นักวิชาการชุมชน คนมีสำนึกพลเมือง


จาก การคุยเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร ก็ได้ประเด็นใหม่ที่ คนในพื้นที่เขาต่อไปถึง "ความมั่นคงของชีวิต"



ประชุมโต๊ะกลม ก่อนลงสนามรบ ของนักวิชาการประชาชน

วปช คือคนที่ผ่านหลักสูตร "วิทยาลัยป้องกันชุมชน"ที่ทางสภาพัฒนาการเมืองได้เปิดโอกาสให้คน

ทำงานเครือข่ายชุมชน เข้ามาเรียนรู้โดยไม่จำกัดความรู้ ในหลักสูตรป้องกันชุมชน ที่มีสำนึกความเป็น

พลเมือง รวมแล้ว 4 รุ่น จำนวนคนที่ผ่านโครงการ ประมาณ 200 คน ใช้งบประมาณไปก็หลายบาท เมื่อ

สพม.ชุดแรกหมด วาระลง สพม. ชุดที่ 2 ก็ไม่ได้ต่อโครงการ และไม่ได้ติดตามถามทวงการทำงานของ

คนที่ผ่านโครงการ วปช. ทำให้คนที่ผ่านหลักสูตรโครงการ กลุ่มหนึ่ง มีความสำนึก เสียดาย งบประมาณ

เสียดายโครงการดีๆ ที่เปิดโอกาสให้คนอาสาทำงานชุมชนได้เรียนรู้


จึงได้ติดต่อนัดหมาย มาปรึกษาหารือ ร่วมกันในประเด็น" คนว ปช.ควรอยู่ตรง และทำอะไรได้บ้าง

ท่ามกลางที่"คุณสมชาย"(คสช)ทำการปฎิวัติ และปฎิรูปประเทศไทย ผลสรุปในการพูดคุยปรึกษาหารือ

คือคน วปช.ที่มีสำนึกความเป็นพลเมือง ต้องหาเรื่อง หารือ หาประเด็นที่เป็นประเด็นสาธารณะของ

ชุมชน(จากปักหมุด วปช ที่พนังตุง มุ่งมาตอกเสาเข็มที่ ท่าข้าม) และสถาปนาตัวเองเป็น"นักวิชาการ

ประชาชน"(วชปช) ลงพื้นที่ ศึกษาชุมชน ที่ ธนาคารต้นไม้ บ้านคุณหมอพรรณี ที่สุราษฎร์ ที่ชวนคน

ชุมชนมาให้เขาพูด เขาคิด และเขาทำในเรื่องชุมชน ผลที่เกิดขึ้นคือ ทาง ท้องถิ่น อบต.เทศบาล

สนับสนุน งบประมาณมาให้ชาวบ้านกลุ่มนี้ มานั่งคิด ชวนคุย ค้นทุนชุมชน เพื่อจัดการตัวเองของชุมชน

โดยมี ธนาคารต้นไม้เป็นหลักคิดในการป้องกันชุมชน


ป้า พรรณี มาพร้อมกับ วปช.ตัวน้อย


ครั้งที่ 3 คน วปช. ลงปฎิบัติการในฐานะ นักวิชาการชุมชน ในพื้นตำบลเกาะหมาก บ้านแหลมกวด

อำเภอปากพะยูน จังหวัด พัทลุง เพื่อมาฟังชาวบ้านคิดชวนคุย ในการพื้นที่ ความมั่นคงทางด้านอาหาร

และการใช้สอยทรัพยากรที่เหมาะสม จาก การคุยเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร ก็ได้ประเด็นใหม่ที่

คนในพื้นที่เขาต่อไปถึง "ความมั่นคงของชีวิต" และร่วมวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน จุดเด่นชุมชนและ

แนวทางแก้ไขชุมชน บนพื้นฐาน พึ่งพาตนเอง ที่มีสำนึกความเป็นพลเมือง ที่ต้องปกป้องป้องกันชุมชน

เป็นการปฎิรูปประเทศไทย จากฐานรากที่คน ที่คน วปช อาสามาร่วมเป็นนักวิชาการประชาชน ให้ชุมชน

พึ่งตนเองอย่างยั่งยืน


หาพิกัดที่ ร.5 ตั้งพลับพลา ให้มหาดเล็ก ล่ากระจงที่เขาชัน ตำบลเกาะหมาก น้องดำริ เจ้าหน้ารางวัดที่ดินมากำหนดพิกัด

สองอาจารย์ กำลังถก ของดีเกาะหมาก อาจารย์ สมพร สุวรรณเรืองศรี และอาจารย์จำรัสเจริญเวช

นอนแคงแหลงเรื่องประวัติศาสตร์ ปากพะยูน

ลงพื้นที่ปฎิบัติการ เกาะรังนกทรัพยากรธรรมชาติของปากพะยูน

เกาะหน้าเทวดา ที่ทำการบริษัทรังนกแหลมทอง

คน วปช.สำรวจถ้ำรังนกนางแอ่น

กลับมาพื้นที่ คุยต่อ ในประเด็นที่คนมาเยือนอยากเสนอแนะ

หมายเลขบันทึก: 578666เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2014 20:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2015 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

อยากทราบถึง ..ธนาคารต้นไม้..มีความคิดหรือการพัฒนา..ไปในรูปแบบใด..บ้างแล้ว..เจ้าคะ...

ถ้าคนไทยทุกชมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง สังคมไทยคงเป็นสังคมที่สวยงามและมีความสุขมาก ๆ นะจ๊ะลุงวอ

ดีใจที่ วปช เดินหน้าต่อไป

ถึงแม้นว่าจะไม่ได้งบประมาณ

มาเชียร์นักวิชาการชุมชนครับ

เรียนคุณ คุณยายธี

ธนาคารต้นไม้ ที่บ้านหมอพรรณี ตอนนี้เอามาใช้สอยทำบ้านโดยไม่ต้องซื้อไม้

บางต้นมีราคาเป็นแสน ไม้ตะเคียนทอง

เขาทำธนาคารต้นไม้ ปลูกไม้ในสวนยางมา ร่วมยี่สิบปี

คุณยายมาเมืองไทย แวะลงสุราษฎร์ จะนำเยี่ยมธนาคารต้นไม้

น้องมะเดื่อ 24 ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงคงได้เดินทางไปแน่นอน

ลงภาพได้ปกติแล้วใช่ไหมครับ

แล้วพบกันครับ

ขอบคุณท่านอาจารย์ ขจิต วปช. ขับเคลื่อนสำนึกความเป็นพลเมืองสู่ชุมชน

ขอบคุณ คุณดารนี ที่ให้กำลังใจ นักวิชาการชุมชน คน วปช

ใส่ภาพได้แล้วครับ ขอบคุณอาจารย์ขจิต

วปช.สงขลา ชี้ทางออกประเทศโซนภาคใต้

เครือ ข่ายวิทยาลัยป้องกันชุมชนจังหวัดสงขลาชี้ชุมชนจะได้รับจาก วปช. คือ การเป็นแรงบันดาลใจให้มีความกระตือรือร้น มีความคาดหวัง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศด้วยพลังของชุมชนในฐานะผู้สร้างนักการ เมืองภาคพลเมือง
เมื่อวันที่19 ต.ค.55 เครือข่ายวิทยาลัยป้องกันชุมชนจังหวัดสงขลา หรือ วปช.สข. ซึ่งเป็นสถาบันชาวบ้านที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนพลังชุมชนด้วยการติด อาวุธทางความคิดในการรับมือกับการรุกคืบจากภายนอก ได้จัดการประชุมอบรมเติมความรู้ให้แก่สมาชิกจาก 16 อำเภอ ของจังหวัดสงขลา รวมทั้งร่วมวงเสวนา สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และ สิ่งแวดล้อม เพื่อนำผลสรุปที่ได้เป็นข้อเสนอทางออกของประเทศไทยในส่วนของภาคใต้
นายเจริญ ลิ่มสกุล ประธานเครือข่ายวิทยาลัยป้องกันชุมชนจังหวัดสงขลา เผยว่า วิทยาลัยป้องกันชุมชนจังหวัดสงขลาเป็นวิทยาลัยป้องกันชุมชนแห่งแรกของภาคใต้ ที่ได้ทำการเปิดรับสมัครสมาชิกจากทุกภาคส่วน และทำการประชุม อบรม รวมทั้งจัดเสวนา เพื่อนำเอาผลสรุปที่ได้ไปเป็นข้อเสนอแนะให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับ ทราบ และเร่งเข้ามาแก้ไข
สำหรับเครือข่ายวิทยาลัยป้องกันชุมชนจังหวัดสงขลานั้น ปัจจุบันมีเครือข่ายในระดับตำบลจำนวน 140 สภาองค์กรชุมชนตำบล หรือ 140 สโมสรอาสาพัฒนาชุมชน โดยตัวแทนของแต่ละตำบลนั้นจะเข้ามาเป็นหนึ่งในสำนักงานเครือข่ายวิทยาลัย ป้องกันชุมชนจังหวัดสงขลารวม 16 อำเภอ ซึ่งประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับจากวิทยาลัยป้องกันชุมชนจังหวัดสงขลา คือ การเป็นแรงบันดาลใจให้มีความกระตือรือร้น มีความคาดหวัง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศด้วยพลังของชุมชนในฐานะผู้สร้างนักการ เมืองภาคพลเมือง
นอกจากนี้ทางวิทยาลัยป้องกันชุมชนจังหวัดสงขลายังได้มีแนวคิดที่จะร่วมมือ กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นจากภาคประชาชนในระดับฐานราก เพื่อให้มีส่วนร่วมในการสรรค์สร้างสงขลาอาเซียน มหานคร รองรับประชาคมเศรษฐกิจกิจอาเซียนในอีก 3 ปี ข้างหน้า
ด้านนายอนันต์ กาญจนสุวรรณ ประธานเครือข่าย ป.ป.ท.ต้านคอร์รัปชันสงขลา กล่าวว่า วปช คือ วิทยาลัยป้องกันชุมชน มาจากสภาพัฒนาการเมือง สภาพัฒนาการเมืองนี้เป็นหน่วยงาน หนึ่งที่เกิดขึ้นใน พ.ศ.2550 ตามรัฐธรรมนูญ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้ได้อธิบายไว้แล้วว่า เห็นสมควรต่อสภาการเมืองและกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ.2550 บัญญัติให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพผองชนชาวไทยมีสิทธิในข้อมูลข่าวสารของการ ร้องเรียน มีสิทธิในการร้องเรียนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
วิทยาลัยป้องกันชุมชน ภาคใต้เป็นที่แรก สงขลานี้เป็นรุ่นที่5 ที่จะเปิด เมื่อถามว่าคนที่จบไปจะได้อะไรบ้าง ตรงนี้คำตอบง่ายที่สุด คือได้รู้ว่าที่เรารู้นั้นมันผิดและที่เรารู้นั้นรู้ไม่รอบด้าน เป็นการผสมผสานในการออกความคิดเห็นให้เข้าใจถึงชีวิตจริงที่เราต้องการที่ เราจะรู้มันคืออะไร ในการคัดเลือกคนเข้ามา ส่วนมากเราจะรับทั้งหมดแต่พอรับแล้วก็มาใช้วิธีการพูดคุย
ตอนนี้ วปช ได้ทดลองเฉพาะภาคใต้ก่อน เพราะปัญหาเยอะ ปัญหาความขัดแย้งสูง หลักคิดของคนภาคใต้ค่อนข้างจะไม่เหมือนภาคอื่น คือเป็นตัวของตัวเอง เรามีพรรคการเมืองที่ค่อนข้างเข้มแข็งอยู่พรรคเดียวซึ่งอาจจะเป็นความฉลาด หรือความโง่ก็ไม่รู้ ทีนี้พวกเราจึงอยากจะรู้

ติดตามอ่านข่าวต่อได้ที่ ฉบับ 540 ประจำวันที่ 27 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2555

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท