ทำไมหน้าบ้านช่องฟืนจึงมีกุ้งปลากินตลอดปี จึงใช้ PAR มาช่วยวิจัย 1


หลังจากปี 2553 เป็นต้นมา ณ.พื้นที่หน้าบ้านชื่องฟืน จะมีกุ้งปลามาอาศัย มาให้ชาวบ้านได้ประกอบอาชีพประมงที่สมบูรณ์ มากกว่าพื้นที่อื่นๆในทะเลสาบเดียวกัน จึงเกิดคำถามว่า"เพราะอะไรหน้าบ้านชื่งฟืนจึงมีกุ้งปลากินตลอดปี"



     บ้านช่องฟืน หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็นหนึ่งพื้นที่  

ทีภาคประชาชนได้มีการร่วมตัว ร่วมทุน ร่วมคิด ร่วมคุย ร่วมพัฒนามาตั้งแต่ปี 2535  

คุณไสว หนูยก จากโครงการแลใต้ในสมัยนั้นมาชวนคุย  ชวนรวมตัวตั้งกลุ่มออมทรัพย์ 

จากวันนั้นถึงวันนี้ มีกิจกรรมของกลุ่มมากมายที่หลายพื้นที่มาดูงานมาเรียนรู้ 

และหนึ่งในหลายๆกิจกรรมที่ร่วมกันทำทั้งชุมชนคือ 

               "เขตอนุรักษ์ชายฝั่งหน้าบ้าน" 

ให้เป็นที่หลบภัยของสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นผลพวงการศึกษาเรียนรู้ของชุมชน ในการทำวิจัยบ้านๆ 

2 เล่มนั้นคือ  

ผู้หญิงกับการจัดการทรัพยากรประมงในพื้นที่ทะเลสาบ ปี 2550 

และเรืองประกายไฟในช่องฟืน ในปี 2551 

        ทำให้ หนุ่มสาว แม่บ้าน ที่ออกไปทำงานโรงงานกลับคืนถิ่นมาหากินกับอาชีพประมง 

หลังจากพายุโหมกระหน่ำภาคใต้ ในปี 25553 บ้านช่องฟืน ก็โดนหนัก เครื่องมือประกอบอาชีพประมง

เสียหาย ทางกลุ่มจึงช่วยเยียวยา  โดยใช้เงินกองทุนออมทรัพย์มาช่วยกันซ่อมแซมเครื่องมือ  

พอได้ออกไปประกอบอาชีพ หลังจากปี 2553 เป็นต้นมา ณ.พื้นที่หน้าบ้านชื่องฟืน 

จะมีกุ้งปลามาอาศัย มาให้ชาวบ้านได้ประกอบอาชีพประมงที่สมบูรณ์ มากกว่าพื้นที่อื่นๆในทะเลสาบ

เดียวกัน จึงเกิดคำถามว่า"เพราะอะไรหน้าบ้านชื่งฟืนจึงมีกุ้งปลากินตลอดปี"   

เพราะการทำแผนที่ทรัพยากรชายฝั่ง

เพราะพายุในปี2553 

เพราะมีทางน้ำคลองหลายสาย 

เพราะการทำอีเอ็มบอลโยนลงทะเล 

เพราะห่วงโซ่อาหารสัตว์หน้าดิน

หรือเพราะมี

เขตอนุรักษ์หน้าบ้าน        

            เป็นประเด็นที่หลายคนตั้งคำถามที่ ต้องการคำตอบ จึงได้มีการทำวิจัยเรื่อง 

 "ความอุดมสมบูรณ์ของทะเลสาบหน้าบ้านช่องฟืน"ขึ้น  เพื่อตอบคำถามที่สงสัย  และ

๑.เพื่อปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนตระหนักในปัญหา หน้าที่ และร่วมกันแก้ปัญหาของตนเอง

๒.เพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้แบบพหุภาคี (Steak Holder)


๓.เพื่อให้ชุมชนร่วมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง


๔.เพื่อส่งเสริมกิจกรรมกลุ่ม และการทำงานร่วมกันแก้ปัญหาและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

(เลิศชาย  ปานมุข)

          ผู้เขียน ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานในโครงการวิจัยในครั้งนี้รู้สึกยินดี และคาดหวังว่าจะได้

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

๑.ชาวบ้าน ประชาชน จะตื่นตัว ได้รับการศึกษามากขึ้น สามารถคิดและวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆได้อย่างถูกต้อง


๒.ประขาชนได้รับการแก้ไขปัญหา การจัดสรรทรัพยากรต่างๆมีการกระจายอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 

รวมทั้งข้อมูลข่าวสารที่ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น


๓.ผู้วิจัยและนักพัฒนาจะได้เรียนรู้จากชุมชน ได้ประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับชุมชน อันก่อให้เกิด

ความเข้าใจชุมชนได้ดีขึ้น และเกิดแนวคิดในการพัฒนาตนเองอย่างแท้จริง  (เลิศชาย  ปานมุข)



คุณประสิทธิชัย  หนูนวล นักต่อสู้เรื่องพลังงานมา เป็นที่ปรึกษาให้

โฉมหน้านักวิจัย หน้าบ้านช่องฟืน

รับฟังอย่างตั้งใจ ก่อนลงไปเก็บข้อมูล

หมายเลขบันทึก: 569311เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2014 02:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2014 06:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

<p>อรุณสวัสดิ์  เบิกบานยามเช้าจ้ะลุงวอ</p><p></p>

ความเห็นแรกของวันนี้,,,,,,ตัวหนังสือก็กระโดดซะแล้ว....เฮ้อ...!  ช่วงนี้ถ้าใส่ภาพ

ด้วยจะเป็นแบบนี้ประจำเล้ย,,,ไม่รู้เป็นเพราะอะไรนะเนี่ยะ

ชอบการวิจัยแบบ PAR มากครับ

ที่บ้านช่องฟืนมีอะไรดีๆมาก

ลองถอดบทเรียนแบบบ้านน้ำทรัพย์ดีไหมครับ

-สวัสดีครับ

-ตามมาให้กำลังใจลุงวอ...

-ดูบรรยากาศน่าเพลินดีนะครับลุง

-คงมีเรื่องราวได้คุยกันมากโข..

-คิดฮอด..ลุงเด้อ..อิๆ 

สวัสดีน้องมะเดื่อ 

มารับอรุณกับ ดอกทานตะวันบานเบ่ง แข่งตะวัน

เรียนท่านอาจารย์ ขจิต

เคยอ่านทีอาจารย์ ถอดบทเรียนบ้านน้ำทรัพย์แล้ว

น่าสนใจที่จะมาถอดบทเรียนบ้านช่องฟืน

รอเสร็จงานชิ้นนี้จะถอดบทเรียนบ้านช่องฟืนมาแลกเปลี่ยน

น่าสนใจ  อยากรู้คำตอบเหมือนกัน  เป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจมากๆ

สมัยเรายังเด็ก  หาของพวกนี้กินง่ายดายแถวๆ บ้าน

"เขตอนุรักษ์ชายฝั่งหน้าบ้าน" ..... เป็นโครงที่ดีมากๆๆ ค่ะ บัง



เรียนคุณ เพชร ความคิดของชาวบ้าน  ที่ลุกขึ้นมา ปกป้องทะเลหน้าบ้าน

ป้องกันได้ดีกว่าเขตอนุรักษ์ ของกรมประมง

เพราะ จุดนี้มีการเฝ้าระวังผลัดเปลี่ยนกัน ของคนที่ของเห็นความสำคัญของ แหล่งหลบภัยของปลา

ทำให้บ้านหน้าทะเล มีปลากินตลอดปี

เรียนอาจารย์  Nui ชุมชนแห่งนี้น่าสนใจ  เริ่มจากวิกฤต มาเป็นโอกาส  ตั้งแต่ สามห้า

โครงการ แลใต้  มาชวนคุย เรื่องการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบ

มาถึงวันนี้ ผ่านการทำงานที่ยาวนาน ในการฟื้นฟู ทะเล  โดยการรักษาหน้าบ้าน หน้าเลไว้ให้สัตว์น้ำได้หลบภัย

เป็นที่สงสัยของคนเลว่าเพราะอะไรกันแน่ที่บ้านช่องฟืน ีปลาตลอดปี

เรียนหมอเปิ้น เพราะต้องการคำตอบ ว่าทำไม หน้าบ้าน ช่องฟืนถึงมีสัตว์น้ำสมบูรณ์กว่าที่อื่น

ขอบคุณครับ  คุณ พ. ชาวบ้านเขาสงสัย เขาจึงชวนกันมาทำวิจัย เพื่อยืนยันข้อสงสัย แล้วขยาย เขตอนุรักษ์เพิ่ม

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท