แหล่งเรียนรู้ที่ดีสำหรับการขับเคลื่อน ปศพพ.เพื่อการศึกษา


ก่อนจะกล่าวถึงแหล่งเรียนรู้ ผมต้องย้ำหลักสำคัญของ ปศพพ.เพื่อการศึกษาอีกครั้ง ได้แก่ 

  • ปศพพ. คือ "หลักคิด" อย่างมีวิจารณญาณที่มีคุณธรรม 
  • ปศพพ. คือ "หลักปฏิบัติ" อย่างมีหลักวิชาการและมีคุณธรรม
  • ปศพพ. คือ "หลักพิจารณา" อย่างมีสติ สัมปชัญญะบนทางสายกลาง
สรุปให้สั้นเหลือ ประโยคเดียวคือ "การคิด ลงมือทำ และพิจารณา อยู่บนหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ"  ทั้งสามคำคือ คิด ปฏิบัติ และพิจารณา รวมกันเหลือคำเดียวคือ "เรียนรู้" 
แหล่งเรียนรู้ ปศพพ. จะต้องชัดเจนใน 4 ประเด็นนี้ 
  1. คุณค่าของแหล่งเรียนรู้ นักเรียนจะได้ "ทักษะชีวิตใดบ้าง จะได้ฝึกฝนทักษะการเรียนรู้ใดบ้าง จะได้ทักษะสื่อและเทคโนโลยีใด และจะได้ใช้ความรู้และทักษะตามตัวบ่งชี้ในหลักสูตร" 
  2. กระบวนการเรียนรู้ที่คุ้มค่าเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามข้อ 1. เป็นอย่างไร ขั้นตอนเป็นอย่างไร
  3. จะต้องวัดประเมินผลลัพธ์ที่คาดหวังตามข้อ 1. อย่างไร เกิดขึ้นหรือไม่ เกิดขึ้นอย่างไรในขั้นตอนใดตามข้อ 2.
  4. จะทำให้เกิดความยั่งยืนได้อย่างไร คือ จะพัฒนา เผยแพร่ หรือขยาย ประสบการณ์ตั้งแต่ข้อ 1.-3. อย่างไร 
แหล่งเรียนรู้ที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้ 
  1. เชื่อมโยงสอดคล้องระหว่าง "บริบท 4 มิติ" กับ "คุณค่าของแหล่งเรียนรู้"  เช่น 
    • ด้านสังคม แหล่งเรียนรู้ควรเกี่ยวข้องสอดคล้องกับอาชีพ หรือการทำงานของนักเรียนและผู้ปกครอง หรือตั้งอยู่บนฐานของปัญหาจริงในการดำรงชีวิตของนักเรียน ได้รับความร่วมมือจากชุมชนและสังคม เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติอย่างมี "หลักวิชาการ" 
    • ด้านวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ควรบูรณาการกับ วิถีชีวิต ประเพณี หรือภูมิปัญหา ของชุมชนและท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและภาคภูมิใจและเห็น "คุณค่า" ของวัฒนธรรม 
    • ด้านเศรษฐกิจ/วัตถุ แหล่งเรียนรู้นั้นสอดคล้องเหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งด้านทุนทรัพย์ ศักยภาพ ของโรงเรียน ของครู และของนักเรียน  สามารถเสริมให้นักเรียนเข้าใจความ "คุ้มค่า" 
    • ด้านสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ควรคำนึงถึงความ "ยั่งยืน" เช่น ส่งเสริมความตระหนักของการรักษาสิ่งแวดล้อม ระวังผลกระทบต่อธรรมชาติจนขาดความ "สมดุล"
  2. มีกระบวนการเรียนรู้ที่ครบ "วงจร" "เห็นวัฏจักร" "เห็นภาพรวม" ของชีวิตหรือเรื่องนั้นๆ ผู้เรียนเข้าใจที่มาที่ไป เข้าใจเหตุผล ความจำเป็น และเห็นคุณค่าของแหล่งเรียนรู้นั้น เช่น
    • ครบรอบในเนื้อหาตั้งแต่ เกิดจนเกิดอีก เช่น แหล่งเรียนรู้เรื่องข้าว ยางพารา อ้อย ข้าวโพด หรือมันสัมปะหลัง นักเรียนควรได้เรียนรู้ตั้งอต คัดเมล็ดพันธ์หรือเพราะกล้า ดูแล เก็บเกี่ยว เก็บคัดเมล็ดพันธุ์ นำไปใช้ประโยชน์ เป็นต้น 
    • เห็นมิติของ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต คือ เข้าใจประวัติศาสตร์ เห็นโอกาส และฉลาดที่จะภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ 
    • เห็นประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ต่อชุมชน ต่อสังคม  ตั้งแต่พอได้ มั่นคง แบ่งปัน ขยาย จนถึงขั้นมีความสุขที่ได้ทำ 
    • ฯลฯ
  3. เป็นแหล่งเรียนรู้ "ชีวิต" ไม่ใช่ "แหล่งเรียนรู้วิชา" นั่นคือ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถเชื่อมโยงห้องเรียน กิจกรรมในโรงเรียน และการดำเนินชีวิตนอกโรงเรียนได้ (อ่าน 3 เชื่อมที่นี่)   ไม่จำเป็นว่าแหล่งเรียนรู้ต้องอยู่ในโรงเรียน แหล่งเรียนรู้ในชุมชนหรือสังคม ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนได้ เมื่อชัดเจนใน 4 ประเด็นข้างต้น
  4. เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เอื้ออำนวยให้ นักเรียนฝึกฝนการเรียนรู้ด้วยตนเอง 
  5. เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มี "พลวัตร" หรืออาจเรียกว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ "มีชีวิต" คือ มีการเปลี่ยนแปลง มีกิจกรรม หรือมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยไป
จะยกตัวอย่างให้เห็นเมื่อลงพื้นที่ตามโรงเรียนนะครับ 
หมายเลขบันทึก: 545264เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2013 02:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 สิงหาคม 2013 02:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากๆ ....  แหล่งเรียนรู้ของ ปศพพ.  ที่ดีดีมีมากนะคะ ....ช่วยกันพัฒนา ชุมชน นะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท