"วัฒนธรรมการแชร์" เป็นอะไรมากกว่าที่คิด? ... (ชีวิต ๑๔๔๐ : ผมอยู่ข้างหลังคุณ)


ถาม ...

โลกนี้มันอยู่ยากขึ้นทุกวันนะครับ เดี๋ยวนี้ใครทำอะไรนิดหน่อยก็ถ่ายคลิปลงยูทูบกันแล้ว แล้วก็แชร์กันไป
โดยยังไม่รู้เลยว่าเรื่องจริงเป็นยังไงด้วยซ้ำ คลิปไหนจริง คลิปไหนปลอมขึ้นมา
แบบนี้มันจะใช้ได้เหรอครับ... หรือก็ไม่เป็นไร ขอให้เพื่อนร่วมโลกของเราได้รู้สึกดี ๆ ไว้ก่อน

มิสเตอร์แชร์

...

...

...

.........................................................................................................................................................................................................

ตอบ ...

...

(๑)

...

เวลามีคลิปหรือเรืื่องเล่าซาบซึ้งหมื่นไลค์ ทำนองว่า ลูกชายปีนเขาเหลียงซาน ว่ายน้ำข้ามทะเลจีนใต้
เดินเท้าหมื่นลี้เพื่อตามหาพ่อ ก่อนจะไปพบกันที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วลูกชายน้ำตาไหลพราก ก้มกราบเท้าพ่อ ฯลฯ
ถูกส่งต่อในอินเทอร์เน็ต

หากเรามีหลักฐานชัดเจนว่า ไม่ใช่เรื่องจริง พอเข้าไปท้วงว่าเป็นเรื่องแต่ง แล้วเจอคำตอบว่า

"... จะแคร์ทำไมว่าจริงหรือไม่จริง ถึงยังไงเรื่องราวที่แชร์ก็สร้างกำลังใจ อ่านแล้วรู้สึกดี ..."

จากนั้น ท้าวแชร์ทั้งหลายก็ไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น มุ่งมั่นที่จะแชร์ต่อไปเพื่อเติม "เรื่องราวดี ๆ และกำลังใจ" ให้สังคม
โดยไม่สน "ความจริง"

มันเป็นเรื่องเล็กที่ดูไม่น่าถือสาหาความ แต่ถ้าเรามองวัฒนธรรมแชร์ ไม่สนถูก-ผิด-จริง-เท็จ เชื่อมโยงกับเหตุการณ์สังคม
ที่แค่ขอให้เป็น "เรื่องราวดี ๆ" ก็ได้รับการชื่นชมส่งต่อ

มันก็คือส่วนหนึ่งของการส่งเสริมวิถีชีวิตที่ให้คนไม่รู้จักใช้เหตุผล ส่งเสริมบุคลิกของคนหน้าไหว้หลังหลอก
หรือมือถือสาก ปากถือศีล เน้นแต่เปลือกนอกที่ทำให้คนรอบข้างรู้สึกดีก็เพียงพอต่อการได้การยอมรับ
เป็นสังคมที่คนคิดทุจริตคอร์รัปชันตาลุกวาว เพียงแค่หยิบเรื่องราวดี ๆ บังหน้า ผู้คนก็ไม่คิดจะตรวจสอบ

เป็นการสร้างสังคมที่ผูกติดกับแนวทางการใช้ชีวิตแบบ "คิดให้น้อยลง แต่รู้สึกให้มากขึ้น" ซึ่งเป็นการใช้ชีวิตที่ใช้ได้จริง
ในบางสถานการณ์ แต่เมื่อใช้แบบพร่ำเพรื่อ ก็คล้ายกับใช้เครื่องย่อขนาดสมองของประชาชน ทำให้ระดับปัญญามวลรวม
ของประเทศลดลง แปรผกผันกับระดับดราม่าและมวลรวมด้านอารมณ์ของคนในประเทศสูงขึ้น

พร้อมกับคำถามที่น่าคิดว่า สังคมที่ท้าวแชร์อาศัยอยู่นั้น เหี่ยวเฉา สิ้นหวัง และตกต่ำด้านจิตวิญญาณมาก
ขนาดถึงต้องยอมโกหก เพื่อให้ได้ความรู้สึกดีขนาดนั้นเลยหรือ?

...

...

...

(๒)

...

และเมื่อท้าวแชร์ ใช้วิธีแชร์เดียวกันนี้กับตัวบุคคล

เช่น ถ้าเรารู้ว่าคนในคลิปหรือเรื่องเล่าที่กำลังส่งต่อกัน เป็นคนที่สังคมชื่นชมในความดี แต่เรื่องที่แชร์อยู่เป็นเรื่องหลอก

หรือ ถ้าเรารู้ว่าคนในคลิปหรือเรื่่องเล่าที่กำลังส่งต่อกัน เป็นคนที่สังคมว่าเลว แต่เรื่องที่แชร์เกี่ยวกับเขาเป็นเรื่องโกหก

แล้วเราเข้าไปทักท้วง จนเจอท้าวแชร์ตอบว่า

"... จะไปสนทำไมว่าจริงหรือไม่จริง ถึงยังไงคนในคลิปเขาก็ทำเรื่องดี ๆ ..."

"... ถึงไม่จริงก็จะแชร์ มีอะไรมั้ย ก็คนในข่าวมันเป็นคนเลว ..."

ถ้าเรายอมรับการแชร์แบบนี้ได้ ก็แปลว่า เรากำลังยอมรับสังคมที่ปลูกฝังให้การหลอกลวงเป็นเรื่องธรรมดา
เป็นสังคมที่ไม่ส่งเสริมปัญญา แต่ส่งเสริมอคติ

เรายอมรับให้คนในสังคมปลูกตรรกะวิบัติฝังในสายเลือด ด้วยการให้ความสำคัญกับตัวบุคคลอยู่เหนือทุกสิ่ง
และหากอยากทำร้ายใครก็ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ

เรากำลังจะสร้างสังคมที่ไม่เห็นคนให้เป็นคน แต่เห็นคนอื่นที่ชื่นชอบเป็นเทวดา ที่ทุกอย่างเกี่ยวกับเขาต้องเป็นเรื่องดี
และเห็นคนที่เกลียดชังเป็นปีศาจ ที่ทุกอย่างต้องชั่วร้าย และเมื่อตัดสินเป็นปิศาจ เราทำอะไรมันก็ได้ ฆ่ามันให้ตาย
โดยไม่สนอะไรทั้งสิ้น

ท้าวแชร์ไม่รู้ตัวว่า พวกเขากำลังทำลายคนที่ยกย่องในคลิปเพราะคนในคลิปไม่ได้รู้เลยว่า เขากลายเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องโกหกที่ท้าวแชร์ยกให้เป็นเรื่องชอบธรรม และเมื่อมีคนจับได้ คนที่เดือดร้อนไม่ใช่ท้าวแชร์ แต่เป็นชื่อเสียงของคนในคลิปที่มัวหมอง เพราะท้าวแชร์พยายามยกย่องเขาด้วยการหลอกลวง

ที่สำคัญที่สุด ท้าวแชร์ไม่รู้ตัวด้วยว่า ถ้าในสังคมที่มีความแตกแยกอยู่แล้ว การแชร์ลักษณะนี้จะยิ่งเป็นการตอกลิ่มให้สังคมแตกแยกแล้วเกลียดชังกันมากยิ่งขึ้นจากอคติที่พอกพูน

...

...

...

........................................................................................................................................................................................

...

การแชร์ข้อมูลที่ง่ายดาย กลายเป็น พฤติกรรมแห่งความเคยชินของคนในสังคมยุคใหม่
ที่ตามมาอยู่ในโลกของ Social Network

การปล่อยปละละเลยอาจพ่นพิษให้สังคมไทยเราแย่ลง

ลูกหลานจะขาดความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่อาศัย

ดังนั้น "วัฒนธรรมการแชร์" ไม่ใช่เรื่องเล็กอีกต่อไป

บุญรักษา ครับ ;)...

...

........................................................................................................................................................................................

ขอบคุณหนังสือดี ๆ ...

ผมอยู่ข้างหลังคุณ.  ชีวิต ๑๔๔๐.  กรุงเทพฯ : Mars Space, ๒๕๕๖.

...

...

หมายเลขบันทึก: 571735เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2014 00:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กรกฎาคม 2014 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

 "เรื่องราวดี /ไม่ดี" ก็ได้รับการชื่นชมส่งต่อ ...แม้จะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก้อตาม..รับรู้แล้วก้อวางค่ะ ขอบคุณแง่คิดดีๆค่ะอาจารย์

เป็นหนังสือที่น่าสนใจมากครับอาจารย์

ขอบคุณครับ

ปล.ไม่ชวนผมไปโรงเรียนแห่งความสุขบ้างหรือครับ

ยินดีและขอบคุณมากครับ คุณ su ;)...

เดี๋ยวกริ๊งกร๊างไปชวนครับ อาจารย์ ขจิต ฝอยทอง ;)...

Please wait ! นะครับ อาจารย์ ขจิต ฝอยทอง ;)...

ผมจะไปดูรายละเอียดจากทีมงานก่อนครับ ;)...

ได้เลยครับ

อย่างน้อยไปช่วยคุณแผ่นดินก็ยังดี

ปกติไปเรียนจากคุณแผ่นดิน 5555

เขียนดีค่ะ

"... ถึงไม่จริงก็จะแชร์ มีอะไรมั้ย ก็คนในข่าวมันเป็นคนเลว ..." อันนี้ คนในข่าวน่าจะฟ้องกราวรูดนะคะ น่าเห็นใจ คนในข่าวจริง ๆ บางทีเขาฟ้องก็ไม่สามารถทำอะไรคนแชร์หรือต้นตอได้เพราะถูกตัดสินว่าเป็นการติชมโดยสุจริต น่าเห็นใจคนในข่าวจริง ๆ ใครกันแน่ที่ส่งเสริมพฤติกรรมแบบนี้

ขอบคุณมากครับ ท่านอาจารย์ GD ;)...

ครูนกก็ใช้การแชร์บ่อยเช่นกันค่ะ..แต่พยายามมีสติในการเลือกแชร์อยู่ค่ะ

ขอบคุณมากครับ คุณครูนก noktalay ;)...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท