บล็อค (Blog) : เครื่องมือทำงานที่พร้อมทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน


วันนี้ (22 สิงหาคม 2556) มี 3 เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นต่อกันในวันเดียวที่โรงแรมตักสิลา คือ

  • ตอนเช้า ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช ให้เกียรติมาบรรยายเรื่อง "การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21"
  • ตอนบ่าย มีการประชุมคณะกรรมการ LLEN และ CADL ครั้งแรกอย่างเป็นทางการเพื่อ หาแนวทางดำเนินการร่วมกัน 
  • ตอนบ่ายแก่ๆ มีการฝึกอบรมการเขียนบล็อคบนเว็บไซต์ www.scbfoundation.com และ www.gotoknow.orgผมมีความสุขกับ 2 เหตุการณ์แรกมากๆ แม้ว่าเหตุการณ์ที่ 2

เราต้องพัฒนาปรับปรุงอีกพอสมควร ส่วนเหตุการณ์ที่ 3 นั้นต้องบอกว่าเป็นความทุกข์หนักอก ที่ต้องหาวิธีทำให้หายหกตกวางให้ได้โดยเร็ว เพราะการ"ออกแบบ" กิจกรรมให้ "ครูพอเพียง" มาร่วมการประชุมฯ ระหว่างรอ "ฝึกปฏิบัติการ" ที่ล่วงนานกว่าเวลาไปเกือบ 30 นาที จนในที่สุด "การฝึกปฏิบัติการ" กลายเป็นการ "บรรยาย" ในตอนท้ายด้วยข้อจำกัดของเวลา..... ต้องกราบขออภัยมา ณ โอกาสนี้ครับและผมขอมอบบันทึกนี้สำหรับผู้มา "ฝึกปฏิบัติการเขียนบล็อคฯ" ทุกท่าน ลองอ่านและทำตามเป็นลำดับ ก็จะจับหลักได้เองครับ คลิกอ่านวิธีการเขียนบล็อคได้ที่นี่ครับ

ผมแลกเปลี่ยนหลักการเขียนบันทึกของตนเองไว้ 3 ประการ ได้แก่

  • เขียนจากง่ายไปยาก 
    • ตามประสบการณ์ของผม การเขียนบล็อคไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้เขียนบันทึกหลายคน ไม่ "ติดลมบน" (หมายถึงเขียนได้อย่างสม่ำเสมอ) เพราะมัวแต่คิดว่า บันทึกของตนเองจะต้อง "ดีเยี่ยม" "ดีมาก" จึงใช้พลังและเวลาทุ่มเทเขียนบันทึกแรกๆ จน "หมดก๊อก" หลังผ่านไปไม่กี่บันทึก
    • แนะนำว่าให้เขียนจากง่ายๆ ก่อน โดยเริ่มจากการเขียนเล่าเรื่องว่าตนเอง "ทำอะไร อย่างไร เห็นอะไร" แค่เพียงเขียนอธิบายตรงๆ ว่าเราทำกิจกรรมอะไร ทำอย่างไร หากยังรู้สึกยากขั้นตอนเขียนอย่างไร ให้เขียนขั้นตอนเป็นข้อๆ จะทำให้ง่ายขึ้นได้  ผมเขียนบันทึกประเภทนี้เยอะครับ อ่านได้ที่นี่เป็นต้น ครับ
    • เมื่อเขียนได้คล่องขึ้น "เช็ค" ที่ความสนุกในการเขียน เวลาที่ใช้ไม่นานนัก และความเพียรที่ต้องใช้น้อยลง ก็แสดงว่า "ว่าวเริ่มขึ้นติด "ลมแดง"" แล้วครับ ให้ลองเริ่มเขียนให้ยากขึ้น โดยเพิ่มมิติของการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ในมิติต่างๆ โดยเฉพาะด้านเหตุผล  ผมเรียกการเขียนตรงนี้ว่า เขียนประเภท "ทำไม" 
    • และเริ่มสังเกต "ความรู้สึก" ของตนเอง เขียนแทรกผลลัพธ์ จากที่เขียนว่า "เห็นอะไร" ทดลองแทรด "ความรู้สึก" ของตนเองเข้าไป ย้ำว่าต้องเป็น "ความรู้สึก" จริงๆ ไม่ใช่ "ความคิด"  หลายคนเขียนความรู้สึกมาจากความคิด สิ่งที่ได้จึง "ติดลิเก" เกินไป....อันนี้ แล้วแต่จริตครับ
  • เขียนให้เห็น 3 อย่างคือ
    • เห็นกระบวนทัศน์ เห็นแนวคิด หรือที่มาที่ไป หรือเหตุผลในการเขียน เห็นประเด็นเด่น มีแก่นเรื่องเดียว  หากเขียนเน้นหัวข้อนี้ ผมเรียกว่า "บทสังเคราะห์" อ่านได้ที่นี่ครับ
    • เห็นกระบวนการ คือ การเขียนเน้นปฏิบัติ ผู้อ่านๆ แล้วสามารถนำไปทดลองทำตามได้  หากเขียนเน้นข้อนี้ ผมเรียกว่าเป็น "บันทึกการทำงาน" ครับ
    • เห็นผลลัพธ์  ซึ่งผลลัพธ์ที่ดี ควรมีความน่าเชื่อถือ ....อันนี้ผมก็จะพัฒนาตนเองต่อไปครับ หมายถึง บันทึกที่ผมเขียนตอนนี้ ไม่ได้นำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณมากนัก (ซึ่งอาจารย์หมอวิจารณ์ท่านแนะให้ สร้างระบบการจัดเก็บข้อมูลและสังเคราะห์ข้อมูลให้ดี ...) และหากเน้นการเขียนผลลัพธ์ในมิติความรู้สึก ผมจะเอาไปไว้ที่ "อนุทิน" แทนครับ
  • เขียนโดยใช้คำง่ายๆ อ่านง่าย เข้าใจง่าย.... ข้อนี้ไม่ต้องอธิบายครับ .... เพราะมันขึ้นอยู่กับสไตล์ใครสไตล์มัน 

ผมพูดกับเพื่อนครูประโยคหนึ่งครับว่า  หากเขียนเน้นจากทฤษฎีไปสู่ปฏิบัติ สไตล์ของตนอาจจะไปเหมือนคนอื่น  แต่ถ้าเขียนเริ่มจาก ปฏิบัติไปหาทฤษฎีที่สังเคราะห์เทียบเคียงเอง ได้ได้สไตล์ของตนที่ไม่มีคนเหมือนแน่นอนครับ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #บล็อค gotoknow#PLC อีสาน
หมายเลขบันทึก: 546306เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2013 04:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2013 08:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบพระคุณมากค่ะ

ตอนนี้กำลังดำเนินการฝากรูปอย่างเมามันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท