ไขมันพอกตับ




ไขมันพอกตับที่มากับโรคอ้วน

   ปัจจุบันคนส่วนใหญ่หันมาสนใจการตรวจสุขภาพด้วยวิธีต่าง ๆ มากขึ้น บางคนก็ตรวจพบมีการทำงานของตับผิดปกติโดยที่ไม่รู้ตัว แต่เมื่อมาปรึกษาแพทย์ก็พบว่าเป็นไขมันพอกตับหรือโรคตับคั่งไขมัน

    โรคตับคั่งไขมัน (Nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD) หมายถึง ภาวะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเซลล์ตับโดยที่คนนั้นไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์หรือดื่มในปริมาณที่น้อยมาก มักพบในผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) โดยเป็นกลุ่มโรคที่ประกอบด้วยความผิดปกติที่มักพบร่วมกันได้แก่ โรคอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง ระดับนํ้าตาลในเลือดสูงและระดับไขมันในเลือดที่ผิดปกติ

    ซึ่งเป็นผลมาจากความอ้วน และภาวะดื้อต่ออินซูลิน โดยเชื่อว่าโรคตับคั่งไขมันเป็นอาการแสดงทางตับของภาวะอ้วนลงพุงด้วย ผู้ป่วยโรคตับคั่งไขมันมักพบร่วมกับโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูงทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของ ตับอักเสบเรื้อรัง ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มาตรวจเรื่องตับอักเสบเรื้อรัง

  โรคตับคั่งไขมัน อาจดูเหมือนเป็นโรคที่ไม่รุนแรงเนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติที่ชัดเจน แต่ก็มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่มีการดำเนินโรคไปสู่ภาวะตับแข็งได้โดยจากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคตับคั่งไขมันร้อยละ 2 มีการดำเนินโรคไปสู่ภาวะตับแข็งภายใน 15-20 ปี แต่ถ้ามีตับอักเสบด้วยโรคก็จะดำเนินเร็วขึ้น และเป็นสาเหตุที่สำคัญของการเกิดตับแข็งและมะเร็งตับ เช่นเดียวกับโรคตับจากการดื่มสุราปัจจัยเสี่ยง

     

 


  อ้วนลงพุง (เส้นรอบเอวมากกว่าหรือเท่ากับ 102 ซม. หรือ 40 นิ้วในผู้ชาย หรือ มากกว่าหรือเท่ากับ 88 ซม.หรือ 35 นิ้วในผู้หญิง), มีไขมันในเลือดสูง โดยตรวจพบมีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด > 150 มก./ดล.หรือระดับ เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอล < 40 มก./ดล.ในผู้ชาย หรือ < 50 มก./ดล.ในผู้หญิง, เป็นโรคเบาหวาน, ความดันโลหิต > 130/85 มม.ปรอท หรือรับประทานยาลดความดันโลหิตอยู่ และใช้ยาบางชนิด เช่น amioderone, tamoxifen, ยาสเตียรอยด์การรักษา

   ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาได้ผลดีจริง การรักษาที่ดีที่สุด คือ การควบคุมนํ้าหนักให้เข้าสู่เกณฑ์ปกติ ถ้านํ้าหนักเกินควรลดนํ้าหนัก ให้ลดลงประมาณ 10% ของนํ้าหนักตัวปัจจุบันในอัตรา 0.5–1 กก. ใน 1-2 สัปดาห์ (ไม่ควรลดนํ้าหนักตัวลงอย่างรวดเร็ว เพราะจะทำให้โรคเป็นมากขึ้น)

    หลักการรักษาโรคอ้วนหรือนํ้าหนักเกิน ทำได้โดยเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังโดยให้ลดพลังงานจากอาหารที่รับประทานและเพิ่มการออกกำลังกาย การลดอาหารที่ได้ผลมากที่สุดในระยะยาวคือการลดพลังงานจากอาหารที่ควรได้รับประมาณวันละ 500-1,000 แคลอรี่โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารไขมัน

  เป้าหมายที่เหมาะสมในการลดนํ้าหนักคือ การลดนํ้าหนักให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 5-10 ในช่วง 6-12 เดือน การลดนํ้าหนักในระยะยาวที่จะได้ผลดีนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการออกกำลังกายร่วมด้วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ได้นํ้าหนักลดลงอย่างน้อยร้อยละ 5-10 ของนํ้าหนักตัวเริ่มต้น พบว่าทำให้ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้แก่ระดับนํ้าตาลในเลือด ความดันโลหิต ระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลง

    การออกกำลังกายควรจะทำทุกวันอย่างน้อยวันละ 30 นาที ด้วยความแรงของการออกกำลังกายที่เหมาะสม การออกกำลังกายในระยะเวลาสั้น ๆ ครั้งละ 10-15 นาที เช่น การเดินเร็ว ๆ การทำงานบ้าน แต่ทำบ่อย ๆ วันละหลายครั้งก็พบว่ามีประโยชน์เช่นกัน

    นอกจากนี้ยังต้องรักษาระดับนํ้าตาล และไขมันในเลือดให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา หลีกเลี่ยงการซื้อยากินเอง รวมทั้งอาหารเสริมหรือสมุนไพรที่ไม่ผ่านการรับรอง


ผศ.พญ.อภิญญา ลีรพันธ์  หน่วยระบบทางเดินอาหาร 

ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

7 หลักที่ควรปฏิบิติ ระวังป้องกันหลีกเลี่ยงฯเพื่อไม่ให้ไขมันพอกตับ

ไม่อยากเสี่ยงปัญหาไขมันพอกตับ แนะนำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของ 

พญ.วิภากร ชูแสง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินอาหารและตับ

กล่าวไว้ในนิตยสาร Better Health โดย มุมสุขภาพ นำมาจัดหมวดหมู่ไว้ได้ 7 หลัก 

เหมาะกับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน และผู้ป่วยเบาหวาน 

ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีโอกาสประสบปัญหาไขมันพอกตับมากที่สุด เริ่มจาก


1. การลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย โดยต้องลดลงไม่เกิน 0.5 กิโลกรัม ต่อสัปดาห์

2. การออกกำลังกายเป็นประจำอย่าให้ขาด

3. สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และไขมันในเลือดสูง ต้องควบคุมโรคให้ดี

   ร่วมกับการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย

4. ลด และเลิกการดื่มสุรา เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้ตับ

5 .หลีกเลี่ยงการรับประทานยา หรืออาหารเสริมที่ไม่จำเป็น 

   โดยเฉพาะชนิดที่เป็นน้ำมันและสมุนไพร

6. ต้องป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ เช่น ตรวจสอบว่า 

   ตนเองมีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบหรือไม่

   หากไม่มี ต้องฉีดวัคซีนป้องกัน รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

   เมื่อต้องทำฟัน หรือทำเล็บ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

7. อย่าละเลยการตรวจสุขภาพประจำปี เพราะผู้ป่วยไขมันพอกตับ

   ส่วนใหญ่จะถูกตรวจพบความผิดปกติ จากผลตรวจสุขภาพ

    ที่แสดงค่า เอนไซม์ของตับ (AST และ ALT) ผิดปกติ คือ มากกว่า 40

( ขอบคุณ ไขมันพอก ฯตับจากหนังสือพืมพ์เดลินิวส์ )


   น้ำหนักมาก อ้วนแล้วมีความเสี่ยงที่จะมีไขมันพอกตับ เมื่อเกิดแล้วทำให้ออกยากและเกิดโรคได้หรือโรคที่เป็นอยู่แล้วเป็นมากขึ้น พึ่งระวัง ป้องกันโดยเฉพาะอาหารไขมัน แป้ง น้ำตาล ฯ ที่ออกจากร่างกายไม่หมดเกิดการสะสมในร่างกายมากๆไม่ใช่ระวังเฉพาะที่ตับ อวัยวะอื่นๆก็ทำให้เกิดโรคได้เช่นกันที่น่ากลัวมากก็คือ ไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจและสมอง เสียชีวิตเฉียบพลันได้หรือเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ฯ

ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี

วันอาทิตย์ที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ ๒๕๕๗

หมายเลขบันทึก: 567739เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2014 08:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2014 09:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

คนที่ผอมแต่ไม่ออกกำลังกายควรระวังอาจมีไขมันพอกตับได้ ควรตรวจสุขภาพบ้างนะครับ

รู้เท่าทัน ป้องกันก่อนเป็นโรค...ขอบคุณที่นำมาเผยแพร่ค่ะ

...ทุกวันนี้ที่ไม่ยอมกินยาลดไขมันในเลือด...เพราะกลัวไขมันไปพอกที่ตับค่ะ

สวัสดีค่ะ 

ขอบคุณมากนะคะ ทุกๆดอกไม้และกไำลังใจที่มอบให้บันทึก ไขมันพอกตับ

คุณ rojfitness   

 ค่ะคนผอมก็ต้องระวังไว้ด้วยเพราะก็มีคอเลสตอรอลสูงไขมันตัวไม่ดีมากได้เช่นเดียวกับคนอ้วน 

แต่คนอ้วนบางคนไขมันน้อยแต่มีโรคอื่นแทนก็มีอักเช่นกันค่ะ

คุณพี่ใหญ่    

ค่ะ เราต้องให้ทันโรคและป้องกันไม่ให้เกิดนะคะ แต่บางโรคไม่รู้ล่วงหน้าก็มีมากนะคะ

พอทราบก็แก้ไม่ทันแล้ว

คุณดร. พจนา แย้มนัยนา 

ถ้ากินยาลดไขมันๆไปพอกที่ตับ แล้วมีคนใช้ยาลดไขมันมากเลยนะคะ 

เขาจะทราบไหมค่ะนี่ หมอจะบอกไหม์? น่ากลัวนะคะ


จริงดังที่ดร. พจนา แย้มนัยนาได้กล่าวไว้ครับว่ากินยาลดไขมันๆไปพอกที่ตับแล้ว

ยังทำให้สมองเสื่อมก่อนเวลาอันควรอีกด้วยนะครับ 

ดังที่ผมได้ค้นคว้ามาลงที่นี่ http://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/5649...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท