สรุปผลการเรียน ในกลุ่มการเรียนรู้ การดูพระแท้ ทางไลน์ 10 มิถุนายน 2557


เมื่อคืนนี้ เริ่มดึกไปเล็กน้อย เพราะผมติดงานเลี้ยง ในตอนเย็น 


เมื่อเริ่มเปิดประเด็น ก็ดำเนินเรื่องเข้าสู่ ลักษณะ ของการ เกิดคราบกรุ โดยอาศัยหลักการของสภาพแวดล้อม ภายในบริเวณของการเก็บรักษาพระที่มีฝุ่นละออง หรือเศษดินเศษทรายแบบต่างๆ ซึ่งเป็นลักษณะของปัจจัยภายนอก นำมาผสมผสาน กับองค์ประกอบภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปูนดิบ ปูนสุก และ ตั้งอิ้ว จึงทำให้เกิดตัวเชื่อมทั้งสองทิศทาง คือตัวเชื่อมภายนอกและภายใน เกาะกันเป็นสภาพของคราบกรุ แต่ก็ควรจะพิจารณา คราบกรุเฉพาะปัจจัยภายนอกเท่านั้น สวนภายใน ถือเป็นองค์ประกอบในองค์พระเอง

และได้ดำเนินต่อ ไปในเรื่องของสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น กรุบางขุนพรหม จะมีฝุ่นดิน ทราย และวัสดุจาก ชาวบ้านที่มา "ตกพระ" รวมทั้งสภาพที่มีน้ำท่วมขัง ในปีพศ 2485 ก่อนการเปิดกรุในระยะต่อมา ในปีพศ 2500
เอกลักษณ์ของคราบกรุบางขุนพรหม ก็จะมีเม็ดทรายดิน เกาะติดอยู่กับคราบปูน ซึ่งมีทั้งปูนดิบและปูนสุก ละลายตัวด้วยสภาพความชื้นและน้ำในกรุ จึงทำให้เกิด ผิวแข็งเหมือนตะกรัน เกาะปนอยู่ในชั้นเดียวกันไม่มีแบ่งแยกชั้น ( ที่เป็นลักษณะของพระเก๊)

หลังจากนั้น ก็แสดงให้ดูคราบกรุของวัดเกศไชโย ซึ่งมีลักษณะเป็นฝุ่นแห้งงเกาะติดอยู่กับผิวพระ โดยอาศัยการเกาะเกี่ยวของปูนดิบและปูนสุกเช่นกัน 


สุดท้ายก็ไปปิดประเด็นอยู่ที่ คราบกรุของพระเนื้อดิน โดยเฉพาะ พระกำแพงซุ้มกอ ซึ่งมีลักษณะเป็นฝุ่นดินทรายเกาะติดอยู่กับชั้นผิวซึ่งเชื่อมด้วยคราบน้ำว่าน

เนื่องจากเริ่มดึกไปเล็กน้อย จึงไปได้ประมาณนี้ครับ
หมายเลขบันทึก: 570213เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2014 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2014 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ใช่คราบกรุบางขุนพรหมเปล่าครับ

ทรงพลครับ ไม่ทราบกรุ ใช่สมัยลพบุรีหรือเปล่าครับ

คงใช่มั้งครับ เพราะไม่เห็นรูป ก็ต้องว่าตามท่านว่า อิอิอิอิ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท