การเข้าถึงสุนทรียภาพของศิลปะกับชีวิต


Art is long..Life is short.. Love and Understanding is the great thing and never end. (Silpa Bhirasri)

สุนทรียะ

ก่อนอื่นขอขอบคุณสิ่งที่ทำให้ผู้เขียนได้มีโอกาสจัดโครงการ เสกสรรค์ปั้นสุข ตอน ศิลปะสร้างสุข เพราะทำให้ได้ทราบชีวประวัติ ท่าน อ.ศ.ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย และได้รู้จักคำว่า สุนทรียะ

จากนั้นขอนำท่านชม ผลงาน อ.ศ.ศิลป์ พีระศรี

           

และผลงานลูกศิษย์ของท่าน อ.เฟื้อ หริพิทักษ์ ศิลปินแห่งชาติ 

 

และผลงานลูกศิษย์ของท่าน อ.ประยูร อุลุชาฎะ ศิลปินแห่งชาติ

ต่อไปขอชักชวนให้ท่านได้พิจารณาผลงานศิลปะ ฝีมือศิลปินเอกของโลก Plabo Picasso

   

ภาพจิตรกรรมเหล่านี้ได้รับการยกย่องว่างดงาม แต่อาจมีใครบางคนที่ดูแล้วไม่เข้าใจ เข้าไม่ถึง และไม่เห็นความงาม

แต่ทำไมหนอ? เวลาเรามองภาพวาดของลูกหลานเรา เช่น

ทำไมเราจึงชื่นชอบ แล้วเราก็เห็นความงามได้โดยง่าย

การเข้าถึงเรื่องราวของผู้คนก็คงเป็นเช่นนี้ การสัมผัสเรื่องราวของคนไข้ เรื่องราวของคนอื่นก็เช่นเดียวกัน ที่บ่อยครั้งเราเข้าไม่ถึง มองไม่เห็นสุนทรียะในเรื่องราวของเขา แม้เราจะเข้าไปสัมผัสแล้วก็ตาม

การรับรู้ (Perception) ที่นำไปสู่การเข้าถึง (June in) และเข้าใจ (Understanding) เกิดจาก.........

การได้สัมผัส (Sensation) + การแปลความหมาย (Meaning) ด้วยใจบริสุทธิ์ เหล่านี้ "สุนทรียะภาพ" จึงจะเกิดได้นั่นเอง

“การฝึกมองภาพศิลปะคงจะช่วยให้การมองเรื่องราวผู้คนของเรานั้นง่ายขึ้นก็เป็นได้”

 

ขอคารวะท่านอ.ศิลป์ พีระศรีและ อาจารย์ทุกท่าน ด้วยความเคารพ    

                                                                                                                      

หมายเลขบันทึก: 562487เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2014 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2014 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Art คือ สะพานสื่อสารระหว่างศิลปิน คนเสพ และความจริงหรือนัยที่ซ่อนอยู่ในใจศิลปินและนัยของงานศิลป์ เหมือนใจ ที่สื่อออกเป็นงานศิลป์ เราจึงแปลว่า ใจว่า จิต เมื่อฝึกดีแล้วจนกลายเป็นวิจิต แปลว่า จิตที่งาม ใช่มะครับ

ชีวิตนั้นสั้น ศิลปะนั้นยืนยาว (อ.ศ.ศิลป์ พีระศรี)

ฝากติดตามด้วยนะคะ

http://www.gotoknow.org/posts/561862

เรียนท่าน ส.รตนภักดิ์, ศูนย์วิจัยและ KM เพื่อจัดการยาสูบ คุณอักขณิช พี่นงนาท คุณยายธี คุณเพชรน้ำหนึ่ง และ อ.นุ ขอบพระคุณทุกดอกไม้

ศิลปะงดงามทุกแขนงจริงๆค่ะ โดยเฉพาะ คีตกรรม วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม

งานด้านสุขภาพก็มีโอกาสวิจิตได้เช่นเดียวกันใช่ไหมครับ??

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท