กิจกรรมการเรียนรู้ (เท่าที่คิดได้ตอนนี้) จำแนกตามประเภทการเรียน (online & offline; in-class & out-of-class)


ได้มีโอกาสเขียนบันทึกเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้มาบ้างนะครับ (ที่นี่ ที่นี่ และ ที่นี่) และได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับห้องเรียนกลับทางไว้ด้วย (ที่นี่) ก็เลยอยากจะแบ่งให้เห็นว่าจริงๆ แล้วห้องเรียนกลับทางอยู่ตรงไหน ในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหลาย

ผมแบ่งหมวดหมู่ตามความรู้ (เท่าที่มี) เกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ โดยอิงตามพื้นที่ที่การเรียนรู้เกิดขึ้น (online หรือ offline, in-class หรือ out-of-class) ซึ่งในที่นี้จะขอจำกัดความ "กิจกรรมการเรียนรู้" ว่าหมายถึงหัวข้อการเรียนหัวข้อหนึ่ง เช่นการบรรยายหัวข้อ หรือการให้เขียนรายงานในหัวข้อหนึ่ง เป็นต้นนะครับ อาจจะหมายถึงระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ก็เป็นได้

ทีนี้ลองดูว่าในหนึ่งกิจกรรมการเรียนรู้นั้น มีวงจรกิจกรรมการเรียนรู้เป็นอย่างไร

ดังภาพที่เห็นนะครับ ว่าในวงจรการเรียนหนึ่งหัวข้อนั้น เราสามารถทำกิจกรรมอะไรได้หลายอย่าง ถ้าเป็นการเรียนแบบที่เราคุ้นเคยกันอยู่ ก็น่าจะเหมือนรูปด้านล่างนี้

ซึ่งหมายความว่าเรามีการบรรยายในชั้น แล้วก็อาจมีการให้งานผู้เรียนไปทำที่บ้าน จะเห็นว่านอกจากสองกล่องที่เราใช้ ผมใส่รูปหลอดไฟไว้ด้วย ซึ่งหลอดไฟสีจางๆ ผมหมายความว่า ถ้าการบรรยายครั้งนั้นมีการถามตอบ ผู้บรรยายเตรียมตัวมาดี มีการซักถามผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ก็ "อาจจะ" เกิดการเรียนรู้ได้ และถ้ามีการให้งานไปทำหลังการบรรยาย ตรงนั้นต่างหากที่ผู้เรียนจะได้เรียนเอง หรือเป็น Active Learning จริงๆ

ทีนี้ลองมาดูห้องเรียนกลับทางบ้างว่าหน้าตาเป็นอย่างไร

ห้องเรียนกลับทางเริ่มจากการให้ผู้เรียนดูวิดีโอจากบ้าน แล้วค่อยมาทำงานจริงๆ ในชั้นเรียน ไอ้การดูวิดีโอเฉยๆ เด็กบางคนก็เปิดผ่านๆ (ผมเองก็เป็นครับ) และถ้าไม่มีการตั้งคำถามขั้นระหว่างวิดีโอเป็นช่วงๆ ก็แทบจะเป็นการฟังหูซ้ายทะลุหูขวา บางทีตาก็ไม่ได้หันมาดูเลยด้วยซ้ำครับ พอถึงห้องเรียนนั่นละถึงจะได้เรียนกันจริงๆ หลอดไฟมันเลยส่องสว่างแบบนั้น

ทีนี้ลองมาดูอีกตัวอย่างของ ClassStrat.org กันนะครับ จุดเด่นของระบบจัดการการเรียนรู้ตัวนี้เน้นการเขียนบันทึกการเรียนรู้ คือมีบล็อกอยู่ในตัวเลย นั่นหมายความว่า พอหมดวงจรแรก (ซึ่งอาจจะเป็นวงจรอะไรก็ไม่รู้ล่ะ อาจเป็นการบรรยายหรือการถกเถียงกันเรื่องอะไรก็แล้วแต่ พอมาถึงวงจรที่สอง ที่ผู้สอนอยากให้ผู้เรียนได้บันทึกการเรียนรู้ ก็สามารถเตรียมคำสั่งเอาไว้ในระบบ ClassStart ได้เลย พอมาถึงเวลาเรียนก็สามารถอธิบายคำสั่งนั้นเพิ่มเติมได้อีก แต่การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้นมันเกิดหลังจากนั้น คือผู้เรียนไปนั่งคิด ตกผลึกเอาเองถึงความรู้ที่ได้รับมา แล้วเอามาเขียนบันทึกออนไลน์ ผมเลยเอาหลอดไฟไปไว้ที่กล่องที่สี่ครับ ดังภาพด้านล่างนี้

เท่าที่อธิบายมา ผมอยากให้มองว่าวงจรกิจกรรมการเรียนรู้หนึ่งรอบนั้น ผู้ออกแบบหลักสูตรคงไม่สามารถใช้ทุกกล่องได้ แต่สามารถสลับสับเปลี่ยน online/offline และผสมเอา face to face เข้าไปได้หลายแบบมาก จากแนวคิดนึ้ผมเลยสร้างเป็นตารางหน้าตาแบบนี้ครับ ต้องขอบอกก่อนว่าตารางนี้มิได้สมบูรณ์ ผ่านการกลั่นกรองอย่างละเอียดมากนัก เพราะเป็นความคิดครึ่งๆ กลางๆ อย่างที่เคยกล่าวไว้ว่าเป็นจุดมุ่งหมายของการเขียนบันทึกนะครับ โดยตารางนี้แบ่งเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ คือ 1. moodle 2. ClassStart และ 3. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนอื่นๆ ที่ไม่ได้อิงกับระบบใดๆ 

  Learning Activity 1. online 2. offline, out-of-class  3. face to face 4. online 5. offline, out-of-class 
  Moodle          
1.1 assignment prompt   [discussion on prompt] submit work  
1.2 forum instruction, [role assignment]   [discussion on instruction] (asynchronous) discussion   
1.3 online quiz [learning material]  [learning material]    quiz!   
1.4 survey       survey   
1.5 wiki instruction, [role assignment]   [discussion on instruction] collaborative project   
1.6 workshop (peer assessment) instruction, [role assignment]   [discussion on instruction] submit file, assess peers' work   
             
  ClassStart.org          
2.1 แบบฝึกหัด คำสั่งของแบบฝึกหัด   [อธิบายคำสั่งของแบบฝึกหัด] ส่งงาน  
2.2 กระดานข้อความ คำสั่งของกระดานข้อความ   [อธิบายคำสั่งของกระดานข้อความ] สนทนา (ตามเวลาที่สะดวก)  
2.3 บันทึกการเรียนรู้ คำสั่งของบันทึก   [อธิบายคำสั่งของบันทึก]    
             
  เทคนิคการจัดการเรียนการสอนอื่นๆ           
3.1 traditional learning     lecture (with quesitons?)    [homework] 
3.2 active workbook     lecture, in-class exercise      
3.3 flipped class  video lecture    inquiry project (i.e., homework)     
3.4 pair-programming [instruction] [instruction] pair-programming     
3.5 pop-up quiz [learning material]  [learning material]  pop-up quiz!    
3.6 lecture with clicker     lecture & clicker questions     
3.7 group proejct          
3.8 individual project          
3.9 in-class discussion       [reflection writing]  [reflection writing] 
3.10 mind mapping [online mind-map tool]  as a homework  draw mind map in class     
3.11 portfolio online portfolio  offline portfolio       

คำอธิบายตาราง

ตารางแบ่งเป็น 5 คอลัมน์ ซึ่งเป็นการเรียงตามลำดับเวลา เป็นวงจรการออกแบบการเรียนการสอนในหนึ่งรอบ ตัวอย่างเช่น 3.1 การบรรยายในชั้นหรือ traditional learning นั้นไม่มีการให้ผู้เรียนเตรียมตัวล่วงหน้าด้วย online หรือ offline แต่อย่างใด มีเพียงการบรรยาย (คอลัมน์ #3) และอาจมีการบ้าน (คอลัมน์ #5) ต่างกับ flipped class ในข้อ 3.3 ที่มีการให้ video lecture เพื่อดูล่วงหน้า (คอลัมน์ #1) ก่อนจะทำงาน inquiry project ในชั้นเรียน (คอลัมน์ #3)

หรือในข้อ 2.2 กระดานสนทนา ของ ClassStart.org ซึ่งผู้สอนให้คำสั่งไว้ในห้องเรียนออนไลน์ (คอลัมน์ #1) และอาจพูดคุยถึงคำสั่งอีกครั้งในห้องเรียน (คอลัมน์ #3) ก่อนที่จะให้ผู้เรียนไปสนทนากันตามเวลาที่สะดวกได้ภายหลัง (คอลัมน์ #4)

ข้อความในเครื่องหมาย [...] หมายถึงทางเลือก ไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ เช่นในข้อที่ 1.3 การทำกิจกรรม online quiz ผู้สอนไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลเฉพาะเจาะจงหรือ [learning material] เกี่ยวกับการทดสอบนั้นๆ ก็ได้ (แปลว่าผู้เรียนต้องรู้ว่ามาจากหนังสือ หรือบทเรียนที่ผ่านมา) หรือในข้อ 1.5 [role assignment] หมายถึงผู้สอนอาจกำหนดบทบาทผู้ร่วมทำกิจกรรม เช่นใครเป็นคนหาข้อมูล ใครเป็นคนสรุปการสนทนา ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำก็ได้

เครื่องหมาย  หมายถึง ช่วงที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็น active learning เช่นในข้อ 1.1 ในช่วง offline, out-of-class ผู้เรียนต้องไปทำงานที่ได้รับมอบหมายด้วยตัวเอง ก็เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองในเวลานั้น โดยไม่ผ่านการชี้นำของผู้สอน 

เครื่องหมาย  หมายถึง ช่วงที่ผู้เรียน อาจจะ เกิดการเรียนรู้แบบ active learning เช่นในข้อ 1.3 ถ้าการทำแบบทดสอบ หรือ online quiz เป็นไปเพื่อทบทวนบทเรียน มีการให้ feedback และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทำซ้ำๆ ได้หลายรอบ ไม่ได้ทำเพื่อเก็บคะแนนเท่านั้น ผู้เรียนก็สามารถเรียนรู้ไปด้วยได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการออกแบบกิจกรรมเป็นสำคัญ

 

จะเห็นว่า flipped class เป็นเพียงหนึ่งในวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีอยู่มากมาย และเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่จัดอยู่ในการเรียนแบบผสมผสาน หรือ blended learning ที่สมบูรณ์ในตัวเอง เพราะมันมีทั้ง online (ดูวิดีโอ) และ offline (inquiry project) อยู่ในตัว

แต่ถ้าหากเราออกแบบหลักสูตรวิชาให้เป็น blended learning เราสามารถเอากิจกรรมต่างๆ มายำรวมกันได้ เช่นในวิชา Programming & Algorithms ของผม ผมมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ครับ

3.1 บรรยายในชั้นเรียน โดยมีการถามตอบกับผู้เรียนเป็นระยะ
3.2 การบรรยายแบบมีแบบฝึกหัด (active workbook) เทคนิคนี้ผมได้จากอาจารย์ของผมอีกที โดยท่านออกแบบสื่อการเรียนเหมือนสมัยที่เราเรียนกันตอนเด็กๆ เลยครับ มีการบรรยายเป็นหัวข้อสั้นๆ แล้วขั้นด้วยแบบฝึกหัด ในการบรรยายในห้องท่านก็จะหยุดให้ผู้เรียนได้ทำแบบฝึกหัดนั้น สลับไปกับการสอน ซึ่งช่วยให้การเรียนเป็น active learning ไปได้ และวัดความเข้าใจผู้เรียนเป็นระยะด้วย
1.1
 ให้ทำ assignment ด้วยตัวเอง
3.4 ให้เขียนโปรแกรมแบบจับคู่ หรือ pair-programming ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
1.3 มี online quiz
(เคยมี) 1.6 คือให้ผู้เรียนส่งงานของตัวเอง และสามารถประเมินงานเพื่อนได้ด้วย (คาดว่าจะเอากลับมาใช้ร่วมกับ pair-programming นะครับ แต่ยังคิดไม่ออกว่าจะทำยังไง แหะๆ)
1.2 มีกระดานสนทนาให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรื่องราวชีวิตกัน

โดยกิจกรรมทั้งหมดนี้ ทำสลับไปสลับมาตลอดเวลาสี่เดือนครับ โดยเฉพาะ 3.1, 3.4 และ 1.1 นั้น จะมีบ่อยมากๆ ที่เหลือก็มาๆ หายๆ ไปตามรูปแบบที่ผมคิดว่าเหมาะสม โดยดูที่  เป็นสำคัญครับ

หวังว่าตารางที่ยังไม่สมบูรณ์นี้ จะช่วยให้เห็นภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง (หรือมี  เยอะๆ) ที่ชัดขึ้นนะครับ และหวังว่าจะได้คำติชม ความเห็นเพื่อปรับปรุงแก้ไขตารางนี้ต่อไปนะครับ อย่างที่รองศาสตราจารย์ ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง พูดไว้ในงาน ThaiPod ว่าหน้าที่ของฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษาคือการสร้าง shopping list ให้อาจารย์มาเลือกใช้ เพื่อรองรับความต้องการที่หลากหลายของอาจารย์นั่นเองครับ

 

เครดิตภาพ: http://blog.edmentum.com/does-flipping-classroom-give-you-more-time-11-instruction

ปล. แก้ไขบันทึกเมื่อ 30 สิงหาคม 2556 ตามคำแนะนำของคุณจีรัง เพื่อนรักที่บอกกันตรงๆ ว่าอ่านไม่รู้เรื่อง! ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 546956เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2013 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กันยายน 2013 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ตามมารับความรู้ต่อครับ ;)...

ขอบคุณครับ ยินดีรับข้อคิดเห็น ติชมทุกประการนะครับ :)

...ชัดเจนนะคะ...ขอบคุณค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท