ทำความรู้จัก Capture the Fracture


เนื้อหาข้างล่างนี้เป็นบทสัมภาษณ์ เพื่อลงจุลสารชมรมรักษ์กระดูก ฉบับปี 2557 นี้

   ในฉบับนี้เราจะนำทุกท่านเข้ามาทำความรู้จักกับคำว่า“ Capture the fracture”ซึ่งเป็น Campaign ใหม่ที่ทาง International osteoporosis Foundation ได้รณรงค์กันทั่วโลกในขณะนี้ว่าคืออะไรมีความสำคัญอย่างไรผ่านบทสัมภาษณ์อ.พญ. สุขจันทร์พงษ์ประไพ   หัวหน้าฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟูโรงพยาบาลวิชัยยุทธ   และประธานชมรมรักษ์กระดูกมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทยฯ

     1.อยากทราบที่มาของคำว่า Capture the fracture ว่าคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

Capture the fracture เป็นโครงการที่ทาง International osteoporosis Foundation ( IOF ) กำหนดขึ้น เพื่อรณรงค์ป้องกันกระดูกหักซ้ำ ในผู้ป่วยกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน ไปทั่วโลก เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคกระดูกพรุนโดยตัวของมันเองไม่มีอาการ จนกระทั่งเมื่อเกิดกระดูกหักขึ้นครั้งแรกแล้ว นั่นแหละถึงเป็นสํญญาณเตือนให้ระวังว่า ผู้ป่วยรายนั้นจะเกิดกระดูกหักซ้ำได้อีกภายในหนึ่งปี โดยเฉพาะกระดูกสะโพกหัก จะพบได้ถึงร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่กระดูกหักครั้งแรก ซึ่งกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุทำให้มีอัตราตายและความพิการตามมาได้สูง

    2. มีวิธีการป้องกันกระดูกหักซ้ำได้อย่างไร

มีงานวิจัยเป็นที่ยอมรับมากขึ้นว่าวิธีการที่จะช่วยลดการเกิดกระดูกหักซ้ำในผู้ป่วยกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน ผ่านขบวนการที่เรียกว่า Fracture Liaison Service ( FLS ) หมายถึงการดูแลผู้ป่วยร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ โดยผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลแบบเข้มข้น ในสี่มิติคือ

2.1 ได้รับการรักษาโรคกระดูกพรุน
2.2 ได้ผ่านขบวบการป้องกันการหกล้ม
2.3 ได้รับการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับโรคกระดูกพรุน
2.4 ได้รับความรู้เรื่องอาหารและปัจจัยเสี่ยง ของโรคกระดูกพรุน

   3. ความแตกต่างระหว่างการป้องกันกระดูกหักในผู้ที่ยังไม่มีภาวะกระดูกหักมาก่อนกับผู้ที่เคยมีประวัติกระดูกหักมาแล้วเหมือนหรือ      แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

มีแนวทางในการดูแลทั้งเหมือนและแตกต่างกัน ผู้ป่วยที่มีกระดูกหักมาแล้ว จะต้องได้รับการรักษาและฟื้นฟู

กระดูกหัก ขึ้นกับตำแหน่งที่หักร่วมกันไปด้วย ตามด้วยขบวนการป้องกันกระดูกหักซ้ำที่เรียกว่า FLS ดังข้อ2

สำหรับผู้ที่ยังไม่มีกระดูกหักมาก่อน เมื่อมีข้อบ่งชี้และปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน ควรรับการตรวจความหนาแน่นของกระดูก เพื่อจำแนกให้ได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่ ถ้าได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น ควรได้รับการรักษาโรคกระดูกพรุนควบคู่ไปกับการป้องกัน

   4.ทางมูลนิธิฯมีแนวทางการผลักดันในเรื่องของ capture the fracture อย่างไรและกิจกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่มีอะไรบ้าง

แนวทางการผลักดันในเรื่องของ capture the fractureของมูลนิธิฯ ในระยะ 4 ปี ( 2557-2560 ) ประกอบด้วย

4.1 ให้ความรู้กับบุคลากรด้านสาธารณสุข ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องปีละ 2-4 ครั้ง

4.2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ และวางแผน สร้างโมเดล FLS ในประเทศไทย ปีละ 2 แห่ง

4.3 หา best practice framework เมื่อสิ้นสุดปีที่ 4

หมายเลขบันทึก: 577047เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2014 20:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2014 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท