พระดินดิบที่เนื้อสมดุล จะทนทานได้เป็นพันๆปี


จากการศึกษาพระเนื้อดินดิบแบบต่างๆ พบว่าส่วนใหญ่แล้วจะมีปัจจัยที่น่าจะเกี่ยวข้องหลักๆอยู่ 3 ปัจจัย คือ

1. ดินเหนียว 2. น้ำว่าน และ 3. การบ่มด้วยความร้อนจากเปลวไฟ หรือไอความร้อนแล้วแต่กรณี

ดินเหนียวที่ใช้ส่วนใหญ่ดูเหมือนจะผ่านการร่อน แยกวัสดุชิ้นใหญ่ๆออกไป แต่ก็ยังพบว่ามีเม็ดทรายขนาดเล็กและแร่ไมก้าปะปนอยู่ในเนื้อดิน 

แต่ก็ยังมีการนำทราย ปูนขาว และแร่ต่างๆ ตามความเชื่อเชิงพุทธคุณ หรือความทนทานขององค์พระ มาผสมในเนื้อพระ ที่นิยมเรียกกันว่า "มวลสาร" ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละรุ่น แต่ละกรุ 

 

น้ำว่านนั้นน่าจะเป็นน้ำมันข้นที่ได้จากพืชสมุนไพรต่างๆ เคี่ยวจนเหนียวพอสมควร ก่อนน้ำมาคลุกให้เข้ากันกับดินเหนียวและมวลสารที่ผสมไว้แล้ว จึงทำให้พบว่าบางองค์ก็พอดี บางองค์ก็แก่ดิน บางองค์ก็แก่น้ำว่าน ไม่แน่นอน

 

เมื่อพอปั้นเป็นก้อนได้แล้ว ก็นำมากดพิมพ์ให้ได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้

 

จากลักษณะที่ปรากฏที่องค์พระดินดิบทุกองค์ จะมีคราบน้ำยางไม้ไหม้ติดอยู่นั้น สามารถอนุมานว่า หลังจากการกดพิมพ์แล้วก็นำจะนำพระที่ได้ไปชุบน้ำยางไม้ ให้ยางไม้รัดผิวพระไว้ ลดการปริแตกขององค์พระที่กดใหม่ๆ

และหลังจากนั้นก็นำไปผึ่งให้แห้ง กันการเกาะกันของพระจากความเหนียวของยางไม้

เมื่อแห้งสนิทด๊แล้วก็นำไปบ่มความร้อนในเตาอบ ที่พบว่ามักจะมีร่องรอยเปลวไฟไหม้น้ำยางและเนื้อพระเป็นจุดๆ หรือแถบๆ

ยกเว้นพระที่มีขนาดเล็กมากๆนั้น น่าจะนำไปใส่หม้อก่อนที่จะนำไปบ่มไฟ

จุดที่มีส่วนผสมของดินและน้ำว่านพอดี เมื่อถูกความร้อนพอดีๆ เนื้อจะแข็งแกร่งทนทานได้เป็นพันปี และที่ผิวก็ยังมีคราบน้ำว่านซึมออกมาคลุมผิวปกป้องผิวพระได้อีกชั้นหนึ่ง

และน้ำว่านนี้น่าจะป้องกันการเจริญของจุลินทรีย์ได้อีกด้วย จึงป้องกันการผุกร่อนได้ดียิ่งขึ้น

รอยแมลงเจาะนั้นส่วนใหญ่จะพบในพระที่แก่น้ำว่านและอ่อนไฟ ที่ยังมีเนื้อนิ่ม แมลงกัดเจาะได้ง่าย

แต่ถ้าไฟแรงเกินไป เนื้อดินจะถูกเผาจนกลายเป็นสีแดง น้ำว่านระเหยหรือไหม้ไปบางส่วน กลับจะทำให้เนื้อแข็งแบบอิฐ แข็งทนดีเพียงในระยะสั้น แต่อาจผุกร่อนได้ในระยะยาว

แต่ถ้าแม้ไฟจะแรง แต่มีน้ำว่านมากพอ ก็จะไม่ไหม้ ยังทำให้พระเนื้อแกร่งได้ดีพอสมควร แต่จะแกร่งสู้เนื้อสมดุลไม่ได้ 

แต่ถ้าน้ำว่านมาก และไฟแรง เนื้อพระกลับจะปริแตกได้เช่นกัน

ในทางกลับกัน พระที่อ่อนไฟนั้น เนื้อจะยุ่ยเป็นส่วนใหญ่ 

ทั้งยุ่ยแบบแฉะๆ จากการแก่น้ำว่าน หรือยุ่ยแบบฝุ่นๆ เพราะแก่ดิน

และถ้าเป็นพระเนื้อว่านนั้น จะยุ่ยจากการทีผงว่านมากอีกต่างหาก คล้ายๆกับการแก่ดิน แต่จะยุ่ยและผุง่ายกว่ามาก

ดังนั้น จึงมีเฉพาะพระเนื้อสมดุลเท่านั้นที่จะแข็งแกร่งทนทานมากที่สุด และมีการปั่นตลาดราคากันมากว่าเป็น "เนื้อนิยม"

และมองเนื้ออื่นๆว่า "ไม่นิยม" หรือแม้กระทั่งตีเป็นพระเก๊ ทั้งๆที่ก็ผ่านกระบวนการมาแบบเดียวกัน

ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนที่รู้กับคนไม่รู้จะพิจารณาต่างกันตามความชอบของแต่ละคนครับ

แต่เนื้อสมดุลนี่น่าทึ่งที่สุดครับ แข็งแกร่งทนทานจริง

หมายเลขบันทึก: 557946เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2014 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มกราคม 2014 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีปีใหม่ครับ ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์และความดีงามในจักรวาล บันดาลให้อาจารย์ และครอบครัว มีความสุข และสุขภาพดีนะครับ

ขอบคุณมากครับ ขอให้ท่านได้รับพรดีๆเช่นกันครับ

สวัสดีปีใหม่ ครับ ขออารธนาคุณพระรัตนตรัย ประสาทพรให้อาจารย์ และครอบครัว มีสุขภาพดี เจริญก้าวหน้าทั้งทางโลก และทางธรรม ครับ

สวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์ ขอให้มีความสุขและสุขภาพแข็งแรงครับ

สวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์ ขอให้มีความสุขและสุขภาพแข็งแรงครับ

สวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์ ขอให้มีความสุขและสุขภาพแข็งแรงครับ

สวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์ขอให้สุขภาพแข็งแรงอายุยืนยิ่งๆขึ้นๆไปครับ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท