หลักการ 2 ข้อ ในการดูพระคงลำพูนแท้ๆ แบบง่ายๆ


หลังจากได้พระคงมาเจ็ดองค์ในช่วงสองสามวันที่ผ่านมา ก็เลยนำพระคงลำพูนมานั่งส่องหาจุดฟันธงแบบง่ายๆ

และนำหลักการไปดูพระดินดิบอื่นๆ ทั้งซุ้มกอ นางพญา ผงสุพรรณ ก็ได้หลักการง่ายๆ เดียวกัน

คือ

1. ดูความละเอียดอ่อนช้อยของพิมพ์

เช่น กรณีของพระคง ก็ดูซุ้มโพธิ์ ที่มีเส้นละเอียดยิบ (ของเก๊จะดูเละๆ เลอะๆ)

พระกำแพงซุ้มกอก็ดูศิลปะ และซุ้มโพธิ์ (ที่วงการชอบเรียกว่า ตัวกนก)

พระนางพญา ก็ดูศิลปะ และพิมพ์ทรง

 

แล้วก็

2. พลิกหลังมาดู "เม็ดน้ำว่าน" สะท้อนแสงแวววาว เป็นเม็ดๆ แบบเดียวกับพระเนื้อดินดิบทั้งหลาย

จุดสะท้อนแสง "มันวาว" คือ ก้อนน้ำว่าน (ในภาพนี้ ตามขอบ) จุดเหล่านี้จะมีช่องว่าง ไม่ต่อเนื่องกัน

ถ้าต่อกันเต็มพื้นที่ละก๊ "เก๊" ชัวร์

จุดเหลืองๆส้มๆ คือจุดสะท้อนแสง จุดขาวๆเทาๆ จะไม่สะท้อนแสง

ดูออกแค่นี้ก็หยิบพระแท้ได้แล้ว

ถ้าสะท้อนทั้งหมดทั้งสองแบบ ก็เนื้อพลาสติกอัดละครับ

พระดินดิบแท้ๆ จะคล้ายกับพระเนื้อผงแท้

ส่องกับแสงจะเห็นเม็ดน้ำว่านใสๆ พราวแบบ "เม็ดๆ" ทั้งบริเวณ

ถ้าไม่มี หรือมีเป็น "แถบๆ" (เต็มพื้นที่) เก๊สถานเดียว

จับหลักนี้ได้ ดูเนื้อพระดินดิบได้ทุกองค์ ทุกกรุ ไม่มีข้อยกเว้น

(ช่างยังไม่รู้ แต่ไม่นานก็คงรู้ ที่อาจต้องหาหลักอื่นๆต่อไป)


 

ง่ายๆแค่นี้ละครับ

ลองดูนะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 558237เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2014 23:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2014 07:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบพระคุณอย่างสูงครับอาจารย์ ผมจะพยายามต่อไป

หลักการ 2 ข้อดูง่ายจัง แต่ไม่เคยเห็นของจริงก็ยังดูไม่เป็นอยู่ดีครับ มาเรียนตอนแก่นี่คงยากพิลึกครับอาจารย์

ไม่มีใครแก่เกินเรียนครับ อิอิอิอิอิอิอิอิ

นี่ถ้าได้เห็นของจริงฟังอาจารย์สอนและชี้ให้ดู ก็คงง่ายขึ้นและดูเป็นไปแล้ว อิอิ มีโอกาสคงได้ไปกราบอาจารย์ครับ

คนที่ชอบอยู่กับความฝัน ก็ฝันต่อไปแล้วกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท