แร่เม็ดมะขาม งอกออกมาเป็น "แร่ดอกมะขาม" งามจับตา ในพระกำแพงซุ้มกอ


ในการสร้างพระตระกูล "กำแพง" จะมีการนำแร่เหล็กประเภท "ลูกรัง" มาบด แล้วผสมลงในเนื้อพระดินดิบ

แต่ แร่ที่ว่านี้ แตกต่างไปจากแร่เหล็กที่อิ่นๆ ตรงที่จะมีการละลายตัวเข้าไปในน้ำว่านได้ด้วย

ที่ไม่พบในพระลำพูน หรือ ผงสุพรรณ ทั้งๆที่มีหลักฐานเชิงกระบวนการสร้างคล้ายๆกัน

 

การละลายตัวของแร่เหล็กเข้าไปในคราบน้ำว่านนี้ ทำให้เกิดโทนสีแตกต่างกันแบบไล่ลำดับสี (Chromatographic)

ที่จะมีสีเข้มไปหาจางของกลุ่มสีแดงไปหาลีพื้นเดิมของน้ำว่าน ที่มักจะมีสีเหลืองๆ

และยังผสมผสานกับคราบน้ำปูนสีขาวๆเพิ่มเข้ามาอีก จึงดูคล้ายๆ สีของ "ดอกมะขาม"

ที่เป็นที่มาของคำว่า "แร่ดอกมะขาม" 

ที่ต้องใช้เวลายาวนานพอสมควรในขั้นตอนการพัฒนาการ

จึงสามารถใช้ดูอายุพระเนื้อดินดิบ โดยเฉพาะพระกำแพงซุ้มกอ

ดังคำกลอนสอนดูพระว่า "....ซุ้มกอซึ้ง แร่ดอกมะขาม งามจับตา..."

เพราะเมื่อต้องแสงอาทิตย์นั้น งามจริงๆ 

และ แน่นอน แค่เม็ดลูกรังจะไปงามได้อย่างไร

 

ยิ่งเรียนก็ยิ่งรู้ เป็นเช่นนี้เอง

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

หมายเลขบันทึก: 558985เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2014 12:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2014 12:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เพิ่งสังเกตุ..ค่ะ คนที่ผสมส่วนผสมนี้ บังเอิญ หรือว่าตั้งใจ ที่จะให้ได้ผลลัพธ์อย่างนี้..คะ

ถ้าตอบว่าบังเอิญก็ ธรรมดาๆ

แต่ถ้าตอบว่า "ตั้งใจ" ก็เป็น เจโตปริญญาณ ครับ

เพราะจะรู้ได้ ก็อีกเป็นร้อยๆปีครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

จำเป็นต้องมีทุกองค์เหรอครับ

ครับ แต่จะชัดมากน้อยขึ้นอยู่กับสีพื้นของพระครับ

ของผมแม่เหล็กสามารถดูดติดได้ครับ

ด้วยความเคารพ ได้ความรู้มากครับ ครูอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท