"พี่หนาน"
นาย พรพจน์ พี่หนาน เรียงประพัฒน์

แนะนำการแต่งค่าว


๑๗/๐๒/๒๕๕๗

*********

แนะนำการแต่งค่าว

 

       ผมมีโอกาสได้อ่านงานเขียนเกี่ยวกับการแต่งค่าวของพี่หนานชูชาติ ใจแก้ว แล้วก็พอนำมาแนะนำต่อได้บ้าง โดยสรุปแล้ว ดังนี้

       ค่าว เป็นลักษณะของคำประพันธ์คล้ายการเขียนร่ายและโคลงของทางภาคกลาง 

       ผู้ให้กำเนิดค่าวหรือต้นฉบับ คือ พระยาพรหมโวหาร

       ค่าวมีหลายลักษณะตามการประพันธ์ หรือการแต่ง โดยเรียกชื่อตามที่ใช้เฉพาะในเรื่องหรือประเด็นนั้น ๆ คือ...

       หากแต่งเพื่อเน้นด้านธรรมะคัมภีร์ธรรมเทศนา หรือหลักธรรมทางพระศาสนา  เรียกว่า "ค่าวธรรม"

       หากแต่งเพื่อใช้เป็นจดหมายจีบสาวหรืจดหมายรัก เรียกว่า "ค่าวใช้"

       หากแต่งเพื่อใช้ร้องเป็นทำนอง หรือเอื้อนเอ่ย ประกอบดนตรี สล้อ ซึง เรียกว่า "ค่าวซอ"

       หากแต่งเพื่อใช้ร้องในยามที่อารมณ์สุนทรี เช่นหนุ่ม ๆ ร้องจีบสาวในตอนกลางคืน เรียกว่า "ค่าวจ๊อย"

       หากแต่งเพื่อใช้ในโอกาสทั่ว ๆ ไป เพื่อความบันเทิง เล่ากันสนุกสนาน เรียกว่า "ค่าวฮ่ำ" หรืออาจเรียกว่า "เล่าค่าว" หรือการพูดเป็นจังหวะของคนทั่วไปก็เรียกว่า  "อู้เป๋นค่าวเป๋นเครือ" ก็ได้

 

ลักษณะการแต่งค่าว

       ค่าวมีรูปแบบการแต่ง โดยมีผังค่าว คล้ายผังกลอนเช่นกัน โดยแบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ คือ 

       ๑. ค่าวสั้น หรือ ค่าวก้อม โดยมีรูปแบบของผังดังนี้...

 

 

ตัวอย่าง  อู้หื้อเปิ่นฮัก  ยากนักจักหวัง  อู้หื้อเปิ่นจัง    กำเดวก่อได้

           (พูดให้เขารัก  หวังได้ยากมาก  พูดให้เขาเกลียด แป๊บเดียวเอง)

 

       ๒. ค่าวขนาดกลาง มีรูปแบบของผัง หรือลักษณะการแต่งตาม ดังนี้...

 

 

ตัวอย่าง  งัวควายจ้างม้า  ต๋ายแล้วเหลือหนัง ดูกเขาขนยัง  เอาใจ้ก๋ารได้

           มาจ๋าตี่สุด      แม้ปุ๋มและใส้       คนยังเอาไป   เลี้ยงต๊อง

          คนเฮาถ้าต๋าย   สหายปี่น้อง        ไผบ่ออ่วงข้อง  อาลัย

          สุดแต่ดูกพัวะ   เอาขว่างแสนไกล๋  กลั๋วจักเป็นภัย ผีมาหลอกบ้าน ๆ

 

       ๓. ค่าวขนาดยาว  มีรูปแบบของผัง หรือลักษณะการแต่งโดยทั่วไปแต่งตาม ดังนี้...

 

 

 

       รูปแบบของผังค่าวที่พี่หนานชาติใช้แต่งนั้นจะมีรูปแบบของผังผิดไปจากเบื้องต้นนิดหน่อยตรงบรรทัดแรกและบรรทัดสุดท้าย ดังที่ผมตัดมาจากเอกสารของท่านดังต่อไปนี้...

ในส่วนของตัวอย่าง  ก็ลองอ่านตามที่ผมเคยเขียนเอาไว้บ้างแล้ว เทียบกับผังนี้ดูนะครับ

 

       ชี้แจงพอเข้าใจเพิ่มเติมอีกนิด คือ หนึ่งวงกลมแทนคำหนึ่งคำ หรือ หนึ่งพยางค์ ในส่วนที่ลงสีไว้ มี เสียงสามัญ(เขียว)  เสียงโท  เสียงตรี จัตวา และลงไว้สองสีคือ เขียวแดง คือ จะเขียนหรือใช้เป็น รูปหรือเสียงสามัญ และ รุูปหรือเสียงจัตวาก็ได้ หากแต่งเพื่อการประกวด ไม่ควรต่ำกว่า ๘ บท

       โดยสัญลักษณ์ที่ให้ไว้นั้น เราสามารถเขียนเทียบได้ทั้ง รูปของเสียง และรูปของวรรณยุกต์ เช่น รูปของเสียงตรี ตัวอย่าง  เลอะ, เทอะ, นัก, ซ้น, พ้น, พัวะ, วก ,ชก, คด ซด เป็นต้น  ส่วนรูปของวรรณยุกต์ เช่น รูปของไม้ตรี ตัวอย่าง  เจ๊า, จั๊วะ เป็นต้น (นึกไม่ออก) หวังว่าคงพอเข้าใจกันได้เป็นอย่างดี

          ฝากไว้เท่านี้ก่อนก็แล้วกันนะครับ หากมีสิ่งใดผิดพลาดไป ท่านครูอาจารย์ ทางภาคเหนือกรุณาให้คำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อการปรับปรุงแก้ไขต่อไปด้วย และต้องขอขอบคุณพี่หนานชูชาติ ใจแก้ว ที่ทำให้ผมสามารถพอที่จะแต่งค่าวตามได้ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับผม

ขอบคุณคุณผู้อ่าน ผู้สนใจ และขอบคุณโกทูโนว์

 

 

หมายเลขบันทึก: 561870เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2014 17:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014 08:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ไม่เคยได้ยินมาก่อน..เลย ยอมรับว่า เป็นความรู้ใหม่สำหรับเรา ขอบคุณคุณพี่หนานนะ

ขอขอบคุณสมาชิก ครู อาจารย์ ที่ให้กำลังใจทุกท่านมากนะครับ

อ.นุ
tuknarak
ส.รตนภักดิ์
กุหลาบ มัทนา
ดาบ นาอุดม

...

ขอขอบคุณ อ. ส.รตนภักดิ์ ที่กรุณาให้ความเห็นและคำชมนะครับ...ความจริงเรื่องค่าวนี้มีมานานแล้ว และมีผู้เขียนไว้มากมาย ตามแบบฉบับของตนเอง ผมก็พยายามหาศึกษาค้นคว้าเอาตามเน็ตนี่แหละครับ เท่าที่ประมวลมาก็พอสรุปให้สั้น ๆ และง่าย ๆ ตามที่ตนเองเข้าใจ ดังที่กล่าวมานี่แหละครับ

-สวัสดีครับพี่หนาน..

-ค่าวจ๊อย...ชอบๆ ครับ

-ได้เห็นผังการแต่งค่าวแล้วน่าลองแต่งผ่อ..อิ ๆ

-"อู้เป๋นค่าวเป๋นเครือ"....

-ขอบคุณครับ

ขอบคุณค่ะ จะลองนำไปฝึกแต่งดูนะคะ

เห็นคุณ "พี่หนาน" บอกว่า " ตอนนี้ที่บ้านกำลังขุดบ่อน้ำ ผมได้อ่านบันทึกนี้นานแล้วแต่ก็รอดูอยู่ว่าอาจารย์ไอดิน-กลิ่นไม้ จะนำมาเขียนอย่างละเอียดหรือไม่ ก็ยังไม่เห็น อยากได้เอกสารรายละเอียดของการปลูกผักเลี้ยงปลา แบบเป็นขั้นเป็นตอนที่สามารถทำตามได้หนะ (น่ะ) ครับ จะนำมาทดลองทำดูบ้าง ไม่แน่ใจว่าอาจารย์แม่มีเอกสารการทำดังกล่าวหรือไม่..." จากที่คุณ "พี่หนาน" บอกว่า "ที่บ้านกำลังขุดบ่อน้ำ" เกรงว่า จะเป็นการเข้าใจผิด เพราะระบบที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ไม่ใช้การขุดบ่อ แต่เป็นการสร้างถังขึ้นมาดังภาพล่างค่ะ การเลี้ยงปลาและปลูกผักเป็นระบบเกื้อกูลกัน ทำงานแบบหมุนเวียน ไม่ต้องเปลี่ยนน้ำเลี้ยงปลา และไม่ต้องตักน้ำรดพืช เอกสารมีประมาณ 45 หน้า ถ้าอาจารย์เห็นโครงสร้างแล้วและยังคิดจะทำ จะส่งเอกสารไปให้นะคะ ยังไงช่วยยืนยันอีกทีด้วยนะคะ

ขอบคุณยิ่งแล้ว น้องแก้วแอ่วหา จื่นใจ๋แต๊นา หมั่นมาเน้อเจ้า

กั้บข้าวกั้บปล๋า เอามาแกล้มเหล้า ถ่าจะบ่เมา ดอกเนาะ...

ตอบอาจารย์แม่ไอดิน-กลิ่นไม้ครับ ยังยืนยันเจตนาเดิมครับผม อยากได้เอกสารอยู่ครับแต่ก็เกรงว่าจะเป็นการรบกวนทางอาจารย์ เกรงใจจริง ๆ ครับ ส่วนการขุดบ่อน้ำ หมายถึงบ่อน้ำตื้นที่ใช้ภายในบ้านครับ ทดแทนน้ำประปาหมู่บ้านที่ใช้ในช่วงฤดูแล้ง เพราะน้ำจะแห้งมากครับ ไม่ได้เข้าใจอะไรผิดหรอกครับ จะเอาไว้รดผักอื่นๆ ด้วยครับผม ขอบคุณทุกๆ อย่างเป็นอย่างสูงครับ _/l\_

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท