เทียนขาว
นาง เพ็ญทิวา เพ็ญทิวา สารบุตร

ถอดบทเรียน การดำเนินงานตำบลปลอดเหล้า


<p>                  

       27 พ.ค.2557 ตามที่จังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดทำโครงการจังหวัดศรีสะเกษงานบุญปลอดเหล้า ปลอดการพนัน โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลด ละ เลิก อบายมุข ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปฏิบัติใช้ ซึ่งการทำโครงการดังกล่าวมีเป้าหมาย เพื่อให้เจ้าภาพ ลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการพนันในงานบุญ รวมถึงการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ครอบคลุมเทศกาลงานระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับท้องถิ่น และระดับหมู่บ้าน ทำให้เกิดรูปธรรมมีพื้นที่ต้นแบบที่มีกระบวนการทำงานให้เกิดผลสำเร็จหลากหลายวิธีการ แต่ละพื้นที่ทำให้เกิดความสำเร็จแตกต่างกันนั้น</p><p>อำเภอขุขันธ์ ได้คัดเลือกให้ ตำบลโคกเพชร เป็นพื้นที่ต้นแบบงานบุญปลอดเหล้าเข้าร่วมกระบวนการถอดบทเรียนครั้งนี้ ผู้มีเข้าร่วมถอดบทเรียน จำนวน 5 คน ดังนี้</p><p>1. นางลมเย็น ศรีผุย ผอ.รพ.สต.โคกเพชร</p><p>2. ส.อ.สุพจน์ ศรีผุย ผญ.บ้านตาองค์ ม.10</p><p>3. นางเพ็ญทิวา สารบุตร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ</p><p>4. นางนิลยา ชวดพงษ์ ประธาน อสม.ตำบลโคกเพชร</p><p>5. นางวัฒนา มูลดับ อสม.ม.4 บ้านภูมิศาลา</p><p>ในพื้นที่ของตำบลโคกเพชร ผลงาน+ผลสัมฤทธิ์ของเรา คือ</p><p>1. สามารถลดค่าใช้จ่ายในงานบุญประเพณีต่างๆลงได้มาก</p><p>2. ลดความขัดแย้งในชุมชน ตามเทศกาล และโอกาสต่างๆ ได้อย่างชัดเจน</p><p>3. ลดอุบัติเหตุจากการจราจร การทำงาน</p><p>4. สุขภาพจิตของคนในครอบครัวดีขึ้น ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง</p><p>5. มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น</p><p>หลักคิดในการทำงานบุญปลอดเหล้า</p><p>1. ความสิ้นเปลือง ค่าใช้จ่าย ในการซื้อสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินความจำเป็น ส่งผลกระทบต่อครอบครัว ความเป็นอยู่ หลังจากการจัดงานศพเสร็จ จะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายและหนั้สิน</p><p>ความสำเร็จที่ผ่านมา</p><p>1. มีการจัดงานศพแบบปลอดเหล้า ลดค่าใช้จ่ายต่องาน 20,000 - 30,000 บาท</p><p>2. เจ้าภาพมีความสบายใจไม่ต้องรับภาระหนี้สิน</p><p>3. ลดอุบัติเหตุในชุมชนลงได้มาก</p><p>4. ไม่มีเรื่องทะเลาะกันในชุมชน</p><p>5. มีคน ลด ละ เลิก สุราเพิ่มจำนวนมากขึ้น</p><p>6. ไม่มีการเล่นการพนันในงานศพมากกว่าร้อยละ 80 ของงานที่เกิดขึ้นในตำบล</p><p>พื้นที่ของเรา ปลอดเหล้าในงานศพ งานวัด งานบุญเข้าพรรษา และงานที่จัดในบริเวณวัด</p><p>ทักษะ - เทคนิคในการทำงานที่ผ่านมา</p><p>1. เน้นการประชุมกลุ่มผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น เครือข่ายองค์กรต่างๆในชุมชน/ตำบล</p><p>2. เน้นการให้ความสำคัญต่อการเข้าร่วมประชาคมของหมู่บ้าน ยอมรับนโยบายของตำบล</p><p>3. เน้นการประชาสัมพันธ์ การประสานงาน การชักจูง สร้างแรงจูงใจ ติดตามความก้าวหน้า ประเมิืินผลงาน ในงานศพ งานบุญ งานประเพณีต่างๆ</p><p>4. เน้นการสร้างขวัญกำลังใจแก่ทีมงานและครอบครัว ชุมชนให้เสริมพลังใจในการจัดกิจกรรม เืพื่อดด ละ เลิก สุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง</p><p>ปัจจัยที่ทำให้เกิดผลสำเร็จ</p><p>1. ความร่วมมือ จากทุกภาคีเครื่อข่ายในตำบล</p><p>2. ประชาชน เกิดความตระหนักในการลด ละ เลิก</p><p>3. ปฏิบัติตามกฏหมาย กติกาของตำบล ที่มีมติร่วมกัน เข้มงวดเรื่องเวลาในการจำหน่ายและอายุของผู้ซื้อ</p><p>4. ผู้ขาย ผู้ดื่มมีความเข้าใจที่ตรงกัน</p><p>สิ่งที่ค้นพบ</p><p>1. ความเข้าใจกันของคนในชุมชน ความเป็นมิตร ความปรารถนาดีต่อกันของคนในชุมชน</p><p>2. ความตั้งใจในการอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้วายชนม์</p><p>ผลที่เกิดขึ้น</p><p>1. ปัญหาครอบครัวลดลง</p><p>2. ความอบอุ่นในครอบครัวเพิ่มขึ้น ความสุขของคนในชุมชนตามมา</p><p>3. เกิดสังคมที่น่าอยู่และมีความสุขร่วมกัน</p><p>อนาคตเราจะเป็นอย่างไร</p><p>1. แสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคีเครือข่ายอย่างเข้มแข็ง</p><p>2. ชุมชนปลอดสุรา ปลอดเหล้า ทุกงานประเพณีที่เกิดขึ้นในตำบลของเรา</p><p>ติดตามภาพกิจกรรมทั้งหมดได้ที่นี่ค่ะ </p>

หมายเลขบันทึก: 569378เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2014 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2014 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เครือข่ายงดเหล้า พัทลุงมาให้กำลังใจ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท