เยาวชนสร้างสรรค์ สืบสานผู้เฒ่าเล่าเรื่องปากพะยูน


ท่านพระครูฯท่านเป็นพระผู้มีวาจาสิทธิ์ คำพูดของท่านมีแต่คนเกรง ไม่มีใครที่อยากสนทนากับท่าน เพราะกลัวท่านจะหลุดปากว่าเอา กิตติศัพท์ของท่านไม่ธรรมดาครับ

นำเยาวชนเดินขึ้นบันได หนึ่งร้อยกว่าขั้น เพื่อไปชมพระนอน


เมื่อนำเยาวชนไปสืบสานสานสมุนไพรมาแล้ว ก็นำเยาวชนไปฟัง ผอ. อำพนธ์ สุบรรณพันธ์ 

เล่าเรื่อง เพลงกล่อมเด็ก ในตอน ผู้เฒ่าเล่าเรื่อง อาจารย์ พนธ์ ชวนคุยถึงความโอบอ้อมอารีที่อบอุ่น

ของครอบครัวในอดีต  ที่เด็กได้รับการดูแลจากพ่อแม่อย่างอบอุ่น ถนุถนอม  ผ่านเพลงกล่อมเด็ก

ที่มีการร้องกล่อมให้ลูกหลับ ทุกบ้านมีการขับขานที่ได้เดินผ่านจะได้ยินเสียงเพลง เด็กดูมีความสุข

เมื่อผอ.ร้องเพลงกล่อมเด็กให้ฟัง

ผอ.อำพนธ์ สุบรรณพันธ์ สาธิต การผูกเปล่ เห่กล่อมให้ลูกนอน

    "อ้าเอ้อ....เหอ  ไก่เถื่อน  ขันเทือนทั้งบ้าน 

โลกสาวขี้คร้าน    นอนให้แม่ปลุก 

แม่ฉวยได้ด้ามขวาน  แยงวานดังพลุก 

นอนให้แม่ปลุกเหอ  โลกสาวขี้คร้านการ

      อ้าเอ้อ.....เหอ  ไก่เถือนเหอ  ขันมาละห้อย  

งูเขียวตัวน้อย   ห้อยหัวลงมา

เด็กนอนไม่หลับ   กินตับดีหวา  

ห้อยหัวลงมา หวันเย็นแล้วมาห้อย  


     อ้าเอ้อ  เหอ ไกแจ้เหอ 

ว่ายน้ำต้อแต้   มาขอเมีย 

ขันหมากลอยน้ำเสีย 

เอาไหรเอาไหรขอเมียละไก่แจ้ ...

สุขเมื่อได้ฟังเพลงกล่อมเด็ก

        จากนั้น ลุง วอก็เล่าเรื่องวัด สถานที่มาเยี่ยมชมคือวัดรัตนาราม ซึ่งมีพระนอนที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัด

พัทลุง เดิม วัดนี้ชื่อวัด บ่อหมาแป๊ะ ซึ่งคนยุคบุกเบิกชาวปากพะยูนชาวอินเดียได้ล่องเรือมาขึ้นที่อ่าว

มายา ต้นตระกูล เอ็มเหย็บหนุด (ที่หน้าวัดปัจจุบัน) แล้วมีคนจีนมาอาศัยอยู่ข้างเนินวัด คนทั่วไปเรียกว่า 

อาแป๊ะ แกขุดบ่อเอาไว้  คนผ่านทางไปมาก็แวะใช้น้ำที่บ่อ จึงต้องไปขอภาชนะที่ตักน้ำ (บ่อหมาแปะยุคที่สองส่วนยุคแรกอยู่ที่หน้าโรงพักปัจจุบัน)

ซึ่งเมื่อก่อนไม่มีถังใส่น้ำ แต่ใช้ กาบหมาก กาบหลาวโอนมาทำเป็นที่ตักน้ำ 

แล้วต่อมามีการสร้างวัดขึ้นที่เนินควนแห่งนี้ ชื่อวัด รัตนาราม แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกว่า วัด"บ่อหมาแป๊ะ" 

ณ.วัดรัตนาราม ในช่วงปี 2496 มีชื่อเสียงมาก ด้วยว่าเจ้าอาวาส พระครูสัตยานุรักษ์ (พ่อท่านวรรณ) 

"เหรียญรุ่นแรกของท่านมีด้วยกัน ๒ บล็อคครับ..คือ..บล็อคหลังยันต์ห้าและบล็อคหลังยันต์พุฒซ้อน 

เหรียญนี้เป็นบล็อคหลังยันต์พุฒซ้อนครับ อาจารย์วรรณท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครู

ศรัทธานุรักษ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งเหรียญรุ่นแรกของท่านได้แจกในงานฉลองพัดยศในปีดังกล่าว

ครับ...

ท่านพระครูฯท่านเป็นพระผู้มีวาจาสิทธิ์ คำพูดของท่านมีแต่คนเกรง ไม่มีใครที่อยากสนทนากับท่าน

เพราะกลัวท่านจะหลุดปากว่าเอา กิตติศัพท์ของท่านไม่ธรรมดาครับ ชาวปากพะยูนและคนพัทลุงรู้จัก

ท่านดี ในยุคนั้นเกจิพัทลุงมีเพียงท่านพระครูฯกับหลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ เพียง ๒ รูปเท่านั้นที่ได้รับ

นิมนต์จากหลวงปู่นาค วัดระฆังโฆษิตาราม มาปลุกเสกรูปหล่อสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่

กรุงเทพ (บางกอก) เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕ **

(ข้อมูลจากสาราภิวัต)

    ค่ายเยาวชนที่ชวนให้เยาวชนรู้จักชุมชน รักและหวงแหนชุมชน  โดยการนำเยาวชนมาผู้เฒ่าเล่าเรื่อง

ในสถานที่ประวัติจริง เห็นจริง ที่บอกเรื่องราวของประวัติได้เอง  ผู้เล่าเพียงแต่เพิมเต็มแนะนำให้ครบ

ถ้วน เยาวชนมีความสุข สนุกได้รู้ประวัติชุมชนตนเอง

หนูชื่อน้องนาเซียค่ะ ขอบคุณค่ะที่แวะมาอ่านบันทึกของคุณตา หนูมีความสุขมากค่ะ

หมายเลขบันทึก: 567847เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2014 05:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2019 10:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

จำบทกล่่อมเด็กชุดแรกได้

ขึ้นต้นว่าไก่เถื่อน

ชอบมากๆ

ตอนนี้อยู่ไหนแล้วครับบัง

เรียนท่านอาจารย์ ขจิต 

จะเดินทางไปภูเก็ตเช้านี้ครับ 

เมื่อวานติดงานด่วนที่รพ.ไม่ได้เดินทาง

ฝากบอกมิตรรักแฟนเพลงครูมะเดื่อด้วย ติดภาระกิจกระทันหัน

คุณมะเดื่อรับทราบจ้ะ  จึงพาน้องกล้วยไข่พร้อมกุ้งใหญ่มาฝาก  ทุกคนบ่นเสียดายที่ลุงวอไม่ได้มากินกุ้งจ้ะ

เป็นโครงการและกิจกรรมที่ดีครับ

เรียนน้องมะเดื่อ...

ต้องขออภัยจริงๆ มีปัญหาทางครอบครัวนิดนึ่งเรื่องลูกสาว  ที่ภูเก็ต

ขอเป็นกำลังใจให้ชาวค่ายทุกคน

ขอบคุณ บูรพากรณ์ ที่มาให้กำลังใจ เยาวชน

-สวัสดีครับ

-เรื่องเล่าที่ส่งต่อให้กับเยาวชนถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ๆครับ

-เพลงกล่อมเด็ก..อ่านแล้วเพลิน..ครับ

-ชอบใจภาพนี้..

-ขอบคุณครับ..

เรียนคุณเพชร  กลับจากทัวร์ภาคเหนือ ก็มาจัดค่ายเยาวชนต่ออีก สามวัน 

ตามภาพกิจกรรมที่นำเสนอให้เยาวชนรู้จักวัฒนธรรมชุมชน

เป็นแบบแผนที่ดีมากค่ะบัง  น่านำไปขยายผล นะคะ

เรียนหมอเปิ้น  จัดการความสุขสู่จัดการความรู้ ตามที่  G2K โปรยหัวเรื่องไว้

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท