan

3. อย่าสื่อสารแบบกำกวม

4ต้องนึกว่าจะลงทุนอะไร เพื่อให้ได้อะไร

5. Networking หรือ Combination สำคัญ อาทิ การประชุมที่มีประสิทธิภาพอย่างที่ Google ทำคือให้ที่ประชุมออกความเห็นและแบ่งปันร่วมกัน ให้ทุกคนมีส่วนร่วม โดยให้ประธานพูดด้วย แต่ไม่มีการโหวต

Networking อันตรายที่สุดคือHonor อย่าง ข้าราชการในปัจจุบันต้อง Honorมีการยกย่องและให้เกียรติให้เปรียบเทียบทุนมนุษย์กับ Peter Drucker และใช้ 8K's 5K's กับการทำงานในอนาคต

6. ต้องมองโอกาสว่าไม่ใช่ปัญหา อาทิ การนำเอามรดกโลกไปสร้างมูลค่าเพิ่ม

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ที่เรามาอยู่ร่วมกันคือฝึกการรวมพลัง และเอาชนะอุปสรรค

ต้องมีวิธีการคิดร่วมกัน ทำร่วมกัน และแบ่งปัน (Share) กัน ต้องรู้จักสลับการเล่นบทพระเอก และพระรอง

การรวมพลังของคนจึงต้องคิดโครงการเพื่อสามารถแก้ปัญหาได้ ต้องก้าวข้ามอุปสรรค และสร้างสรรค์สิ่งใหม่

การสื่อสารคือการประชุมที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงต้องมีจังหวะเวลา และต้องนำมาใช้ และคิดอยากทำอะไรให้เสนอเข้ามาในกลุ่ม

การบรรยายพิเศษหัวข้อ "กลยุทธ์การตลาดสร้างมูลค่าเพิ่มการท่องเที่ยวและกีฬาไทยก้าวไกลสู่อาเซียน"

โดย ดร.ละเอียดศิลาน้อย

การท่องเที่ยวเป็นเรื่องที่โตคนเดียวไม่ได้ จำเป็นที่จะต้องสร้างเครือข่ายร่วมกัน อาทิ การทำเส้นทางการท่องเที่ยว (Routing) การใช้ประสบการณ์จากการเติบโตด้านการท่องเที่ยวมาเป็นระยะเวลานาน จึงน่าจะนำมาใช้ประโยชน์ด้านนี้ได้

ทดสอบทายใจทางจิตวิทยา

1. ให้เวลานาทีครึ่งวาดรูปตุ๊กตาตัวคนโดยใช้องค์ประกอบคือสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลมอะไรก็ได้รวมกัน 10 ชิ้น

2. ใส่เลขศูนย์ไปข้างหลังตัวเลข และให้ใส่เปอร์เซ็นต์ข้าง ๆ

เฉลย

1. สามเหลี่ยมหมายถึงคิดเรื่องงานกี่เปอร์เซ็นต์

2. สี่เหลี่ยมหมายถึงคิดเรื่องเงินกี่เปอร์เซ็นต์

3. วงกลมหมายถึงคิดเรื่องเซ็กส์กี่เปอร์เซ็นต์

การตลาดคืออะไร คือการสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสินค้าของเรา

ความต้องการของลูกค้าคือ Needs and Wants

1. Needs คือ ความจำเป็นที่ต้องใช้สินค้าและบริการนั้น ๆ

2. Wants คือ ความต้องการในการใช้สินค้าและบริการการ สามารถนำมาผสานกับวัฒนธรรม (Culture)

ลูกค้าคือใคร

กลุ่มพลังทางการท่องเที่ยว

1. นักท่องเที่ยว

2. ผู้ประกอบการธุรกิจทางด้านสินค้าและบริการ

3. รัฐบาลในประเทศนั้น

4. ชุมชนในแหล่งท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยวต้องการอะไร

1. ความสุข

2. ความประทับใจ

รัฐบาลต้องการอะไร ต้องการเครือข่าย

ชุมชนต้องการอะไร ต้องการแสดงและโชว์ความภาคภูมิใจ

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมผสมที่ต้องเชื่อมกับส่วนต่าง ๆ

- เป็นความไม่มีตัวตน

- เป็นส่วนที่ต้องบูรณาการกับส่วนอื่น ๆ

- เป็นเสมือนโซ่ ต้องดูว่าโซ่มีขีดจำกัดที่ทำให้โซ่ขาดอยู่ตรงไหน การท่องเที่ยว ทุกโซ่ต้องดีหมด ห้ามพลาดจุดใดจุดหนึ่ง

- ต้องทำเครือข่ายให้เข้ามาทำงานร่วมกัน คนไหนอ่อนต้องพัฒนาให้เข้ามาอยู่ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น คนนวด แท็กซี่ โรงแรม ร้านอาหาร เนื่องจากการท่องเที่ยวเป็นความหลากหลาย และคำตอบหายาก

- การท่องเที่ยวไม่รวยเร็ว แต่ไม่จน สามารถทำได้เรื่อย ๆ เป็นลักษณะน้ำซึมบ่อทราย

นักท่องเที่ยวมาทำอะไรบ้าง

1.ผักผ่อน

2. ธุรกิจ

การกีฬาสามารถรวมอยู่ในการท่องเที่ยวได้แต่ไม่ใช่เพื่อการแข่งขันเพราะต้องเสียภาษีไม่ใช่นักท่องเที่ยว

3. ญาติ/เพื่อน

4. ภารกิจพิเศษ

5. ประชุม

แรงจูงใจในการท่องเที่ยว

(1) สิ่งจูงใจ (Motivators)

–ทางกายภาพ Physical - ลดความเครียด

–ทางวัฒนธรรม Cultural - สนองความอยากรู้

–ทางบุคคล Interpersonal - พบเพื่อนใหม่ ๆ

–ทางสถานภาพและชื่อเสียง Status and Prestige – การพัฒนา ได้รับยกย่อง

(2) ปัจจัยผลักดันและดึงดูด Push and Pull Factors

ปัจจัยผลักดัน Push Factors

–สุขภาพอนามัย

–ความอยากรู้อยากเห็น

–ความพึงพอใจ

–ความเชื่อและศรัทธา

–ธุรกิจและวิชาการ

–เพื่อนฝูงและญาติ

–เกียรติภูมิ และความมีหน้ามีตา

ปัจจัยดึงดูด Pull Factors

*แหล่งศิลปวัฒนธรรม

- โบราณสถาน

- ประวัติศาสตร์

- พิพิธภัณฑ์

- เขตชนพื้นเมืองดั้งเดิม

- สถานที่สำคัญ ทางการเมือง

- สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง

- ศาสนสถานที่สำคัญ ๆ ทั้งเก่าและใหม่

* ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี

–งานวัฒนธรรมหรืองานประเพณี

–ศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ

–หัตถกรรม

–ศิลปการแสดงและการดนตรี

–ภาษา

* ลักษณะทางกายภาพ

– สภาพภูมิอากาศ

–สภาพทางทัศนียภาพ

* ชีวิตสัตว์ป่า

* สิ่งบันเทิงและเริงรมย์

* อื่น ๆ – ความสุภาพ สะดวกสบาย ความปลอดภัย

สินค้าทางการท่องเที่ยวมีลักษณะพิเศษคือ เป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้ ดังนั้น Employee ทางการท่องเที่ยว จึงต้อง เนียบ หล่อ สมาร์ท ดังนั้นเราจึงต้องหาความโดดเด่นให้ได้

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (การเรียงตามลำดับความสำคัญ)

1. ความปลอดภัย

- ต้องสร้างให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย ซึ่งความรู้สึกปลอดภัยนั้นสำคัญกว่าความปลอดภัย

- ตัวอย่างประเทศที่รู้สึกว่าปลอดภัย เช่น สวิสเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น

2. การเดินทาง

- สังเกตได้ว่าเมื่อเส้นทางการเดินทางเปลี่ยน เส้นทางการท่องเที่ยวเปลี่ยนตาม

- ต้องคำนึงถึงการเดินทางที่สะดวก

3. การซื้อของ

- เป็นส่วนที่สะท้อนการจ่ายเงินมากที่สุดในวงจรของการท่องเที่ยวถึง มีสัดส่วน 30 %

- นักท่องเที่ยวมาแล้วซื้ออะไรกลับ แต่บางครั้งการท่องเที่ยวก็ไม่ได้ก่อให้เกิดรายรับได้เท่าที่ควรจะเป็น เช่น ทัวร์ศูนย์เหรียญของจีนกำลังมีปัญหาว่าสร้างรายรับให้การท่องเที่ยวได้คุ้มค่าจริงหรือไม่

4. ที่พัก

- การจ่ายเงินมีสัดส่วน ประมาณ 28%

5. อาหาร 16 %

- การจ่ายเงินมีสัดส่วน ประมาณ 16%

6. แหล่งท่องเที่ยว / กิจกรรม

- การจ่ายเงินมีสัดส่วน ประมาณ 5 %

7.บริการท่องเที่ยว/สิ่งอำนวยความสะดวก

8.สถานบันเทิง

ทิศทางการพัฒนาสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวโดย

1. Value Creation

2. Value Added

3. Value Diversity

เมืองไทยเน้น

1. Sustainable

2. World Class

3. Network

การท่องเที่ยวโตคนเดียวไม่ได้ ต้องเชื่อมโยงให้ได้หมด จึงจำเป็นที่จะต้องดูเส้นทางการพัฒนาและขีดจำกัดในการรองรับทางการท่องเที่ยวด้วย

การตลาดประกอบด้วย 3 ยุค

ยุค 1.0 เป็นการตลาดที่ยึดสินค้าเป็นสำคัญ เน้นการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุด และขายในราคาถูกเพื่อให้ลูกค้าจำนวนมากซื้อได้

ยุค 2.0เป็นยุคที่การตลาดเน้นความสำคัญของผู้บริโภค หรือดูลูกค้าเป็นสำคัญ เน้นการตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย ทำให้เกิดสินค้าและบริการมากมาย แต่เป็นลักษณะของการสื่อสารทางเดียวระหว่างกิจการถึงผู้บริโภค

ยุค 3.0เป็นยุคการตลาดที่เน้นเรื่องคุณค่าของสินค้าและบริการ การขับเคลื่อนด้วยค่านิยม และการเข้าถึงความคิด จิตใจ และจิตวิญญาณของผู้บริโภค ทั้งนี้ผู้บริโภคสามารถสื่อสารและแสดงความคิดเห็นต่อสินค้าและบริการได้ เรียนว่าเป็นการสื่อสารสองทาง ทำให้ต่อมา Social Media กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสะท้อนความต้องการแท้จริงของผู้บริโภค ดังนั้นการตลาดยุคใหม่นี้จึงมุ่งเน้นที่การสร้างสรรค์ความยั่งยืนของธุรกิจที่รับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาบุคลากรส่งต่อไปยังคนรุ่นหลังต่อไป

สิ่งสำคัญของการตลาดในยุคปัจจุบันคือการตลาด Online ประกอบด้วย

- Website เว็บไซต์

- Social Media สื่อสังคมออนไลน์

- Co-creation ที่ลูกค้ามีส่วนร่วมในการทำสินค้าเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท