ถอดบทเรียนการ ดูงานท่อก๊าซจะนะ นักศึกษา วิทยาลัยป้องกันชุมชน(วปช)


"ส้มจุกจะนะนี้หนามาดัง ทุกคนหวังได้กินไม่ทนไหว รสชาติช่างหอมหวานซ่านหัวใจ ส้มเมืองใดไม่เหมือนเฉือนที่นี่ น้ำขาวคูแคแน่เต็มที่ ส้มจุกนี้ปลูกมากท่านว่าศรี ต่างส่งมาขายหน้าสถานี ตลาดนี้รวมส่งต่อก.ท.ม. สองตู้รถไฟไปก.ท.ม ทุกวันรอส่งไปไม่ต้องขอ กิ่งตอนก็ขายดีมีคนรอ ขายไม่พอต้องจองหายข้องใจ"

การศึกษาดูงานและถอดบทเรียนเรื่องโรงท่อก๊าซ อำเภอจะนะ จังหวัด สงขลา

กลุ่มที่1 วิทยาลัยป้องกันชุมชน (วปช2)

“นกเขาชวาเสียง สำเนียงสะกอม วัฒนธรรมหล่อหลอม ออมทรัพย์เด่นดัง” คือคำขวัญของอำเภอจะนะ ที่บ่งบอกถึงความสวยงามอุดมสมบูรณ์ ในทรัพยากรธรรมชาติ ความเป็นอัตลักษณ์ในภาษาวัฒนธรรมและการรวมตัวกันของชุมชน เพื่อพัฒนาโดยการใช้ทุนของชุมชนเองมาอย่างยาวนานมีเรื่องให้น่าศึกษาสืบค้นความเป็นมาของชุมชนแห่งนี้

จะนะ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา ที่ตั้งและอาณาเขต

ข้อมูลทั่วไป
1. ประวัติความเป็นมา ครั้งแรกตั้งที่อำเภอนาวี บ้านวังใต้ ได้ย้ายมาตั้งที่บ้านป่าระไม ต.ขุนตัดหวาย อยู่ไม่นาน ก็มาตั้งที่บ้านในเมือง ต.คลองเปี้ยะ มีต้นชุมแสง ขึ้นมาก ซึ่งภาษามลายูเรียกว่า เจาะเนาะ จะนะ เพี้ยนมาจาก เจาะเนาะ
2. เนื้อที่/พื้นที่ 502.98 ตร.กม.
3. สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป ร้อนชื้น มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูร้อน

ข้อมูลการปกครอง
1.ตำบล.......14.... แห่ง 3.เทศบาล..1.....แห่ง
2.หมู่บ้าน....139.... แห่ง 4.อบต........14 ... แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
1.อาชีพหลัก ได้แก่ ทำสวนยางพารา ทำนา การปศุสัตว์
2.อาชีพเสริม ได้แก่ การเลี้ยงปลาน้ำจืด ประมงชายฝั่ง หัตถกรรมพื้นบ้าน
3.จำนวนธนาคาร มี 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคาร ธ.ก.ส
4.จำนวนห้างสรรพสินค้า มี - แห่ง

ด้านสังคม
1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่ ร.ร.จะนะวิทยา ร.ร.จะนะนูปถัมภ์

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
ป่าไม้ สัตว์น้ำ แร่ดีบุก

ด้านประชากร
1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 94,505 คน
2.จำนวนประชากรชาย รวม 46,339 คน
3.จำนวนประชากรหญิง รวม 47,166 คน
4.ความหนาแน่นของประชากร 186 คน/ตร.กม.

ด้านการคมนาคม
1.ทางบก - รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 408 - สถานีขนส่ง สถานีรถไฟ
2.ทางน้ำ - ท่าเรือขนส่งโดยสาร

ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม
1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ข้าว ประมง
2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ (แม่น้ำ/บึง/คลอง) คลองสะกอม คลองนาทับ
3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ บริษัทจะนะน้ำยาง จำกัด

จากการสืบค้นประวัติศาสตร์เมืองจะนะ เป็นประวัติศาสตร์ของการต่อสู้กับอำนาจรัฐจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคหรือท้องถิ่นที่สืบทอด-สัมปทานอำนาจมากจากส่วนกลางโดยตลอด ตั้งแต่ยุคไพร่ส่วยดีบุก สมัยรัตนโกสินตอนต้นจนถึงมาในยุคคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาลเซียและโรงไฟฟ้าจะนะ

เมืองจะนะต้องส่งส่วยดีบุกให้กับเมืองหลวงและมีการจัดตั้งนายหมวด นายกองเข้าคุมไพร่ส่วยทำดีบุกมากถึง ๙ หมวด นอกจากนั้นจะนะยังมีท้องที่ที่ราบลุ่มใช้เพาะปลูกและมีลำคลอง ๒ สาย คือ คลองสะกอมและคลองนาทับ ชาวไทยมุสลิมทางเมืองมลายูจึงอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำประมงและเพาะปลูก

ตั้งแต่ปลาสมัยอยุธยาจนกระทั่งปีพ.ศ.๒๔๓๙ จะนะมีฐานะเป็นเมืองขนาดเล็กขึ้นกับเมืองพัทลุงในระยะแรกและเมืองสงขลา เมืองจะนะต้องส่งส่วยดีบุก ส่วยกระดาน และเสื่ออาสนะกันแซงเตยให้เมืองหลวง จากการศึกษาประวัติศาสตร์จะนะทำให้เห็นว่าประวัติศาสตร์ของเมืองจะนะและชาวเมืองมีความสัมพันธ์กับกระบวนการต่อสู้เพื่อปกป้องตนเองมาโดยตลอด ทั้งในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือยุค "ยุคกินเมือง"และยุคทุนนิยม-เสรีนิยมหรือ "ยุคเหมาเมือง" และล้วนเป็นการต่อสู้ที่เกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์เรื่องทรัพยากรธรรมชาติที่รัฐสร้างความไม่ชอบธรรมให้กับประชาชน

ความรุ่งเรืองของเมืองจะนะในอดีตแบ่งได้ ๕ ยุค ได้แก่ ยุคดีบุก ยุคไก่ปิ้ง ยุคส้มจุก ยุคนกเขา และยุคอุตสาหกรรม

"จะนะก่อนนี้มีดีหลายอย่าง เขาช่วยสร้างให้เจริญเพลินเห็น

จะนะดีบุกไม่ลำเค็ญ ช่วยให้เป็นเมืองดังที่ตั้งใจ

เหมืองลิวงส่งให้พาไปขาย สร้างรายได้ให้ประเทศวิเศษใหญ่

คนงานเหมืองดีบุกก็ดีใจ ต่างก็มีเงินใช้สบายตัว

ยุคต่อมาไก่ปิ้งเมืองจะนะขึ้นชื่อมากโดยเฉพาะบริเวณสถานีรถไฟจะนะมีการขายกันอย่างคึกคัก จนต้องมีการให้สินบนคนขับรถไฟเพื่อให้รถไฟออกจากสถานีช้าลง พอรถไฟออกจะเห็นฝูงกาฝูงใหญ่บินตามเพื่อกินเศษกระดูกไก่ที่คนบนรถไฟทิ้งลงข้างทาง แต่ไก่ปิ้งจะนะหมดความนิยมเมื่อพ่อค้าแม่ค้าหัวใสใช้เนื้อไก่น้อยเอาแป้งทอดหลอกทำให้หนาเพื่อให้ได้กำไรมากขึ้นหลังจากนั้นไก่ย่างจึงหมดความนิยมลง

ยุครุ่งเรืองอีกยุคหนึ่งคือยุคส้มจุก "ส้มจุกจะนะ"เป็นที่เลื่องลือเรื่องรสชาติ เป็นที่นิยมมีปลูกกันมากในอดีต เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวมีการขนใส่รถไฟเป็นโบกี้เพื่อไปขายยังเมืองกรุง บริเวณสถานีจะคึกคักมากเต็มไปด้วยส้มจุกใส่กระชอมเตรียมขนขึ้นรถไฟ ดังที่คุณตาวิสุทธิ์ได้สื่อสารผ่านกลอนว่า

"ส้มจุกจะนะนี้หนามาดัง ทุกคนหวังได้กินไม่ทนไหว

รสชาติช่างหอมหวานซ่านหัวใจ ส้มเมืองใดไม่เหมือนเฉือนที่นี่

น้ำขาวคูแคแน่เต็มที่ ส้มจุกนี้ปลูกมากท่านว่าศรี

ต่างส่งมาขายหน้าสถานี ตลาดนี้รวมส่งต่อก.ท.ม.

สองตู้รถไฟไปก.ท.ม ทุกวันรอส่งไปไม่ต้องขอ

กิ่งตอนก็ขายดีมีคนรอ ขายไม่พอต้องจองหายข้องใจ"

จากการที่ส้มจุกจะนะได้รับความนิยมมากและมีชื่อเสียงล่ำลือ ทุกภาคต้องการผลผลิตไปขายทางเกษตรอำเภอจึงเข้ามาส่งเสริมและแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งนั่นคือสาเหตุความล่มสลายของส้มจุกเมืองจะนะ เพราะหลังจากนั้นเกิดโรคระบาดส้มจุกล้มตายลงจำนวนมาก หัวใจสำคัญของส้มจุกในอดีตคือการใช้ปุ๋ยคอก มูลสัตว์ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนเท่านั้น

ยุคนกเขาชวา เป็นยุคที่นกเขามีชื่อเสียงและสร้างรายได้มากมายให้กับอำเภอจะนะและมาถึงยุคปัจจุบันคือยุคอุตสาหกรรมจะนะเป็นเมืองเล็กๆแต่มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เช่นโรงแยกก๊าซและโรงไฟฟ้าจะนะ นกเขากำลังจะมีปัญหาอาจล่มสลายของนกเขาของดีเมืองจะนะอีกครั้งหนึ่งหากเกิดมลพิษที่กระทบต่อนกเขา สิ่งที่กังวลต่ออนาคตลูกหลานที่สุดคือกลัวว่าเมืองจะนะจะเป็นดังมาบตาพุด

จากประวัติศาสตร์ของเมืองจะนะจะเห็นว่าอดีตเมืองจะนะมีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรมากมาย แต่ต้องหมดไปเนื่องจากส่วนกลางมาเอาทรัพยากรจากชุมชนและการส่งเสริมที่ผิดที่ผิดทาง

โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซียและ โรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย

โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย

ได้แก่โครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเจดีเอ ซึ่งอยู่กลางทะเลมาขึ้นฝั่งและเข้าโรงแยกก๊าซ ฯ ที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และท่อส่งก๊าซผลิตภัณฑ์จากโรงแยกก๊าซ ฯ วางผ่านพื้นที่ อ.จะนะ อ. นาหม่อม อ.หาดใหญ่ และ อ.สะเดา เข้าสู่ประเทศมาเลเซียบริเวณด่านจังโหลน ต.สำนักขาม จากนั้นต่อไปยัง

รัฐเคดาห์ ในตอนเหนือของมาเลเซีย รวมระยะทางทั้งหมด 375 กิโลเมตร

การวางท่อและโรงแยกก๊าซ เกือบ 99% ตั้งอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด การก่อสร้างโครงการย่อมมีผลกระทบต่อประเทศไทย ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ วิถีชีวิตคนท้องถิ่น รวมทั้งความแตกแยกในสังคมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น

ส่วนมาเลเซียออกค่าใช้จ่าย 50% เช่นกัน แต่ใช้ประโยชน์จากก๊าซอย่างสบายโดยไม่ต้องถูกกระทบหรือสูญเสียสิ่งต่างๆ ดังกล่าวเหมือนที่เกิดกับประเทศไทย คุณประโยชน์ของก๊าซจากแหล่ง JDA ที่มีต่อประเทศไทย และคนไทยอย่างมหาศาล การนำก๊าซดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย
โดยการลงทุนเพียงวางท่อก๊าซในทะเลอ่าวไทยจากแหล่ง JDA ไปเชื่อมกับท่อสายประธานของ ปตท. ซึ่งใช้ระยะทางเพียง 50 ก.ม. และใช้เงินลงทุนเพียง 9,000 ล้านบาทเท่านั้น จากนั้นก็สามารถนำก๊าซดังกล่าวไปแยกได้ทั้งที่โรงแยกก๊าซขนอม จ.นครศรีธรรมราช เพื่อป้อนให้กับคนภาคใต้ทั้งภาค หรือนำไปแยกที่โรงแยกมาบตาพุด จ.ระยอง เพื่อป้อนให้กับคนไทยภาคอื่นๆ ได้ใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วทั้งประเทศ
ส่วนประเทศมาเลเซียหากต้องการใช้ก๊าซจากแหล่ง JDA ก็สามารถวางท่อในทะเลจาก JDA ไปเชื่อมต่อกับระบบท่อก๊าซของ Petronas ในทะเลภาคตะวันออกของประเทศมาเลเซีย ก็สามารถทำก๊าซไปใช้ประโยชน์ได้ทันที เช่นเดียวกับประเทศไทย ต่างคนต่างต่อท่อก๊าซจาก JDA ไปเชื่อมกับท่อระบบของแต่ละประเทศ

 

กรณี โครงการท่อส่งก๊าซ อ.จะนะ จ.สงขลา ได้มีการต่อสู้มาหลายครั้งหลายวาระ ซึ่งผู้มีผลกระทบโดยตรงคือ ชาวบ้านในพื้นที่ และส่วนที่จะมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมจากโครงการอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ที่จะตามมาภายหลังซึ่งน่าจะสาหัสกว่า เพราะจะมีผลกระทบต่อวงกว้างรอบๆพื้นที่โครงการ ดังที่ได้เคยเกิดขึ้นมาเกือบทุกๆนิคมอุตสาหกรรม

วันที่ 26 ส.ค 2550 ตัวแทนกลุ่มคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซียและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อ.จะนะ จ.สงขลา ได้แห่รถเครื่องกระจายเสียงไปยังชุมชนต่าง ๆในพื้นที่อำเภอจะนะตั้งแต่ตำบลสะกอม ตำบลเทพา ตำบลตลิ่งชัน ตำบลบ้านนา และตำบลนาทับ เพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนทั่วไป เข้าร่วมเวที สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ปัญหา “ที่ดินวะกัฟ กับโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ซึ่งกำหนดจัดขึ้นวันที่ 27 ส.ค. 2550 ณ ห้องประชุม ตึกหุ่นยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยคณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 3 และโครงการสำรวจฯ เพื่อสวัสดิการชุมชนในประเทศไทยและมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

สำหรับการจัดเวทีดังกล่าว เพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกันทางหลักการศาสนาอิสลาม ที่เกี่ยวข้องกับ ที่ดินวะกัฟ” ที่ถูกต้อง และสามารถนำมาแก้ไขปัญหาการใช้ประโยชน์ในที่ดินของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ โดยเวทีสัมมนาดังกล่าว จะเป็นการบรรยายและการอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ

นายก๊บ หลำโส๊ะ ตัวแทนชาวบ้าน เปิดเผยว่า “ที่ดินวะกัฟ” หมายถึงที่ดินที่ประชาชนชาวมุสลิมบริจาค หรือ “วะกัฟ” อันเป็นการอุทิศ เพื่อพระผู้เป็นเจ้าเพื่อให้ประชาชนทั่วไป ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันตามหลักการทางศาสนาอิสลาม ซึ่งตามความหมายดังกล่าวนี้ทำให้“เส้นทางวะกัฟ” จึงไม่อาจจะขาย แลกเปลี่ยน หรือ โอนให้แก่กันได้

เมื่อมุสลิมรู้แล้วว่า เป็น“ที่ดินวะกัฟ” ต้องวายิย (รับผิดชอบร่วมกัน) และยิ่งบริษัท ทีทีเอ็มจำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนต่างชาติมาฮุบเอาไปทำโรงแยกก๊าซ เพื่อผลประโยชน์ของนายทุนมิใช่ผลประโยชน์เพื่อศาสนา มุสลิมที่รู้แล้วยิ่งต้องปกป้องให้ถึงที่สุด ที่ผ่านมาการดำเนินโครงการท่อส่งก๊าซ และโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลย์ ได้ละเมิดและทำลายหลักการศาสนาอิสลาม โดยรัฐให้การสนับสนุนร่วมมือ

สถานการณ์ในการพัฒนาของรัฐในการส่งเสริมอุตสาหกรรมปิโตเคมี ที่จะสร้างโรงแยกแก๊ส โรงไฟฟ้าท่าเรือน้ำลึก และวางท่อแก๊สมาวางที่ลานหอยเสียบ อำเภอจะนะ ทำให้ชาวบ้านเห็นภัยพิบัติจะเกิดขึ้นจึงรวมตัวกันคัดค้านโครงการท่อแก๊สไทย-มาเลเซีย ทำให้เกิดการรวมพลังคนในท้องถิ่น อาจารย์จากมหาวิทยาลัยและกลุ่มองค์กรเครือข่ายที่รักธรรมชาติเข้ามาเป็นแรงหนุนคัดค้านการวางท่อก๊าซ เป็นผลสำเร็จ โดยทางบริษัทได้ย้ายจากลานหอยเสียบอีกที่หนึ่ง แต่ก็ไม่สามารถยับยังโครงการของรัฐได้ ทางกลุ่มยังได้จัดกิจกรรมกันอย่างต่อมาตลอดมา

จากการรวมกลุ่มคัดค้านทำให้เกิดการเรียนรู้การสร้างเครือข่ายขยายไปสู่กิจกรรมอื่นๆ เช่นกลุ่มออทรัพย์ สหกรณ์น้ำยาง กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง และกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำจะนะนาทวี

พลังประชาชนไม่สามารถยุติโครงการของรัฐได้จึงทำให้เกิดโรงงานแยกก๊าซขึ้นมาได้มีผลกะทบต่อชุมชนในด้านมลภาวะต่าง เช่น มลพิษทางน้ำ ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำธรรมชาติ ทำให้การทำประมงชายฝั่งเสียหายและสัตว์น้ำหายไป ด้านอาชีพของเกษตรที่ได้รับผลกระทบ คุณ นิคม คล้อยคม ไม่สามารถเลี้ยงไก่ได้ เพราะว่าได้รับผลกระทบเรื่องเสียงรบกวน และอากาศเป็นพิษ และอาชีพเลี้ยงนกเขาของชาวบ้านที่ทำรายได้สูงมีผลกระทบไปด้วยการถมดินเพื่อสร้างโรงแยกก๊าซทำให้การกีดขวางทางน้ำเกิดน้ำท่วมพื้นที่การเกษตร

กรณีโรงแยกก๊าซไทย – มาเลเซีย มีการตรวจวัดมลพิษทางอากาศหลายตัว ไม่ว่าจะเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NO2) ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) หรือ ก๊าซไข่เน่า ปรอท ก๊าซไฮโดรคาร์บอน
ฝุ่นละอองที่ออกจากปล่อง

นี่เป็นการตรวจวัดตามที่กำหนดไว้ในรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ

โจทย์ใหญ่ คือ ระดับไม่เกินค่ามาตรฐานเป็นทัศนะทางวิศวกรรม หมายความว่า เป็นค่าเฉลี่ยที่คิดว่า ถ้าปล่อยในระดับไม่เกินค่ามาตรฐานแล้ว คนส่วนใหญ่จะไม่ได้รับผลกระทบนั่นไม่ได้แปลว่า คนทุกคนจะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะในสังคมมีทั้งคนอ่อนแอและคนแข็งแรง เช่น คนป่วย เด็ก คนแก่ คนกลุ่มนี้ได้รับสารพิษ หรือมลพิษในระดับไม่เกินค่ามาตรฐาน ก็อาจป่วยได้ อันนี้เป็นความหมายในทางการแพทย์ค่ามาตรฐาน จึงเป็นคำที่ไม่อาจวางใจได้

สิ่งที่เป็นห่วง คือ กรณีได้รับสารพิษทีละน้อยเป็นเวลานาน ในปริมาณไม่เกินมาตรฐานนี่แหละ แต่ได้รับนาน 10 ปี 20 ปี ตรงนี้ยังไม่มีงานวิจัยยืนยันได้ว่า เขาจะเป็นอะไรหรือเปล่า แต่เชื่อว่ามีผลกระทบแน่

“อย่างโรคมะเร็งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยองเพิ่มขึ้น 4 เท่า 5 เท่า เราไม่รู้หรอกว่ามาจากสารอะไร แต่รู้ว่าเกิดจากปรากฏการณ์ไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่เป็นเพราะสูดดมนานๆ ได้รับสารนานๆ ทำให้เป็นมะเร็ง อันนี้เป็นคอนเซ็ปต์ที่ทำความเข้าใจว่า แม้ไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่ถ้าได้รับนานๆ ก็น่าเป็นห่วง”

ในกรณีกลิ่นเหม็น คำถามคือ กลิ่นนี้เป็นสารอะไร โรงแยกรู้หรือไม่ พยายามเข้าไปหาแล้วหรือยัง โจทย์ใหญ่ คือ สารอะไร เพียงแค่เหม็น หรือเป็นสารก่อมะเร็งด้วย

นี่คือ สิ่งที่ชุมชนรอบโรงแยกก๊าซกังวล ถ้าได้กลิ่นเป็นครั้งคราวตามทิศทางลมต่อเนื่องยาวนาน ลูกเขาจะเป็นอะไรไหม ตัวเขาจะเป็นอะไรไหม อันนี้ยังไม่มีคำตอบ

สารที่วัดค่ากันอยู่ตอนนี้ เป็นสารพื้นฐานที่ก่อมลพิษทางอากาศ ส่วนการตรวจวัดสารก่อมะเร็งจะยากกว่า

ตัวพื้นฐาน เช่น สารโพลีไซคลิกอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน หรือ PAHs ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ไฮโดรคาร์บอน สารนี้ก่อมะเร็งแน่นอน มีการตรวจวัดหรือไม่

สาร PAHs ส่วนใหญ่เกิดในกรณีเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ จะเกิดสารก่อมะเร็ง เกิดสารพิษ เกิดก๊าซพิษ

โจทย์ คือ กลิ่นเกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของโรงแยกก๊าซหรือไม่ ตรงนี้รู้ได้จากปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ หรือปริมาณคาร์บอนมอน๊อกไซด์ ที่ปล่อยออกมาในบรรยากาศ ซึ่งอาจเกินปริมาณที่ควรจะเป็น มันเป็นตัวสะท้อนการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ อันนี้เราพอจะรู้ได้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ อาจเกิดสารก่อมะเร็งที่ไม่มีกลิ่นขึ้นมาด้วย เช่น สารไดออกซิน

ที่น่ากลัว คือ มีสารอื่นที่ไม่มีกลิ่นและเป็นสารพิษ ที่มีโอกาสก่อมะเร็ง หรือส่งผลเสียต่อสุขภาพหลุดออกมาด้วยไหม การตรวจวัดสารเหล่านี้ ต้องทำจริงจัง มีมาตรฐานทางวิชาการในการตรวจวัด

ที่น่าสนใจ คือ โรงแยกก๊าซตรวจวัดปีละ 4 ครั้ง ต่างจากโรงไฟฟ้าจะนะที่มีการตรวจสารมลพิษทุกวันที่ปากปล่อง ตรวจวัดสาร 5 ตัว คือ คาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนออกไซด์ ฝุ่น และไนโตรเจนออกไซด์ ถ้าค่าเกินมาตรฐานจะมีเสียงเตือน และลดการเดินเครื่อง ลดระดับการปล่อยมลพิษลง

ถ้าโรงแยกก๊าซ ตรวจ 3 เดือนครั้ง เท่ากับเป็นการตรวจแบบสุ่ม ถึงแม้ช่วงที่ตรวจจะต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ก็ไม่ได้หมายความว่า ช่วงอื่นที่ไม่ได้ตรวจจะต่ำกว่าค่ามาตรฐานตามไปด้วย

จากผลกระทบกลุ่มเครือข่ายที่ร่วมต่อต้านโรงแยกก๊าชได้มาร่วมคิดกันแก้ปัญหา กลุ่มได้มองเห็นผลกระทบของสุขภาพในชุมชนที่มีโรงแยกก๊าช เช่นมีผู้เจ็บป่วยในโรคภูมิแพ้ และหลายๆโรค จากปัญหาผลกระทบนี้ แกนนำของเครือข่าย เห็นปัญหา ช่วยกันคิดมองหาสาเหตุ และแก้ปัญหา ส่วนหนึ่งมาจากการบริโภคอาการที่ไม่ปลอดภัย วิถีดั้งเดิมของชุมชนถูกกระทบ จึงหันมาคิดปรับแนวทางใส่ใจสุขภาพ มองหาอดีต ที่พ่อเฒ่า แม่เฒ่า เคยอยู่มา เป็นวิถีพึ่งพาตนเอง เพื่ออยู่ เพื่อกิน เพื่อแบ่งปัน ทางกลุ่มช่วยกันคิด ช่วยทำ ช่วยกันใช้ เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่ทดเอง วันนี้จึงเกิดกลุ่มดูแลสุขในชุมชน” เครื่อข่ายธรรมชาติบำบัด” คุณกิตติภพ สุขสว่างแกนนำคนสัญที่ร่วมกันคัดค้านโครงปิโตเคมีมาแต่ต้น เกิดลมป่วย ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหลายปี ในที่สุดค้นพบแนวทาง”ธรรมชาติบำบัด” เล่าให้ฟังว่า”

“อโรคา ปรมา ลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” เชื่อว่าเป็น
สัจจธรรมที่มนุษย์เราทุกคนอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง คงมีคนเพียงส่วน
น้อยนิดที่จะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงปราศจากโรคภัย ไข้เจ็บมาเบียดเบียน
โดยเฉพาะสังคมปัจจุบันที่ร่ายล้อมด้วยปัจจัยเสี่ยงต่อการก่อเกิดโรคภัยทั้งสิ้น
ไม่ว่าสภาพแวดล้อม อากาศ อาหาร และอารมณ์

ช่วงระยะเวลาห้าหกปีที่ผ่านมา ข้าพเจ้ามีโอกาสได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขาพ
และบำบัดโรคภัยไข้เจ็บอีกแนวทางหนึ่งที่ไม่ใช่การพาร่างกายที่เจ็บป่วยเดินเข้า
ไปในโรงพยาบาลตรวจโรคโดยเครื่องมือสมัยใหม่แล้วได้รับยาเม็ดบรรจุซอง
กลับมากินที่บ้าน หรือการรักษาด้วยการใช้ยาสมุนไพรเหมือนที่เรารู้จักกันดี แต่
“ธรรมชาติบำบัด”ใช้หลักการกิน ที่สำคัญสิ่งที่กินคือผลไม้ ผัก และน้ำมะพร้าว
เป็นหลัก คนไข้คนป่วยจะหายได้อย่างไร ฉันจะค่อยๆเล่าถึงความมหัศจรรย์
ของแนวทางนี้ทีละนิดๆ ข้าพเจ้าต้องขอออกตัวตั้งแต่ต้นก่อนว่าฉันไม่ได้รังเกลียดหรือปฏิเสธการรักษา
ในโรงพยาบาลกับการแพทย์สมัยใหม่ เพราะการแพทย์สมัยใหม่ยังมีความจำเป็น
ต่อผู้เจ็บป่วยโดยเฉพาะการเจ็บป่วยยามเกิดอุบัติฉุกเฉิน หรือได้รับบาดเจ็บเป็น
แผลฉกรรจ์ แต่สำหรับโรคบางชนิดในเวลานี้การแพทย์สมัยใหม่อาจไม่ใช่คำตอบ
ในการรักษาให้หายได้ โดยเฉพาะโรคมะเร็งที่ถึงแม้จะรักษาด้วยยาเคมีและเทคโนโลยี
ก้าวหน้าหลายรายไม่สามารถขาดหายได้ บางรายลุกลามไปยังส่วนต่างในร่างกาย
และไม่น้อยที่ต้องได้รับความทุกข์ทรมานกับขั้นตอนการรักษา ไม่ว่าการฉายรังสี
การคีโมบำบัด หรือแม้แต่โรคเรื้อรัง เช่น ความดัน เบาหวาน และหัวใจที่การแพทย์
ในโรงพยาบาลสามารถรักษาด้วยการทานยาควบคุม และผู้ป่วยไม่น้อยที่การแพทย์
สมัยใหม่ปฏิเสธการรักษา เวลานี้จึงมีผู้ป่วยจำนวนมากที่พยายามค้นหา ศึกษา
แนวทางเลือกอื่นๆเพื่อยืดชีวิตของตนเองออกไปหรือแนวทางรักษาที่เป็นมิตรกับ
ร่างกายเราเองมากขึ้น

ข้าพเจ้าได้ไปเรียนรู้แนวทาง “ธรรมชาติบำบัด”ไกลถึงเขาชะเมา จ.ระยอง เป็นช่วง
ที่มีการจัดค่ายการอบรมและปฏิบัติการการดูแลสุขภาพด้วนแนวทางธรรมชาติบำบัด
ข้าพเจ้าร่วมเดินทางกับพี่ที่ทำงานเพื่อสังคมอีกสอง คนหนึ่งกำลังเจอปัญหาสุขภาพ
ครั้งสำคัญของชีวิตเมื่อพบว่ามีมะเร็งก้อนน้อยๆอยู่บริเวณเต้านม อีกคนหนึ่งไม่มีปัญหา
สุขภาพแต่สนใจเรียนรู้ ส่วนข้าพเจ้าเองมีโรคประจำตัว คือไทรอยด์เป็นพิษ

ข้าพเจ้าและผู้เข้าอบรมได้พบกับชายรูปร่างผอม โปร่งสูงสวมชุดขาวแบบอินเดีย มี
หนาวดำเข้มรู้ภายหลังว่าเขาคือคุณหมอเจค็อบ วาทักกันเชรี ผู้ซึ่งจะทำหน้าที่ถ่ายทอด
แนวทางธรรมชาติบำบัดตลอดสัปดาห์ของค่ายธรรมชาติบำบัด คุณหมอเจค็อบ
อยู่รัฐเคราล่า ทางตอนใต้ของอินเดีย มีประสบการณ์ในการบำบัดผู้ป่วยตามหลัก
ธรรมชาติบำบัดยาวนานถึง ๒๐ ปี

หลังผ่านการอบรมประมาณเที่ยงวันของการอบรมวันที่สองผู้ป่วยมีโอกาสพบหมอ เพื่อ
คุยเรื่องโรค ทุกคนพยายามบอกเล่าอาการ ความทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยที่เจออยู่
เพราะหวังว่าหมอจะช่วยเหลือให้ยาวิเศษแก่เราบ้าง น่าจะมีดีอยู่บ้างไม่เช่นนั้นคน
จัดอบรมคงไม่เชิญมาไกลถึงอินเดีย ผลปรากฏว่าผู้ป่วยทั้งหลายแทบจะหงายหลังดังตึ้ง
เพราะยาที่คุณหมอสั่งคือการให้กินผลไม้แทนยา บางคนหมอสั่งให้กินผลไม้สามมื้อนาน
ถึงหกเดือน บางคนสามเดือน บางคนหนึ่งอาทิตย์

ข้าพเจ้าต้องขอออกตัวตั้งแต่ต้นก่อนว่าฉันไม่ได้รังเกลียดหรือปฏิเสธการรักษา
ในโรงพยาบาลกับการแพทย์สมัยใหม่ เพราะการแพทย์สมัยใหม่ยังมีความจำเป็น
ต่อผู้เจ็บป่วยโดยเฉพาะการเจ็บป่วยยามเกิดอุบัติฉุกเฉิน หรือได้รับบาดเจ็บเป็น
แผลฉกรรจ์ แต่สำหรับโรคบางชนิดในเวลานี้การแพทย์สมัยใหม่อาจไม่ใช่คำตอบ
ในการรักษาให้หายได้ โดยเฉพาะโรคมะเร็งที่ถึงแม้จะรักษาด้วยยาเคมีและเทคโนโลยี
ก้าวหน้าหลายรายไม่สามารถขาดหายได้ บางรายลุกลามไปยังส่วนต่างในร่างกาย
และไม่น้อยที่ต้องได้รับความทุกข์ทรมานกับขั้นตอนการรักษา ไม่ว่าการฉายรังสี
การคีโมบำบัด หรือแม้แต่โรคเรื้อรัง เช่น ความดัน เบาหวาน และหัวใจที่การแพทย์
ในโรงพยาบาลสามารถรักษาด้วยการทานยาควบคุม และผู้ป่วยไม่น้อยที่การแพทย์
สมัยใหม่ปฏิเสธการรักษา เวลานี้จึงมีผู้ป่วยจำนวนมากที่พยายามค้นหา ศึกษา
แนวทางเลือกอื่นๆเพื่อยืดชีวิตของตนเองออกไปหรือแนวทางรักษาที่เป็นมิตรกับ
ร่างกายเราเองมากขึ้น

ข้าพเจ้าได้ไปเรียนรู้แนวทาง “ธรรมชาติบำบัด”ไกลถึงเขาชะเมา จ.ระยอง เป็นช่วง
ที่มีการจัดค่ายการอบรมและปฏิบัติการการดูแลสุขภาพด้วนแนวทางธรรมชาติบำบัด
ข้าพเจ้าร่วมเดินทางกับพี่ที่ทำงานเพื่อสังคมอีกสอง คนหนึ่งกำลังเจอปัญหาสุขภาพ
ครั้งสำคัญของชีวิตเมื่อพบว่ามีมะเร็งก้อนน้อยๆอยู่บริเวณเต้านม อีกคนหนึ่งไม่มีปัญหา
สุขภาพแต่สนใจเรียนรู้ ส่วนข้าพเจ้าเองมีโรคประจำตัว คือไทรอยด์เป็นพิษ

ข้าพเจ้าและผู้เข้าอบรมได้พบกับชายรูปร่างผอม โปร่งสูงสวมชุดขาวแบบอินเดีย มี
หนาวดำเข้มรู้ภายหลังว่าเขาคือคุณหมอเจค็อบ วาทักกันเชรี ผู้ซึ่งจะทำหน้าที่ถ่ายทอด
แนวทางธรรมชาติบำบัดตลอดสัปดาห์ของค่ายธรรมชาติบำบัด คุณหมอเจค็อบ
อยู่รัฐเคราล่า ทางตอนใต้ของอินเดีย มีประสบการณ์ในการบำบัดผู้ป่วยตามหลัก
ธรรมชาติบำบัดยาวนานถึง ๒๐ ปี

หลังผ่านการอบรมประมาณเที่ยงวันของการอบรมวันที่สองผู้ป่วยมีโอกาสพบหมอ เพื่อ
คุยเรื่องโรค ทุกคนพยายามบอกเล่าอาการ ความทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยที่เจออยู่
เพราะหวังว่าหมอจะช่วยเหลือให้ยาวิเศษแก่เราบ้าง น่าจะมีดีอยู่บ้างไม่เช่นนั้นคน
จัดอบรมคงไม่เชิญมาไกลถึงอินเดีย ผลปรากฏว่าผู้ป่วยทั้งหลายแทบจะหงายหลังดังตึ้ง
เพราะยาที่คุณหมอสั่งคือการให้กินผลไม้แทนยา บางคนหมอสั่งให้กินผลไม้สามมื้อนาน
ถึงหกเดือน บางคนสามเดือน บางคนหนึ่งอาทิตย์แล้วแต่อาการ

จากกลุ่มธรรมชาติบำบัดวันนี้ทางกลุ่มฯได้ดำเนินการไปการเรียนรู้สร้างเยาวชนในการร่วมกันอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติลงลึกไปที่เยาวชนเพื่อสืบทอดคนรุ่นใหม่ ในกลุ่ม” ศิลปะสร้างสุข” สอนรู้ถึงสิทธิชุมชนตารรัฐธรรมนูญ ปี2550 ตามมาตรา 67 ที่บัญญัติไว้ ว่า

สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครองส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตนย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม
การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชนและจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อนรวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพและผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว
สิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคลเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัตินี้ ย่อมได้รับความคุ้มครอง

มีการจัดค่ายเยาวชนอย่างต่อเนื่องให้เยาวชนเรียนรู้ดังค่าย”โหมเรารักจะนะตามหาชายหาดที่หายไปดังที่ได้สรุปให้เห็นภาพดังบทกลอนของชาวค่ายว่า”ณ วันนี้ชาวบ้านสวนกงส่วนหนึ่งหวั่นวิตกกับกระแสข่าวที่ว่าท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลาแห่งใหม่จะเกิดขึ้นที่นี่ ซึ่งหมายถึงชายหาดอาจต้องถูกทำลายไปเช่นที่ตำบลสะกอม นั่นหมายถึงวิถีการทำมาหากินของชาวประมงจะกระทบไปด้วย

ยามค่ำคืนนั้นน้องๆได้นั่งล้อมวงรอบกองไฟและบอกเล่าสิ่งที่ได้เรียนรู้โดยสื่อสารผ่านการเล่าเรื่อง บทกลอน บทเพลงและศิลปะภาพวาดที่ถ่ายทอดจากหัวใจของเด็กๆ

บ้านสวนกงปลูกไม้ไว้ทดแทน ผู้ใหญ่ท่านหวงแหนเป็นหนักหนา
ให้ลูกหลานได้ใช้ประโยชน์นานา คนในถิ่นศึกษาน่าจดจำ
ทั้งต้นย่างยางนำมาอุดเรือได้ มะพร้าวกล้วยลำเพ็งไว้เก็บเกี่ยวผล
ต้นวาหรือมังคุดป่าช่างน่ายล ทิ้งให้ชนรุ่นหลังได้ดูแล
ส่วนต้นเค็ดเมล็ดใช้ซักผ้า ผลนั่นหนาย้อมศีรษะงามเกศี
นำลำต้นทำรั้วหนามหลายบ้านมี หนามเค็ดนี้ถ้าโดนตำปวดถึงใจ
กระถินไซร้ได้พันธุ์มาจากฉลุง เราบำรุงกินกล้วยป่าน่าพิสมัย
เม็ดมะม่วงหิมพานต์ทานกันไว ทั้งพวกไก่พฤกษามาพึ่งพิง
ทั้งโท๊ะเหมรอออกผลชนได้กิน เป็นทรัพย์สินธรรมชาติมาตรฐาน
ใครมาซื้อไม่ขายได้ประโยชน์นาน รักษาไว้ให้ลูกหลานได้ชม
แต่วันนี้ท่าเรือใหญ่จะมาตั้ง เยาวชนช่วยรั้งโครงการนี้
ต่อไปคงมีแล้วเขียวขจี ทุกพื้นที่สวนนานาเขาเข้าครอง
ในค่ายนี้โหมเรารักษ์จะนะ พวกเราจะเชิญชวนเพื่อนทั้งผอง
ผนึกแรงกำลังของพี่น้อง ร่วมปกป้องความสมบูรณ์ของบ้านเรา
และสื่อสารผ่านบทเพลงรักบ้านเกิด

วันนี้ชุมชนหันมาพึ่งตนเองมากขึ้น จัดตั้งออมทรัพย์ กลุ่มน้ำยาง ลดการเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง รวมกันเรียนรู้องค์การเงินของชุมชน อย่างชัดเจน มีโครงสร้างการจัดการ เกิดกลไกในการขับเคลื่อนงาน ตามบทบาทหน้าที่ โดยธรรมชาติ ผลของการทำงานอย่างต่อเนื่องและจริงจัง วันนี้กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับการต่อต้านท่อก๊าซในอดีต เข้าใจในพิษภัยของโรงงานแยกก๊าซ เพราะเกิดผลกระทบไปทั่ว พวกเขาหันมาให้ความร่วมมือมาสนับสนุนกิจกรรม มาร่วมกิจกรรม มาเป็นคณะทำงานในหลายองค์กร

ปัจจัยที่ทำให้ทำให้เกิดความสำเร็จระดับหนึ่งมาจาก การทำข้อมูล ให้ความรู้ ให้ข้อมูลที่เป็นจริง และผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง และมีอาจารย์ผู้รู้ ผู้ที่เห็นภัยที่จะเกิดขึ้นมาช่วยกันชี้แจงสร้างความเข้า ให้ข้อมูล ให้เหตุผลมาอย่างต่อเนื่อง

จากผลกระทบกลุ่มเครือข่ายที่ร่วมต่อต้านโรงแยกก๊าชได้มาร่วมคิดกันแก้ปัญหาจากผลกระทบที่เกิดขึ้นและได้มีการคิดร่วมกันเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรน้ำระหว่างพื้นที่โดยใช้กลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำจะนะนาทวีโดยจัดการเป็นระบบต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ มีการจัดองค์กรเครือข่ายเฝ้าระวังการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ต้นน้ำประสานความร่วมมือกับทหารพรานและเครือข่ายวิทยุชุมชน อีกกระบวนหนึ่งของ กลุ่มได้มองเห็นผลกระทบของสุขภาพในชุมชนที่มีโรงแยกก๊าช เช่นมีผู้เจ็บป่วยในโรคภูมิแพ้ และหลายๆโรค จากปัญหาผลกระทบนี้ แกนนำของเครือข่าย เห็นปัญหา ช่วยกันคิดมองหาสาเหตุ และแก้ปัญหา ส่วนหนึ่งมาจากการบริโภคอาการที่ไม่ปลอดภัย วิถีดั้งเดิมของชุมชนถูกกระทบ จึงหันมาคิดปรับแนวทางใส่ใจสุขภาพ มองหาอดีต ที่พ่อเฒ่า แม่เฒ่า เคยอยู่มา เป็นวิถีพึ่งพาตนเอง เพื่ออยู่ เพื่อกิน เพื่อแบ่งปัน ทางกลุ่มช่วยกันคิด ช่วยทำ ช่วยกันใช้ เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่ทดเอง วันนี้จึงเกิดกลุ่มดูแลสุขในชุมชน” เครือข่ายธรรมชาติบำบัด”ผลจากในการดำเนินการทำให้ชาวบ้านได้มีความสนใจและเกิดความศัทธามาก ขึ้นของผลกระทบจากโรงแยกก๊าซโดยแท้จริง

ถึงแม้โรงแยกก๊าชจะเกิดขึ้นแต่ไม่ใช้ความพ่ายแพ้ของชุมชนแต่ทำให้ชุมชนได้เข็มแข็งและมีแนวคิดใหม่ในการต่อสู้ เพื่อรักษามรดกทางทรัพยากรธรรมชาติให้คนรุ่น ได้ตั้งศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อชุมชน โดยมี คุณกิติภพ สุทธิสว่าง เป็นผู้ประสานงานเกิดกิจกรรมค่ายโหมเรารักษ์จะนะ

นายกิตติภพ สุทธิสว่าง ผู้ประสานเครือข่ายผลกระทบนโยบายสาธารณะ ในโครงการดับบ้านดับเมืองเรียนรู้อยู่ดีที่ปากใต้ เล่าว่าสืบเนื่องจากการศูนย์การเรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน ตำบลบ้านนา ได้จัดและสร้างกระบวนการเรียนรู้ศิลปะสร้างสุขให้กับเยาวชนในชุมชนทุกวันอาทิตย์ และได้มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อวิถีชีวิตชุมชน ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยทำการฝากเงินและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างสมาชิกในทุกวันเสาร์แรกของเดือน จากการแลกเปลี่ยนของสมาชิกทำให้เห็นว่าสภาพชุมชนและสังคมในปัจจุบันเป็นลักษณะต่างคนต่างอยู่ ขาดการพึ่งพาอาศัยและดูแลซึ่งกันและกันเหมือนเช่นชุมชนในอดีต และเยาวชนในชุมชนหันเหไปพึ่งพิงเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้นเรื่อยๆได้แก่ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์

ดังนั้นจึงมีความเห็นว่าทางศูนย์น่าจะมีการจัดกิจกรรมให้กับเยาวชนในชุมชน ในช่วงระหว่างที่โรงเรียนปิดภาคเรียน เพื่อสร้างกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ทางเลือกให้กับเยาวชน และน่าสร้างกิจกรรมให้เยาวชนได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น ได้เรียนรู้การพึ่งตนเองและการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนมากกว่าการพึ่งพา ที่สำคัญควรจัดกระบวนการเรียนรู้ความเป็นมาประวัติศาสตร์ของเมืองจะนะ ซึ่งเป็นท้องถิ่นที่อยู่อาศัย เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้รากฐานของชุมชนและสร้างความภาคภูมิใจในชุมชนท้องถิ่น

ข้อเสนอแนะจากคณะนักศึกษา วปช.2 การที่ชุมชนมีประวัติการต่อสู้อย่างยาวนาน เกิดองค์ความรู้ ทำให้หลายๆพื้นต้องเข้ามาศึกษาเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องอาจทำให้เป็นอุปสรรคไม่มีเวลาในการสานสร้างงาน กิจกรรมที่ใหม่ๆขึ้นมา

ที่ปรึกษา

รายชื่อสมาชิก กลุ่มที่ 1

1 นาย สัญญา ปานสวี ประธานกลุ่ม (นายกสมาคมชาวสวนปาล์ม)

2 นาย วันชัย เจียรวรรณ (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.นครศรีธรรมราช)

3 นายโกสินทร์ จันทร์เภา (องค์กรปกครองส่วนท้องที่ จ.นครศรีธรรมราช)

4 นายนเรศ หอมหวล (สภาองค์ชุมชน จ.พัทลุง)

5 นางสะลามา ตาเห (เครือข่ายสตรี จ.ปัตตานี)

6 นายซัมรี ซูนดิง (สภาองค์กรชุมชน จ.นราธิวาส)

7 นายดอรอเฮง ยัมแย (เครือข่ายผู้พิการ จ.ปัตตานี)

8 นางดาเนตร มณีรัตน์ (เครือข่ายสตรี จ.สงขลา)

9 อาจารย์ มณเทียร ธรรมวัฒน์ (วิทยากรพี่เลี้ยง)

ถอดบทเรียนการต่อสู้ของชุมชน/เครือข่าย

กรณีคัดค้านโครงการท่อส่งแก๊สไทย-มาเลย์ในพื้นที่อำเภอจะนะ

นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันชุมชนรุ่นที่2 กลุ่มที่1

ขอบคุณผศ.นพ.เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มติชนรายวัน หน้า6 วันที่ 08 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ปีที่ 26 ฉบับที่ 9251 นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ :
วินิจฉัยมลพิษโรงแยกก๊าซ

นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ :
วินิจฉัยมลพิษโรงแยกก๊าซ

อาจารย์ จรูญ หยูทอง คุณ ตาวิสุทธิ์ สุทธิ์สว่าง ค่ายโหมเรารักจะนะ ตามรอยประวัติศาสตรเมืองจะนะครั้งที่1 ขอบ:

คุณค่ายโหมเรารักจะจะครั้งที่ 2 ตามหาชายหาดที่หายไป

หมายเลขบันทึก: 578185เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2014 08:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม 2014 01:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ท่านผู้เฒ่า บันทึก ได้ละเอียดสุดสุด ครับ

ละเอียดลออ ชัดเจนดีจ้ะ   24  ต.ค.  พบกันจ้าา


สุดยอดเลยค่ะ พี่บัง ต้องขอแปะโป้งไว้มาอ่านต่อละเอียดคราวหน้า เรื่องราวน่าชื่นใจจริงๆ

เยี่ยมไปเลยพี่บังเหอ

เรียนท่านอาจารย์ jj ตอนนี้ เดินหน้าปฎิรูปประเทศไทย 

ภาคชาวบ้านตื่นตัวสูง ทั้งเรื่องพลังงาน เรื่องที่ดิน

โดยเฉพาะแผนพัฒนาภาคใต้ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพชุมชน

คนชาวบ้านตั้งวงย่อยคุยกัน ท่ามกลางสถานการที่ "คุณสมชาย" (คสช) กุมอำนาจ

ขอบคุณอาจารย์ โอ๋ 

เราคนตัวเล็กแก้ปัญหาระดับชาติไม่ได้ สุดท้ายก็ โดนผลกระทบทางด้านสุขภาพ จากการลงทุนขนาดใหญ่ 

สุดท้ายก็ต้องหาทางออกเองทางด้านสุขภาพ

ใช้ศิลปสร้างสุขสุขบำบัด

ใช้การปรับเปลี่ยนเป็นการบริโภค

คุณ แทน กิตติภพ ให้ข้อคิดที่น่าติดตามนำไปปฎิบัติ

-สวัสดีครับ

-ตามมาเยี่ยมและให้กำลังใจ

-ถอดบทเรียนบทนี้..ละเอียดดีจริงๆ ครับ

-นี่แหละหนอ..นักเรียนรู้..ตลอดชีวิต

-ขอบคุณครับ

สวัสดีน้องครูกาย หายไปนาน

เหตุการณ์ ทางชายแดนเป็นอย่างไรบ้าง

ปีนี้ หมดภาระกิจงานหลวงแล้ว

ขอบคุณครับ คุณเพชร

ภาคใต้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ รุกพื้นที่ความมั่นคงทางด้านอหาร

พื้นที่เกษตร เปลี่ยนเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม

คนทำงานเกษตร คิดหนักในการรับมือ กับภาครัฐ

บังเขียนได้ละเอียดมากเลยครับ

ได้เรียนรู้ไปด้วย

ขอบคุณมากๆครับ

ชุมชนเข้มแข็งลุกมาปกป้องถิ่นตัวเองแค่นี้ก็เป็นนิมิตรหมายที่ดีนะคะ

บางเรื่องทำสำเร็จ บางเรื่องไม่สำเร็จ แต่อย่างน้อยๆ เราก็ขอให้กำลังใจชุมชนเหล่านั้นค่ะ

สวัสดีอาจารย์หนุ่ย หายไปจากบ้านโกว์นานแล้วคิดถึงครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท