ร่วมสร้างสรรค์หลักประกันสุขภาพที่ยั่งยืน ตามพรบ. หลักประกันสุขภาพ ม.50 (5)


การขึ้นทะเบียนหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน

 

 

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2556 ที่ผ่านมาทางศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จังหวัดพัทลุง โดย คุณ สำเริง  สุดสวาท  คุณเสรี  กลิ่นจันทร์ คุณพวงรัตน์ คงประเสริฐ และคุณ สมศิริ  ยิ้มเมือง ได้ประสานงานให้ผู้เขียน นัดกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นเครือข่าย 9 ด้าน เพื่อมาทำความเข้าใจ ในพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตาม มาตรา 50 ( 5 ) ซึ่งก็ได้มีเครือข่ายที่เข้าร่วมประชุม หลายเครือข่าย เช่น เครือข่ายเด็กและเยาวชน เครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายคนพิการ เครือข่ายผู้ติดเชื้อ อสม. ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ซึ่งก็ได้ประชุมทำความเข้าใจ และได้แต่งตั้งคณะทำงานศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน อำเภอปากพะยูนขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อบริหารขับเคลื่อน หลักประกันสุขภาพตามเจตนารมย์ของ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

 

คุณ ตา สมศิริ ยิ้มเมือง อธิบาย มาตรา 50 (5)

 

 

การขึ้นทะเบียนหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน

         

                   มาตรา ๕๐(๕) แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ กำหนดให้มีหน่วยรับเรื่องร้องเรียนเพื่อให้ประชาชนสามารถเสนอเรื่องร้องเรียนได้โดยสะดวก และเป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน

                    การดำเนินการที่ผ่านมา คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขได้ออกข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการร้องเรียนของผู้ถูกละเมิดสิทธิจากการใช้บริการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๔๗ กำหนดให้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (โดย Call center) สำนักงานสาขาเขต สำนักงานสาขาจังหวัด เป็นหน่วยรับเรื่องร้องเรียน

                   เพื่อให้มีหน่วยงานที่ประชาชนสามารถเสนอเรื่องร้องเรียนได้โดยสะดวกและเป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขจึงออกประกาศหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน โดยมีสาระสำคัญ และแนวทางปฏิบัติดังนี้ 

๑)   ผู้ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยรับเรื่องร้องเรียน

ผู้ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยรับเรื่องร้องเรียน จะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน มูลนิธิ สมาคม ชมรม หรือการรวมกลุ่มในรูปแบบอื่นทั้งที่เป็นนิติบุคคล หรือไม่เป็นนิติบุคคล ซึ่งดำเนินงานด้านคุ้มครองสิทธิ โดยมีวัตถุประสงค์ที่มิใช่เป็นการแสวงหาผลกำไร

(๒)   การยื่นคำขอขึ้นทะเบียน

-         ใช้คำขอขึ้นทะเบียนตามแบบที่คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขกำหนด

-         ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาจังหวัดหรือสาขาเขตนให้มาขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยรับเรื่องร้องเรียนตาม

 

(๓)   การพิจารณาขึ้นทะเบียน

-    สำนักงานสาขาจังหวัดจะเป็นผู้รวบรวมคำขอขึ้นทะเบียน พร้อมเอกสารหลักฐานเสนอให้คณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ระดับจังหวัดตรวจสอบและประเมินคุณลักษณะเบื้องต้น หากเห็นว่าหน่วยงานใดเหมาะสมที่จะกำหนดให้เป็นหน่วยรับเรื่องร้องเรียน ให้เสนอคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขเพื่อพิจารณา

-    คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขพิจารณาผลการตรวจประเมินแล้วเห็นด้วยกับผลการประเมินนั้น ก็จะออกประกาศให้เป็นหน่วยรับเรื่องร้องเรียน

-    คณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขสามารถใช้ดุลพินิจในการกำหนดจำนวนหน่วยรับเรื่องร้องเรียนในแต่ละพื้นที่ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมหรือข้อจำกัดในแต่ละพื้นที่ประกอบ

(๔)   คุณลักษณะของหน่วยรับเรื่องร้องเรียน

-         ไม่เป็นหน่วยบริการ หรือไม่เป็นหน่วยงานต้นสังกัด หรือไม่เป็นหน่วยงานในสังกัดของหน่วยบริการ

-         มีสถานที่ในการปฏิบัติงานอยู่แล้วและประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก และไม่ตั้งอยู่ในหน่วยบริการ

-    จะต้องดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรับเรื่องร้องเรียนมาไม่น้อยกว่าสองปี ไม่ว่าจะเป็นการรับเรื่องร้องเรียนใดๆก็ได้ โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

-    สามารถให้บริการแก่ผู้มาติดต่อได้ตลอดเวลาทำการ อาจจะไม่ได้ปฏิบัติงานที่หน่วยงานแต่ให้สามารถให้ติดต่อทางโทรศัพท์ได้ตลอดเวลาก็ได้

-    มีเจ้าหน้าที่ที่เคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับการให้ความรู้ความเข้าใจในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และวิธีการดำเนินการรับเรื่องร้องเรียน ซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสำนักงานเขต เป็นผู้จัดการอบรม และหากมีหน่วยงานใดที่ประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยรับเรื่องร้องเรียน แต่ยังขาดคุณสมบัติในเกี่ยวกับการอบรมนี้ สำนักการมีส่วนร่วมของภาคีจะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดอบรม โดยจะเชิญสำนักกฎหมาย และสำนักประชาสัมพันธ์และบริการประชาชนเป็นวิทยากร

(๕)   หน้าที่ของหน่วยรับเรื่องร้องเรียน

-         รับและบันทึกเรื่องร้องเรียน

-         ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น ประสานงาน ชี้แจง สร้างความเข้าใจ

-    สรุปผลการดำเนินงานแต่ละเดือน และรายงานประจำปีเสนอคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข

(๖)   การติดตามกำกับ

-    คณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข จะต้องดำเนินการตรวจประเมินหน่วยรับเรื่องร้องเรียนเป็นประจำทุกปี ซึ่งอาจมอบให้สำนักงานสาขาจังหวัดหรือสาขาเขตดำเนินการตรวจประเมินแทนก็ได้

-    กรณีตรวจสอบพบว่า หน่วยรับเรื่องร้องเรียนปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง หรือมีเหตุอันทำให้ประชาชนไม่สามารถเสนอเรื่องร้องเรียนได้โดยสะดวก หรือไม่เป็นไปตามลักษณะของหน่วยรับเรื่องร้องเรียนที่กำหนด คณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขมีอำนาจพิจารณาตักเตือน หรือเสนอคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขเพิกถอนการขึ้นทะเบียน

-    หากหน่วยรับเรื่องร้องเรียนมีพฤติการณ์ไม่สุจริต หรือแสวงหาผลประโยชน์ ให้คณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขเสนอคณะควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขพิจารณาเพิกถอนการขึ้นทะเบียน

(๗)  การสนับสนุนงบประมาณ

ยังไม่มีแผนงบประมาณสนับสนุนงบประมาณให้กับหน่วยรับเรื่องร้องเรียน แต่หากเป็นศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน ซึ่งมีการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนและมีงบประมาณสนับสนุนอยู่แล้ว ก็จะผลักดัการขึ้นทะเบียนหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน

         

                   มาตรา ๕๐(๕) แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ กำหนดให้มีหน่วยรับเรื่องร้องเรียนเพื่อให้ประชาชนสามารถเสนอเรื่องร้องเรียนได้โดยสะดวก และเป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน

                    การดำเนินการที่ผ่านมา คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขได้ออกข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการร้องเรียนของผู้ถูกละเมิดสิทธิจากการใช้บริการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๔๗ กำหนดให้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (โดย Call center) สำนักงานสาขาเขต สำนักงานสาขาจังหวัด เป็นหน่วยรับเรื่องร้องเรียน

                   เพื่อให้มีหน่วยงานที่ประชาชนสามารถเสนอเรื่องร้องเรียนได้โดยสะดวกและเป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขจึงออกประกาศหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน โดยมีสาระสำคัญ และแนวทางปฏิบัติดังนี้

 

 

ขอบคุณข้อมูลจากบันทึกของคุณ tawan714 ในGotoKnow

เจ้าหน้าที่ รพ.ปากพะยูนมาร่วมประชุมรับฟัง นำโดยคุณ เพ็ญ สุขมา และคุณ ฉลวยเหลาะหมาน

 

 เครือข่ายเยาวชน

 

 

เครือข่ายผู้สูงอายุ

คณะกรรมการและผู้ประสานงาน สปสช.

หมายเลขบันทึก: 548485เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2013 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2013 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

เป็นอีกช่องทางที่ผู้รับบริการ ร้องเรียนได้สะดวก และอิสระ

ผู้เฒ่าพเนจรได้หลับนอนพักผ่อนบ้างหรือไม่

ชีวิตยังมีคุณค่าอีมากมาย  ไม่เป็นไรเวลานอนยังมีอีกมากมายในหลุมฝังศพ

ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่...ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมมากที่สุด ขอนับถือจริง ๆ

ระลึกถึงน่ะค่ะ

ตามมาชื่นชมบัง

ขอให้มีกำลังใจในการทำงานต่อไปครับ

 

  

.... มาชื่นชม .... เครือข่าย 9 ด้าน .... ของบังค่ะ 

งานที่ท่านได้ทำ แม้เหน็ดเหนื่อยแต่สังคมได้รับอะไร ๆ มากกว่านั้น ขอบพระคุณท่านมาก ๆ คะ

งานคือชีวิต....ชีวิตคืองาน...บันดาลสุข...จริง ๆ เนาะ

สวัสดีค่ะท่านวอญ่ามาเยี่ยม ระลึกถึงเสมอค่ะ การงานเดินหน้า ประชาเป็นสุข นะคะท่าน

เรียนอาจารย์ หนุ่ย ศูนย์ รับเรื่องร้องเรียน คือช่องทางไกล่เกลี่ย กรรมการมาจากภาคส่วนของเจ้าที่ด้วย

แต่ภาคประชาชนมากกว่า

จึงคาดหวังว่า คงจะเป็นเรื่องดีแก่ทุกฝ่าย

เรียนครูหยิน "เวลานอนยังมีอีกมากมายในหลุมฝังศพ"  เป็น วจนะของท่านศาสดามุหัมหมัด (ซล)

ได้กล่าวไว้  ค่ายครั้งหน้า จัดเดือนไหนครับ หรือจะจัดถอดบทเรียน ธนาคารความดี การจัดการขยะกันก่อน

ขอบคุณท่าน ดร.จูล มาเป็นกำลังใจ

เรียนท่านอาจารย์ ขจิต กำลังใจจากการทำงาน

"เงินคือเงิน  งานคืองาน

หมอและพยาบาลบันดาลสุข"

เรียนคุณหมอเปิ้น  เครือข่าย 9 ด้าน ตาม พรบ. หลักประกันสุขภาพ ในบางพื้นที่ มีไม่ครบด้าน

เช่นแรงงานนอกระบบ  แต่ที่มีอยู่พววกเราก็ติดตามดูแลเรื่องสิทธิ์ให้อยู่

เรียนคุณตอกมัดกล้า   การทำงานคือการพักผ่อนครับ

สวัสดีน้อง มะเดื่อ 

เงินคือเงิน

งานคืองาน  หมอและพยาบาล บรรดาลสุข

สวัสดีครับคุณครู  ตูม "การงานเดินหน้า ประชาเป็นสุข " แม่นแล้วครับท่าน

-สวัสดีครับท่านวอญ่า...

-ตามมาให้กำลังใจ..

-เก็บ"ลูกนมวัว"มาฝากครับ

-ทางใต้เรียกว่าอะไรหนอ??

เรียนเพชร  นมวัว กินมาตั้งแต่เด็ก

ผลไม้อีกชนิดหนึ่งคือ  กล้วยมูสัง อันนี้กินประจำ  ตอนหลังไม่เห็นมีแล้ว

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท