10 "สมมติ" ในวงการพระเครื่อง


ในโลก "สมมติ" ที่ผมรู้จัก ทั้งหมด ก็เห็นจะเป็นวงการพระเครื่อง ที่ใช้การ "สมมติ" เปลืองที่สุด อย่างน้อย 10 ประเด็น ดังนี้

ตั้งแต่
1. "รูปสมมติ" ว่าเป็นพระพุทธเจ้า
2. "นามสมมติ" ว่าเป็นพระชื่อนั่นชื่อนี่ พิมพ์นั้นพิมพ์นี้
3. "ปาฏิหาริย์สมมติ" ว่าทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ ที่บางทีก็มาจากการแต่งวรรรคดีย้อนหลัง หรือการเรียกชื่อให้ฟังดูมีอิทธิฤทธิ์ น่าเชื่อถือ พร้อมนิทานประกอบเรื่อง
4. "ความนิยมสมมติ" ว่าเนื้อนี้ พิมพ์นี้ มีคน "นิยม" ทั้งๆที่กำหนดกันขึ้นมาเอง ตามพระที่มีให้คนที่มีเงินหลงเชื่อตาม ที่เป็นหลักการทางการค้าธรรมดาๆ นี่แหละ
5. "ราคาสมมติ" เท่านั้น เท่านี้ ตาม "ความนิยม" และ "ปริมาณ" ที่มี
6. "ตลาดสมมติ" ให้มีระดับต่างๆ เพื่อการกำหนดราคารับซื้อ ระดับคุณภาพ และระดับราคาพระแต่ละองค์
7. "การประกวดสมมติ" เพื่อการกระตุ้นตลาด และยกระดับราคาพระบางองค์ และการหารายได้ของคนกลุ่มหนึ่ง
8. "การรับรองสมมติ" เพื่อยืนยันว่าพระที่มีอยู่นั้นแท้ โดยไม่เกี่ยวว่าพระองค์นั้นจะแท้หรือเก๊ ถ้ามีใบรับรองถือว่าแท้
9. "การตรวจอายุสมมติ" เป็นการอ้างหลักทางวิทยาศาสตร์แบบไม่ค่อยจริงเท่าไหร่ หรือจริงครึ่งเดียวมาอ้างอิงความเก่าของวัสดุ และมวลสาร 
10. "มูลค่าสมมติ" เป็นการปั่นกระแส กล่าวอ้างมูลค่าเป็นทรัพย์สิน 100 ล้าน พันล้าน ทั้งๆที่ยังไม่มีอะไรมายืนยันมูลค่าระดับนั้น อย่างมากก็ราคาคุยกันเล่นๆ สนุกๆ

ก็เป็นเรื่องของคนที่ชอบสิ่งสมมติ พูดคุยกันไปเรื่อยๆ

การจะผ่านข้ามสิ่งเหล่านี้ไปได้ ก็ต้อง "เรียน" ให้ รู้ แล้วเราจะไม่หลงไปกับสิ่งสมมติ
อยู่อย่างมีสติ และสัมปชัญญะ 4 ครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

หมายเลขบันทึก: 564143เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2014 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มีนาคม 2014 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท