เคยเห็นไหม...: มันตามราก


เชื่อว่า ในท้องถิ่นต่าง ๆ ของเมืองไทย ยังมีมันป่า เหล่านี้อีกหลายชนิดนัก เราน่าจะรวบรวมและ อนุรักษ์มันป่าเหล่านี้ไว้ให้คงอยู่ต่อไป

มันป่า...พืชพรรณธรรมชาติที่เคยมีอยู่มากมายยามเมื่อ " ป่า "

ยังมีความยิ่งใหญ่อยู่เหนือ " เมือง"  มันป่านานาชนิด เคยได้เลี้ยงชีวิต

ทั้งคน ทั้งสัตว์ให้มีชีวิตอยู่ได้นานมา....แต่เมื่อเมืองรุกล้ำอาณาจักรป่า

จนป่าพ่ายแพ้ หมดทางสู้... มันป่า...จึงค่อย ๆ หมดไป  ที่เหลืออยู่ก็

ต้อง " หลบ ๆ ซ่อน ๆ " เพื่อให้พ้นจาก...เครื่องจักร..! และ ยาฆ่าหญ้า..!

 

 

 

เมื่อสัปดาห์ก่อน  แม่ครัวเอามันป่าต้มสุกแล้ว มาฝากคุณมะเดื่อ หน้าตา

เหมือนในภาพนี้แหละจ้ะ  ชาวบ้านเรียกมันชนิดนี้ว่า  " มันตามราก " 

 

 

รูปร่างหน้าตาของ ...มันตามราก...  เหมือนรากไม้รากใหญ่ ๆ ไม่มีผิด

เป็นมันป่าที่ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณ รกเรื้อ ลักษณะของต้นเป็นเถา

เหมือนมันป่าทั่วไป มันจะอาศัยเลื้อยพันต้นไม้  พุ่มไม้ที่อยู่ใกล้ ๆ ยาม

หน้าแล้งต้นของมันจะเหี่ยวแห้ง และตาย ทิ้งไว้แต่ " หัว " ที่อยู่ใต้ดิน

เพื่อรอต้นที่งอกใหม่เมื่อถึงหน้าฝน

 

 

 

ยามหน้าแล้ง ชาวบ้านจะออกหาขุด..มันตามราก.. ตามป่าที่เคยหาขุด

ทุกปี  สังเกตดูเถาที่เหี่ยวแห้งของมันแล้วขุดลงไป ค่อย ๆ หา "ราก" 

ของมัน แล้วขุดตามไปเรื่อย ๆ  รากของมันจะยาวไปตามดินยาวมาก

หรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินบริเวณนั้น  การที่ต้องขุด

ตามรากของมัน (หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ  " หัว " นั่้นเอง)  ไปเรื่อย ๆ นี้

เองน่ะแหละ...จึงเป็นที่มาของชื่อ  "มันตามราก" ที่ชาวบ้านเรียกขานกัน

 

 

 

มันตามราก จะมีให้ได้กินกันเพียงปีละครั้ง  ชาวบ้านที่ขุดเอาหัว หรือราก

ของมันตามรากขึ้นมาแล้ว จะเอา " เหง้า" ของมันฝังไว้ในดินตามเดิม

เพื่อให้มันได้งอกรากใหม่อีกครั้งยามหน้าฝน  เป็นเช่นนี้  จึงทำให้

ชาวบ้านมีมันตามรากให้ขุดเอามากินกันทุกปี...อันนี้หมายถึงยุคสมัยที่

เครื่องจักร และยาฆ่าหญ้า ยังไม่เจริญเติบโตนะ  

 

 

 

เมื่อปอกเปลือกบาง ๆ ออก จะเห็นเนื้อของมันตามรากมีสีขาวเหมือนใน

ภาพนี้  เนื้อจะเหนียวเหมือนมันป่าทั่วไป รสชาติหวานนิด ๆ เวลากิน

ก็จิ้มกับน้ำตาลทราย อร่อยมาก

 

 

 

คุณมะเดื่อได้ขอให้ผู้ปกครองเด็กช่วยเก็บ " เหง้า " ของมันตามรากให้

สักสองสามเหง้า จะเอามาเพาะชำไว้ เพื่อรักษาพันธุ์ และขยายพันธุ์

ต่อไป ตั้งใจว่า  ส่วนหนึ่งจะเอาไปรวมไว้ในสวนเมืองกาญจน์ของยายธี

 

 

เคยปรารภกับคุณเพชร น้ำหนึ่่ง (ขออนุญาตพาดพิงนะจ๊ะ ) ถึงเรื่องการ

รวบรวมพันธุ์ไม้พื้นบ้านที่หายาก ใกล้สูญพันธุ์  โดยเฉพาะ มันป่านานา

ชนิดไว้ แล้วหาแหล่งที่จะปลูกเพื่อการศึกษา หรืออนุรักษ์ และขยาย

พันธุ์มันป่าพื้นบ้านนี้ต่อไป .....

โดยสถานที่หนึ่ง ที่จะเอาไปฝากไว้ก็คือ วนวารสวนเมืองกาญจน์ของ

ยายธี  ซึ่งคุณเพชรก็คงเห็นด้วยกับความคิดนี้ 

 

 

 

มันป่า...อาหารป่าเหล่านี้ยังมีอีกมากชนิด เช่น  มันหลวง  กลอย มันเสา

มันเลือดนก ฯลฯ และเชื่อว่า ในท้องถิ่นต่าง ๆ ของเมืองไทย ยังมีมันป่า

เหล่านี้อีกหลายชนิดนัก  อย่างที่คุณเพชร  น้ำหนึ่ง นำมาลงในบันทึก

หลาย ๆ บันทึกแล้วนั้น  แต่จำนวนนั้นลดน้อยลงไปทุกวัน และอาจจะมี

บางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้วก็เป็นได้  น่าเสียดายนะ  เราน่าจะรวบรวมและ

อนุรักษ์มันป่าเหล่านี้ไว้ให้คงอยู่ต่อไป

 

 

 

มิตรรักแฟนเพลงของคุณมะเดื่อ ท่านใดรู้จัก หรือมี " มันป่า " พื้นบ้าน

ไว้ในครอบครอง กรุณานำมาลงบันทึกให้คุณมะเดื่อได้รู้บ้างนะจ๊ะ  และ

ฝากช่วยอนุรักษ์ไว้บ้าง  หรือจะยกให้คุณมะเดื่อก็ยินดียิ่งนะจ๊ะ

ขอบคุณล่วงหน้าจ้าาา

 

หมายเลขบันทึก: 559604เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2014 13:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2014 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

หวัดดีท่านเจดีย์.. เอ๊ย..! ดี.เจ.คนเก่ง ขอเพลง...บ่นแก้เบื่อ...จ้าาา

น่าทานครับพี่ แปลกดี น่าทานดีด้วย ลักษณะคล้ายๆ สาคูไหมครับ

หวัดดีน้องลูกหมู ไม่เหมือนหัวสาคูจ้ะ ทั้งต้น ทั้งหัว สาคูจะกระเดียดไปทางต้นพุทธรักษา แต่มันตามรากจะไปทางมันมือเสือจ้ะ ขอบคุณมากมายที่แวะมาทักทายกันจ้ะ

คงจะหอมอร่อยนะคะ

เพลงไพเราะมากค่ะ

จัดจานสวยจังเลยค่ะ

สวัสดีน้องมะเดื่อ.....

สุขภาพเอวกับสุขภาพขา ไม่สมบูรณ์ จึงห่างหายไปจากบันทึก

เช้านี้เข้ามาเห็นมันตามราก ทำให้นึกถึงมัน "บ้าน" หลายชนิด

และร่วมกลุ่มหาพัน์ไม้พื้นเมือง ไปฝากเอาไปฝังที่สวนคุณยายธี

ที่พบเห็นมันๆ ๆ เท่ที่นึกได้

มันอ้น

มันทราย

มันขี้หนู

ส่วนที่คุณลูกหมู นำมาให้ดู หัวสาคู วิลาส วันหลังจะเอาต้นมาให้ดู...... สาคูวิลาส

เคยกินแค่มันสัมปะหลัง..มันมือเสือ...มันผิวแดงหาซื้อได้ตามริมถนนไปอยุธยา...มันฝรั่ง..เออ..แต่ทว่ารากมัน..มันเก็บอาหารของมันไว้กินชาติหน้าตามครรลองศาสนามัน..แล้วจะมีเวรกรรมกับมันใหม..หรือเอามันมาชั่ง..แล้วกันไป..

-สวัสดีครับครู

-ตามมาชม"มันตามราก"

-น่าสนใจมาก ๆครับ

-ขอบคุณที่กรุณา"พาดพิง" ฮ่า ๆ

-ยินดีเป็นส่วนหนึ่งในการเก็บรวบรวมพันธุ์มันหายากครับ

-วันก่อนทำเมนูจาก"มันมู้"และเก็บเอา"ต้นมันมู้"ไปปลูกไว้ด้วย

-คาดว่าปีหน้า..คงได้กิน"มันมู้"อีก..

-ขอบคุณครับ..

หวัดดีจ้ะคุณอรคนงาม มันตามรากจะเหนียวหนึบ หวานนิดหน่อย หอมกลิ่นมันป่า จ้ะ ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะจ๊ะ คิดถึงอยู่มิรู้คลาย

หวัดดีจ้ะลุงวอ ดีใจที่ลุงวอกลับมาทักทาย ทั้ง ๆ สุขภาพไม่ค่อยสมบูรณ์ และจะร่วมด้วยช่วยกันหาพันธุ์มันป่ามันพื้นบ้านไปฝากฝังไว้ัที่ วนวาร ของยายธี ขอบคุณล่วงหน้านะจ๊ะ รักษาสุขภาพด้วยจ้ะ

เพลา ๆ การเดินทางบ้างนะ จะได้พักผ่อนมากขึ้นจ้ะ

สวัสดีจ้ะพี่กาญจนา เป็นมันป่า มันพื้นบ้าน ที่ปัจจุบันหายากแล้วจ้ะ เพราะ " มันเมือง" โจมตีเอา ขอบคุณที่มาให้กำลังใจนะจ๊ะ

สวัสดีจ้ะคุณณัฐนพ มันป่า คงจะทุกชนิด หากเราไม่ขุดหัวของมันขึ้นมา ถึงปีหัวของมันจะแห้ง ... ฝ่อ...ไปตามธรรมชาติ แล้วก็จะมีต้นอ่อนที่จะขึ้นมาแทนใหม่ หมุนเวียนไปอย่างนี้จ้ะ ขอบคุณที่แวะมา

ทักทายกันจ้ะ

หวัดดีคุณเพชร ดีใจ ๆๆๆๆๆๆๆ ที่คุณเพชร " หลวมตัว ... เผลอตน " มาร่วมด้วยช่วยกันในการอนุรักษ์มันป่า เอาไปฝากไว้ใน วนวาร ของยายธี ขอบคุณล่วงหน้านะจ๊ะ

มีมันชนิดหนึ่งตอนที่จ้อฝึกงานที่ ลำปาง เขาเรียกมันเลือดนก ค่ะ พอจะเคยได้ยินกันมั่งไหมค่ะ

แถว ๆ บ้านเรามีจ้ะ กินได้ทั้งหัวใต้ดิน ทั้งบนดิน (ตามเถา ) คล้าย ๆ มันมู้ของคุณเพชร น้ำหนึ่ง

งั้นต้มเลย จิ้มน้ำตาล อร่อย

<p>กิมจิ เมืองไทย(ส้มผัก) (ต้นหอม ผักกาด กวางตุ้งต้นเล็ก)</p>

เมื่อวันอังคารที่ 14 ม.ค. พี่ไปเจอหัวมันที่ไม่รู้จัก รีบเดินรี่เข้าไปถามชาวบ้านที่นำไปขายซึ่งบอกว่าชื่อ "มันพร้าว" พี่ถามว่า ปลูกได้ไหมเธอบอกว่าได้ พี่เลยซื้อไป 3 หัว นึ่งกินไปแล้ว 2 หัว (นำส่วนที่ติดกับเถาไปแช่ไว้ลองดูว่าจะมีรากงอกไหม) หัวที่เห็นในภาพจะนำไปปลูกค่ะ คนขายบอกอีกหนึ่งปีถึงจะมีหัวให้กิน แค่เห็นรากงอกและแตกใบพี่ก็พอใจแล้วล่ะ ภาพนี้เพิ่งถ่ายเย็นวันนี้เอง ภาพซ้ายและภาพกลาง พอเห็นน้องมะเดื่อบอกว่า "มิตรรักแฟนเพลงของคุณมะเดื่อ ท่านใดรู้จัก หรือมี 'มันป่า' พื้นบ้าน ไว้ในครอบครอง กรุณานำมาลงบันทึกให้คุณมะเดื่อได้รู้บ้าน (บ้าง) นะจ๊ะ" เลยรีบไปปอกมันที่นึ่งไว้เพื่อถ่ายรูปเพิ่มเติมอีกภาพ (เลียนแบบการจัดให้ดูดีขึ้นด้วยค่ะ)

พี่สนับสนุนการรวบรวมและอนุรักษ์ไม้ป่า ไม้ท้องถิ่น รวมทั้งหัวมันด้วย เห็นคุณเพชรน้ำหนึ่งจะเป็นผู้นำในเรื่องนี้ก็ดีใจ ฝากไปถึงคุณเพชรฯ ขออาจารย์แม่ไอดินฯ เป็นสมาชิกเครือข่ายด้วยคนนะคะ

พี่สืบค้นใน 'net พบ Blog หนึ่งของครู ร.ร.มัธยมที่อุบลฯ เขียนเกี่ยวกับมัน และเรียกมันชนิดนี้ว่า "มันพร้าว" เช่นกันค่ะ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียด

สวัสดีจ้ะพี่ไอดิน ฯ ขอบคุณสำหรับ มันพร้าว เพิ่งเคยเห็น และเคยได้ยินชื่อนี่แหละจ้ะ เก็บต้นพันธุ์ไว้ให้คุณมะเดื่อสักต้นนะจ๊ะ ขอบคุณล่วงหน้าจ้ะ

สวัสดีจ้ะท่านอาจารย์สันติสุข ไม่ใช่รากหญ้าจ้ะ แต่ เป็นรากมัน...ของแท้ ๆ จ้ะ อิ อิ ขอบคุณที่อาจารย์ฺกรุณามาทักทายจ้ะ

ขอบคุณมากครับสำหรับบันทึกนี้ เพิ่งเคยเห็นจริงๆ ว่า รากมันนำมาทานได้และมีกระบวนการที่น่าสนใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท