ขับเคลื่อน PLC ที่ สพป.3 มหาสารคาม_12 : เวทีครู "ดูใจดูความคิดตนเอง"


วันที่ 11-13 กรกฎาคม 2556 ทีมขับเคลื่อน PLC มหาสารคาม จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมรมเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ มีครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 3 จำนวน 138 ท่าน จาก 14 โรงเรียน บันทึกนี้เขียนต่อจากบันทึกแรกที่นี่ครับ

หลัง เบรคเช้า ก่อนจะนำเรื่องในคอลัมน์ที่ 1 ของกระดาษ 4 พับ มาแลกเปลี่ยนเรียนคู่ คือให้เล่าให้กันฟังเป็นคู่ๆ เราทำกิจกรรม Ice Breaking (ละลายพฤติกรรม) แบบมีสาระ ดังนี้ครับ 

แบ่งครูเป็นระดับชั้นแล้วให้จับคู่กัน โดยมีข้อตกลงว่าต้องเป็นเพื่อนต่างโรงเรียน นั่งหันหน้าเข้าหากัน  แล้วตามขั้นตอนต่อไปนี้ 

  • แนะนำตัวเบื้องต้น ตามแต่อัธยาศัย ซึ่งสำหรับชาวไทย โดยเฉพาะคนอีสาน ไม่ใช่เรื่องยากเลยครับ 
  • จาก นั้นบอกให้ทุกท่านเตรียมตอบคำถามสำคัญ โดยเน้นให้ต้องเปิดใจให้แก่กัน หากใจของเราเปรียบเหมือน "ไข่แดง" ที่เพิ่งถูกตอกลงบนจานนูนขอบ สังเกตว่าจะมี "ไข่ขาว" อยู่รอบๆ ล้อมปิดไว้ เปรียบเสมือนใจที่ต้องการ "พื้นที่ปลอดภัย" ซึ่งจะทำให้ผ่อนคลายและมีสุข  เมื่อไข่อีกใบถูกตอกลงจานตามมา แทนที่ไข่แดงจะอยู่ชิดติดกัน แต่ดูเหมือนจะ "หันหลัง" หรือ "ปรจันหน้า" ก้้นด้วยไข่ขาว ราวกับเป็นกำแพง แสดงว่าพื้นที่ปลอดภัยยังเป็นของใครของมัน 
  • คราว นี้ลองจินตนาการถึง ไข่สองใบ ที่ตอกไว้บนจานพร้อมๆ กัน ไข่แดงจะใกล้ชิดติดรวม ใช้ไข่ขาวร่วมกัน เปรียบเป็นพื้นที่ปลอดภัย ที่ทั้งสองเปิดใจให้แก่กันและกัน .....ดังรูป


  • เมื่อ สังเกตว่าพร้อม สมาธิเข้าที่ (ฟังจากเสียง จากสีหน้า) เราก็ถามคำถามว่า "ท่านจะไปอยู่ที่ไหน ในอีก 10 ปีข้างหน้า".....เสียงฮาก็เกิดขึ้นทันที ....เราเปิดโอกาสให้ครูได้สะท้อนความรู้สึก ความคิด 2-3 ท่าน  จากการสำรวจส่วนใหญ่นั้นจะ "แซว" เล่นๆ กันว่า "กำลังเลี้ยงหลาน"...ฮา
  • คำ ถามถัดมาถามว่า "อีก 3 ปี เราจะอยู่ที่ไหน จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงจากวันนี้บ้างไหม" ... ความจริงเราถามเพื่อจะมองหาว่า มีครูเพื่อศิษย์อยู่บ้างไหม ที่่ถ้าใช่จะบอกออกมาทันทีว่า จะทำความดีให้แก่ลูกศิษย์ ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีคิดวิธีสอนแน่ๆ เพราะตอนนี้ วิธีเดิมๆ ที่นั้นใช้ไม่ได้ผล  ทุกคนทั่วโลกเขากำลังมุ่งสู่ "การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21"

เราสังเกตว่า บรรยากาศยังผ่อนคลายไม่พอ เลยละลายพฤติกรรมต่อด้วย  กิจกรรม "ประสานมือสื่อความรู้สึก"


  • ให้ ครูสองท่านหันหน้าเข้าหากัน วางมือซ้ายประสานมือขวา วางมือขวาประสานมื่อซ้าย แล้วพักสายตาหลับลง เตรียมส่งผ่านความรู้สึกผ่านมือซ้ายของตนสู่มือขวาของคนตรงหน้า 
  • เริ่ม ด้วยการให้ส่ง "สัญญาณ" (อาจเป็นการบีบมือ) ผ่านไปยังมือซ้ายของคนเป็นพี่  เมื่อน้องรับสัญญาณทางมือขวา ให้สังเกต (ความจริงให้รู้สึก)ว่า น้ำหนักเท่าใด ลักษณะสัญญาณเป็นอย่างไร (ซึ่งต้องใช้ใจรับจากมือ) ก่อนจะส่งสัญญาณนั้นกลับไปให้พี่ทางมือซ้าย 
  • ส่งสัญญาณนั้นเร็วขึ้นเรื่อยๆ สังเกตถึงความถี่ที่ทำได้เร็วที่สุด ที่ไม่สะดุดสงสัย แล้วค่อยๆ ผ่อนช้าลงๆ 
  • (ถึงตอนนี้ ผมเริ่มชี้ให้สังเกตความรู้สึก ที่ไม่ใช่ "นึกคิด" แต่เป็นสิ่งที่ "จิต" รับรู้มาจาก "กาย")

แล้วต่อกันด้วยกิจกรรม "ตีมือสื่อแทน การ "ห้อยแขวน" คำตอบ" ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ "จิตวิทยาเชิงบวก" 


  • แต่ละคู่วางคว่ำมือไว้บนโต๊ะ อธิบายว่า จะเป็นกิจกรรม "ตีมือ" กันไปมา และให้ตกลงกันว่าใครจะตีก่อน 
  • คน ตีก่อนใช้มือข้างที่ถนัด ตีลงมือของคู่ตน โดยครั้งแรกนี้ไม่ต้องทน ตีมาแบบไหน ให้ใช้มืออีกข้าง ตีกลับไปยังมืออีกทางของคนตีทันใด โดยต้องกะให้น้ำหนักพอๆ กัน ทดลองสัก 2-3 ครั้ง ...เสียงฮาดังสนั่นทีเดียวครับ
  •  สุด ท้ายของกิจกรรมนี้ กำหนดให้คนอายุมากกว่า ซึ่งเราเรียกว่า "พี่" เป็นคนตี ตีแบบแรงๆ ตีแบบไม่ต้องยั้ง ตีให้เจ็บให้รู้สึกแบบชัดๆ ด้วยมือข้างถนัดเหมือนเดิม .... แต่ที่ไม่เหมือนเดิมคือ "น้อง" ที่ถูกตี ไม่ให้ตีตอบกลับ  ให้ใคร่ครวญความเจ็บที่ได้รับ ซึ่งสัเกตว่ามันจะค่อยๆ หายไป  สังเกตที่ใจตนเอง....  แล้วยื่นมืออีกข้างไปวางบนหลังมือข้างถนัดของ "พี่" แล้วพูดว่า ..."ไม่เป็นไรครับ (ค่ะ)พี่ น้องให้อภัย"....

ผมสรุปกิจกรรม "ละลายพฤติกรรม" ด้วยสไลด์นี้ 


  • เราเรียนรู้จาก 3 ทาง 3 ฐาน ได้แก่ ฐานกาย ซึ่งรวมทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซึ่ง "รับ" มาจาก ตา ลิ้น จมูก หู และผิวหนัง  ฐานคิดด้วยการคิด  และด้วยการลงมือปฏิบัติ ซึ่งต้อง "รู้"ด้วยใจ ต้องใช้ความรู้สึก... เชื่อมโยงสู่กิจกรรม "ประสานมือสื่อความรู้สึก" ข้างต้น
  • เมื่อครูรับสิ่งต่างๆ ผ่านโสตประสาทข้างต้น หากคนไหนตามไม่ทันความรู้สึก โกรธไม่รู้ว่าโกรธ โมโหไม่รู้ว่าโมโห เมื่อไม่รู้ ครูคนนั้นก็มักจะ ด่า ดุ ตำหนิ นักเรียน ทั้งๆ ที่ตนเองก็เรียนและรู้มาแล้ว่า จะต้องใช้ "จิตวิทยาเชิงบวก" .... ตอนบรรยาย ผมยกตัวอย่าง เด็กชายสมปอง ที่แต่งตัวไม่เรียบร้อย แถมยังมาสายอีก ....ครูส่วนหนึ่งจิตใจจะยังเข้าไม่ถึง "การปฏิบัติเชิงบวก" ทำให้มักเหมือนหูพึ่งตาโต โมโห...ปี๊ด....... นั่นคือครูไม่ได้ "ยั้งคิด" ก่อนด่าดุตอบกลับไป 
  • หากเปรียบการสะท้อนหรือตอบสนองต่อสิ่งเร้า ในที่นี้คือเด็กชายสมปอง ทันทีที่ได้เห็น ทันทีที่ัรับสื่อเข้า เราแทนด้วย "พื้นที่สีแดง"  เป้าหมายของเราคือ ฝึกเอาพื้นที่สีแดงออกให้หมดจากใจ 
  • เปรียบกับกิจกรรม "ตีมือสื่อแทนการ "ห้อยแขวน" คำตอบ"  เมื่อถูกตีมือเราเจ็บ เรารู้สึกเจ็บ ก็เหมือนเมื่อเราเห็นเด็กชายสมปองเดินเข้ามา แต่เมื่อเราอดทน รับรู้ความรู้สึก ใคร่ครวญ ไม่ตีตอบทันที ขั้นตอนนี้เราเรียกว่า "ห้อยแขวนคำตอบ" เมื่อความเจ็บ ความรู้สึกนั้นหายไป เราก็สามารถที่จะ ให้อภัยกับใครก็ได้......
  • สรุป ครูจะใช้จิตวิทยาเชิงบวกกับเด็กๆ ได้จริง ก็ต่อเมื่อ ครูสามารถ "ห้อยแขวนคำตอบ" ห้อยแขวนความรู้สึก ตามทันความรู้สึกโกรธของตนได้ นั่นเองครับ


หมายเลขบันทึก: 544388เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2013 01:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 สิงหาคม 2013 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สุดยอดเลยครับ ชอบกิจกรรมนี้

ขอชื่นชมทีมทำงานของอาจารย์ครับ  รออ่านกิจกรรมอีกครับ

เข้าใจประยุกต์กิจกรรมให้เข้ากับบริบทนะครับ

ขอบคุณท่านอาจารย์ขจิตมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท