มหาชีวาลัยชุมชนท้องถิ่น มาชวนผู้ประกอบการทางสังคมเรียน ป.ตรี ไม่มีหน่วยกิจ


"คนที่สามารถประกอบอาชีพเกื้อกูลชุมชน หรือก่อให้เกิดสัมมาชีพ เกิดการเปลี่ยนแปลงใน ชุมชน"

 

ผู้ประกอบการทางสังคม ปากพะยูน

 

คุณ จิระ  ชูช่วย แห่งสวนสมุนไพรเกาะหมาก โทรศัพท์มาหาบอกว่าให้เข้าไปที่สวนฯ ด้วย

บอกว่ามีอาจารย์ จะมาคุยมาชวนเครือข่าย ให้เรียนในระดับปริญญาตรี ย้ำชัดว่าต้องมาให้

ได้ เพื่อให้การพูดคุยได้ประเด็นในการขับเคลื่อนทางด้านการศึกษาของผู้นำเครือข่าย

ชุมชน  ได้มีการพัฒนาศักยภาพ

 

 

 

อ.นิคม ฟูสกุลสุข

 

 

 

ซึ่งมีอาจารย์ นิคม ฟูสกุลสุข จากปตท. มาชวนคุย โดยให้ข้อมูลเบื้องต้นว่า ทางมหา

ชีวาลัยชุมชนท้องถิ่น สถาบันอาศรมศิลป์ ต้องการให้คนทำงานชุมชน ได้ยกระดับทางการ

ศึกษาเพื่อมาพัฒนาศักยภาพ ให้การทำงานชุมชนได้รับการยอมรับยิ่งขึ้น ซึ่งหลักสูตรที่

แนะนำคือ หลักสูตรผู้ประกอบการทางสังคม โดยให้ความหมายของผู้ประกอบการทาง

สังคมว่า

 

"คนที่สามารถประกอบอาชีพเกื้อกูลชุมชน หรือก่อให้เกิดสัมมาชีพ เกิดการเปลี่ยนแปลงใน

ชุมชน"

 

มีเนื้อหา 4 ประเด็นเป็นการเรียนแบบสัมนา ฝึกอบรม เรียนในสิ่งที่ทำ  และทำในสิ่งที่เรียน

1>เรียนรู้เรื่องตนเองว่ามีคุณค่า ประสบการณ์ของตนเอง ประสบการณ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประสบการณ์ช่วยเหลือสังคม

2>เรียนรู้ชุมชนตัวเอง เรียนรู้ข้อมูลชุมชนพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ชุมชน กลุ่มองค์กรเครือ

ข่ายในชุมชน

3> เรียนรู้ทุนทางสังคม วัฒนธรรมประเพณี ศาสนา และแผนที่ชุมชน

4 >เรียนรู้การประกอบการของตนเองที่มีทักษะต่อยอดสรุปให้เห็นบอกเพื่อนได้อธิบายถูก

ให้เพื่อนเข้าใจ  งานที่ทำ  ทำให้ยั่งยืนได้อย่างไร ให้บอกเพื่อนถูก

 

คุณสมบัติของผู้เรียน คือผู้นำเครือข่ายที่มีอายุการทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีอายุ

ไม่น้อยกว่า25 ปี ต้องจัดการตนเองได้ มีการเทียบวุฒิให้ และที่สำคัญ ไม่ต้องจ่ายค่า

หน่วยกิจ ไม่จำกัดจำนวน แต่ต้องมีคนเรียน ต้องมีพื้นที่ และคนสอน เน้นเรื่องกระบวนการ

เรียนรู้ทุกขั้นตอน

 

ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นโอกาสทางการศึกษา เป็นการปฎิรูปการศึกษา และเป็นการจัดการ

ตนเองทางด้านการศึกษา เพื่อยกระดับและพัฒนาศักยภาพคนทำงานอาสาหรือผู้ประกอบ

การทางสังคม ให้มีความรู้ความสามารถ ผ่านการรับรองจากสถาบันที่น่าเชื่อถือ

 

ในวันที่27 มีนาคมนี้ จะทำความเข้าใจให้ผู้นำและเครือข่ายได้พิจารณาว่า  เรียนทำไม  

เรียนแล้วได้อะไรบ้าง และต้องให้ความหมายของคำว่าผู้ประกอบการทางสังคม ตามที่ผู้นำ

ชาวบ้านเขาเข้าใจ คือไคร การทำทำความเข้าใจเบื้องต้นสำคัญมากในการที่เดินไปข้าง

หน้าพร้อมๆกันของผู้นำ ชุมชน    

 

 

 

ความหมายของผู้ประกอบการทางสังคม

social entrepreneur หรือผู้ประกอบการทางสังคม มีลักษณะร่วมดังกล่าวเหมือน entrepreneur ในกระแสหลัก ตั้งแต่เป็นคนมีไอเดียสร้างสรรค์และมีความสามารถในการบริหารจัดการสร้างให้เกิดขึ้นได้จริงเป็นรูปธรรม เพียงแต่ว่าจุดเริ่มต้นที่คิดจะสร้างงานนั้นไม่ใช่กำไรเป็นตัวตั้งต้น แต่เป็นการสร้างสรรค์สังคมให้ดีงามขึ้น กำไรอาจมีแต่ก็เพื่อการดำเนินงานให้คงอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่องานสร้างสรรค์สังคมที่ได้ผลจริง สิ่งที่น่าสนใจมากสำหรับคนกลุ่มนี้คือ นอกจากจะมีความสามารถในการบริหารจัดการเหมือนๆ กับผู้ประกอบการทางธุรกิจแล้ว เขามีใจเริ่มต้นอยากจะช่วยเหลือสังคม อยากให้แก่สังคม หรืออยากจะเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น ผลลัพธ์การทำงานจึงมิใช่กำไรเพื่อตัวเอง แต่กลับเป็นสังคมที่งดงามขึ้น สะอาดขึ้น มีความสุขมากขึ้น แม้จะเป็นปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ตาม

 

ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ไม่ทราบคนเขียน

 

ผู้ประกอบการทางสังคมที่สนใจ ในการเรียน ป.ตรี

 

 

 

คุณจิระ ชูช่วย และ คุณ แหวว วีรวัฒน์ อมราพิทักษ์ แห่งสวนสมุนไพรเกาะหมาก

 

 

 อาจารย์ สมพร สุวรรณเรืองศรี

หมายเลขบันทึก: 564173เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2014 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มีนาคม 2014 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

...มีรูปแบบที่แตกต่างจากวิทยาลัยชุมชนนะคะ...

เรียนท่าน ดร. พจนา

วิชาลับชุมชน เปิดโอกาสให้แกนนำได้เข้าถึงทางการศึกษา โดยไม่ต้องมีวุฒิ มัธยมปลาย

แต่ใช้ความรู้ชุมชน ปรับเทียบ เพื่อเรียน ปริญญา ผู้ประกอบการทางสังคม

องค์กรทางธุรกิจจะมีภระกิจ Corporate Social Responsibility (CSR) หมายถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อมขององค์กร ซึ่งคือการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี แต่พ่อค้าก็คือพ่อค้า ปตท. แท้จริงแล้วเบื้องหลังคือทุนข้ามชาติ ชุมชนอาจจะต้องรำลึกถึงพระคัมภีร์สมัยอาดัมกับอีวาหลงคำพูดซาตาน

ชอบจังครับ เรียนแบบไม่มีหน่วยกิจ

แบบนี้สังคมดี มีสุขครับ

ขอสนับสนุน ครับ

น่าสนใจมากเลยครับบัง

ขอชื่นชมทีมทำงานครับ

น่าเรียนด้วยคนนะครับบัง

ขอบคุณ อาจารย์ จำรัส ที่กระตุกต่อมคิด องค์กรทางธุระกิจ ที่มาสนับสนุน แกนนำนำชุมชน ทางการศึกษา

เรียนคุณ ยง คนทำงานอาสาเครือข่ายในพื้นที่ เขาบอกว่า บางท่านมีองค์ความรู้ ระดับปริญญาในการทำงาน

หลักสูตรผู้ประกอบการ เป็นการยกระดับทางการศึกษา คนอาสา

ขอบคุณท่านอาจารย์ ขจิต สวนสมุนคือที่พบปะพูดคุยกันของคนอาสาครับ

กราบเรียนท่านวอญ่าผู้เฒ่า..ยายธีสมัครมา ณ ที่นี้..เริ่มสมัครชั้นต้นที่หนไหน..หน่วยกิจนี้ทำาไประยะนึงเล่ว..ปลูกต้นไม้ให้เป็นป่า...กำลังหาผู้สบับสนุนบุคคลที่สนใจเกี่ยวกับสมุนไพรที่เคยขึ้นในป่าและอยูกับต้นไม้ใหญ่ได้ในร่มและเวลาแล้ง..มีใครบ้างไหมจ้ะ..ปลูกเพื่อรู้เท่านั้น..(ไม่ต้องการทำเป็นพืชเศรษ ฐกิจ)...

เก่งจังเลยค่ะท่าน วอญ๋า

เป็นโมเดลการบริหารจัดการชุมชนที่ดีมากค่ะ..ท่านวอญ่าฯเหมาะสมมาก

การศึกษา---ไม่มีวันหยุด---

เรียนรู้ได้ตั้งแต่ในเปลจนหลุมฝังศพ

^_________^

ขอชื่นชมค่ะ

เรียนคุณ พ.

สถาบันวิชาลัย เปิดโอกาสให้ผู้นำได้เรียนรู้มีปริญญา ถือว่าเป็นการศึกษานอกระบบที่น่าสนใจ

เรียนคุณ ยายธี

โครงการเรียนป.ตรี ไม่ค่าหน่วยกิจ น่าจะเป็นประโยชน์กับคนทำงานเครือข่าย

คนที่ปลูกต้นเพื่อรู้เท่าทันและเยียวยาธรรมชาติ คงมีหลายคน เพียงแต่ยังค้นไม่พบเครือข่ายคนเหล่านี้

อย่างน้อยสวนครูหยินที่ย่านตาขาวก็เป็นอีกที่หนึ่งที่ปลูกต้นไม้ เพื่อจ่ายแจกชุมชน

น้อง อร วันนี้คุณ มะเดื่อ กับครูหยิน แวะเยี่ยน พ่อเขียนด้วย

เรียนพี่ใหญ่ วันนี้ครูหยินและคุณมะเดื่อ รำลึกถึงพี่ใหญ่ด้วยในการเดือนทางท่องประวัติศาสตร พัทลุง

สลาม ไหมซาเราะห์ ขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยน การเรียนรู้

มาเรียน ป.ตรี ในบทที่2 เรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน

มี อ.นิคมมาชวนคุย

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท