OT-Japan
นาย เจษธวัช บุญฤทธิ์ลักขณา

โครงการ"เลิกเหล้า เราทำได้" ในหัวข้อ ผลการดำเนินงาน


โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต "เลิกเหล้า...เราทำได้"

จากหลักการและเหตุผล (จากบล๊อก: http://www.gotoknow.org/posts/546414 ) และ ระยะเวลาดำเนินงาน ของโครงการส่งเสริมสุขภาพจิต" เลิกเหล้า เราทำได้ ในบล๊อกนี้จะพูดถึง ผลการดำเนินโครงการและการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

ผลกการวิเคราะห์ข้อมูล
    มีสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งหมด 6 คน สามชิกกลุ่มทุกคนมีประสบการณ์ในการดื่มสุรา ดังนี้ มีสมาชิก 2 คน (33.3%) ที่ปัจจุบันยังคงดื่มสุราอยู่และ มีสมาชิกอีก 4 คน (77.7%) เลิกดื่มสุราแล้ว


คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดมีช่วงอายุอยู่ที่ 49-77 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ 62.5 ปี ส่วนใหญ่เคยสมรสแล้ว มี 1 คนที่เป็นหม้าย และอีก 1 คนหย่าล้าง ระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ที่ประถมศึกษาจำนวน 4 คน มี 1 คนไม่ได้ศึกษาและอีก 1 คน อยู่ที่ระดับชั้นมัธยมศึกษา การประกอบอาชีพส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพจำนวน3 คน เกษตรกร จำนวน 2 คน และรับราชการจำนวน 1 คน สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เลิกดื่มสุราคือ ปัญหาด้านสุขภาพทั้งหมด 4 คน ปัญหาด้านครอบครัว 1 คน และปัญหาด้านการเงิน 1 คน (ดังตารางด้านล่าง)

พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของสมาชิกกลุ่ม
การมีส่วนร่วมในแต่ละขั้นตอนของสมาชิกกลุ่ม มี 3 คน ที่สามารถมีส่วนร่วมในช่วงแรกของการทำกิจกรรม และมีอีก 3 คน ที่สามารถร่วมในแต่ละขั้นตอนในช่วงท้ายของการทำกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 6 คน สามารถร่วมทำกิจกรรมได้ในแต่ละขั้นตอน มีสมาชิกกลุ่ม 2 คน สามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการดำเนินชีวิตในช่วงแรกของการทำกิจกรรม และอีก 4 คน สามารถร่วมแสดงความคิดเห็นได้ รวมทั้งสิ้น 6 คน ส่วนแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลิกดื่มสุรา มี 5 คน ที่มีแนวโน้มในการเลิกดื่มสุราของช่วงแรกในกิจกรรม และอีก 1 คน มีแนวโน้มที่ดีขึ้น (ดังตารางด้านล่าง)

ตัวอย่างคำพูดหรือพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่มที่แสดงออกมา

พฤติกรรมกลุ่ม   ช่วงแรกของกิจกรรม ช่วงท้ายของกิจกรรม
1.การมีส่วนร่วมในแต่ละขั้นตอนของการทำกิจกรรม(คุณบี)

ต้องได้รับการกระตุ้น 2-3 ครั้ง
ในการแสดงความคิดเห็นและ
แสดงบทบาทการทำก๋วยเตี๋ยวลุยสวน

เสนอให้สมาชิกกลุ่มนำก๋วยเตี๋ยวลุยสวนที่ทำเสร็จแล้วไปแจกให้ชาวบ้านในศาลารับประทาน
2. ความพึงพอใจหลังสิ้นสุดกิจกรรมกลุ่ม
(คุณเอ)
- ให้ 10 คะแนน มีความรู้สึกว่า “สนุกดี”
3 .การแสดงความสนใจในการทำกิจกรรมการ
ดำเนินชีวิต(คุณบี)

ไม่แสดงความสนใจในการทำกิจกรรม
ต้องได้รับการกระตุ้นในการให้แสดง
ความคิดเห็น (กิจกรรมล้อมวง)และไม่แสดงความต้องการในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมก๋วยเตี๋ยวลุยสวน

“อยากทำยำปลาดุกฟู กลับบ้านไปจะทำยำปลาฟูดูบ้าง ลุงเคยทำนะแต่ก่อนช่วยแม่ทำ” สมาชิกกลุ่มกล่าวช่วงสุดท้ายของกิจกรรมก๋วยเตี๋ยวลุยสวน
4. แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มสุรา (นายเอฟ)

“เวลาเราดื่มเหล้า ก็ต้องดื่มให้ครบ 5 หมู่ แวะหมู่ที่ 1 ไป 2 จนครบหมู่ที่ 5 ก็เมาพอดี”ผู้รับบริการกล่าวในช่วงเริ่มต้นกิจกรรมล้อมวงคนเคยดื่ม 

“การเลิกเหล้ามันง่ายนิดเดียว อยู่ที่ใจ
ถ้าใจเราให้มันเลิก มันก็เลิกได้”

“ถ้าอยากเหล้าก็หากิจกรรมอื่นๆทำ เช่น
การทำอาหาร หรือการทำสวน” สมาชิกกลุ่มกล่าวในช่วงสุดท้ายของกิจกรรมก๋วยเตี๋ยวลุยสวน

 

การอภิปรายผลการดำเนินโครงการ (ดังตารางด้านล่างนี้)

ความพึงพอในหลังสิ้นสุดกิจกรรม
มีสมาชิกกลุ่มทั้งหมด 5 คน ให้คะแนนความพึงพอใจ 10 คะแนน และอีก 1 คน ให้คะแนนความพึงพอใจ 8 คะแนน คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.67 คะแนน ดังแผนภูมิแสดงต่อไปนี้

ทั้งหมดนี้คือผลการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับสมาชิกที่สนใจอ่าน การอภิปรายการจัดทำโครงการเปรียบเทียบกับงานวิจัยอื่นสามารถ ประโยชน์และผลที่ได้รับจากโครงการ อ่านต่อได้ที่ บล๊อก >>http://www.gotoknow.org/posts/546425

 

หมายเลขบันทึก: 546430เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2013 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2013 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

.. เยี่ยมค่ะ .... ชื่ิอโครงการ..ก็..มองเห็นภาพแล้ว นะคะ  

 

ขอบคุณบันทึกดีดีนี้ ค่ะ ... 

สำหรับท่านที่สนใจสามารถดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดโครงการสุขภาพจิตได้ที่ วีดีโอนี้ค่ะ  https://www.youtube.com/watch?v=KGIDHLUrKRo  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท