อาเซียนผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย


พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาเซี่ยนผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย

เนื่องจากประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมแห่งอาเซียน บรรดาหลากหลายประเทศจะก้าวเข้ามายังประเทศไทยในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรม และด้วยสภาวการณ์ในปัจจุบันที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการติดต่อสื่อสารแบบไร้พรมแดนโดยเฉพาะในเรื่องของสื่อโซเชียลมีเดีย ที่ใช้ใน การรับรู้ข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่าง ๆและเพื่อจะได้ทราบถึงอิทธิพลต่อพฤติกรรมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดียของเด็กนักเรียนในการเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการดำเนินชีวิต รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการรับข้อมูลข่าวสารอาเซียนผ่านโซเชียลมีเดีย

ด้านการรับรับทราบข้อมูลพบว่า รับทราบข้อมูลมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 90.0 ซึ่งเห็นได้จากปัจจุบันโรงเรียนต่างๆ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักรู้และความพร้อมทางด้านต่างๆของนักเรียนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ด้านพฤติกรรมการใช้บริการสื่อโซเชียลมีเดีย พบว่า ใช้บริการสื่อโซเชียลมีเดียที่เป็น Facebook มากที่สุด เนื่องจากอาจเป็นเพราะปัจจุบัน Facebook เป็นที่นิยมของเด็กและเยาวชนอย่างมากในการติดต่อสื่อสาร

ด้านความพร้อมในการเปิดรับประชาคมอาเซียนของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า มีความพร้อมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 73.5 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ โรงเรียนได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้และทักษะในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนเมื่อเข้าสู่อาเซียน “ ต้องกระตุ้นให้เด็กไทยมีความกล้าเรื่องภาษาอังกฤษ กระทรวงศึกษาธิการพยายามหาทุนให้คุณครูไปเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างให้เด็ก เขาจะได้มีความกล้าทางด้านภาษามากขึ้น วันนี้ความตื่นตัวต่อการเรียนภาษาอังกฤษนั้น โรงเรียนต่างๆ ก็แข็งขันมากขึ้น

สื่อโซเชียลมีเดียที่ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียนของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียนทางสื่อ Facebook มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 82.5

ความพึงพอใจในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียนผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย พบว่า มีความพึงพอใจในความเป็นไทยและความเป็นอาเซียนมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.10 โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดคุณลักษณะเด็กไทยในประชาคมอาเซียนในส่วนของเจตคติ ไว้ว่า ด้านเจตคติ 1.) มีความภูมิใจในความเป็นไทยและความเป็นอาเซียน 2.) ร่วมกันรับผิดชอบต่อประชาคมอาเซียน 3.) มีความตระหนักในความเป็นอาเซียน 4.) มีวิถีชีวิประชาธิปไตย ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล สันติวิธี /สันติธรรม 5.) ยอมรับความแตกต่างในการนับถือศาสนา 6.) ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพฤติกรรม เมื่อบุคคลนั้นมีความคิดต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราสามารถรู้ได้โดยการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกมา

 

หมายเลขบันทึก: 562302เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2014 20:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2014 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ คุณ สกุณา สอนธิ

เป็นกำลังใจนะครับ

ขอบคุณครับ :))

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท