"..พระทรงเป็น.."


"..พระทรงเป็น.."

พระทรงเป็นรัตนมณีศรีสยาม
เป็นหญิงงามคู่องค์พระทรงศรี
เป็นมารดาประชาราษฎร์พิลาสบุรี
เป็นพระราชินีของปวงชน

ทรงเสด็จทั่วแคว้นแดนทุรกันดาร 
ทรงเอาภารศิลป์ศาสตร์ประสาทผล
หลายอาชีพหลายโครงการบันดาลดล 
ธรรมชาติฟ้าฝนทรงสนพระทัย

เป็นแม่พระแม่เมืองประเทืองสุข
บรรเทาทุกข์ปวงประชาทุกคราสมัย
เป็นแสงสุรีย์โชติช่วงทุกดวงใจ
เป็นเทพไท้เทวะอวตาร

เป็นทุกสิ่งทุกอย่างทางสร้างสรรค์
เป็นองค์เชื่อมสัมพันธ์จนบรรสาน
คราที่รักสามัคคีนี้ร้าวราน
ทรงเพียบพร้อมพรหมวิหารทุกวารวัน

เป็นอีกองค์อัครศาสนูปถัมภก 
เป็นนาถะของพสกยามโศกศัลย์
เป็นหยาดพิรุณดับไฟให้ไร้ควัน
เป็นน้ำทิพย์ประโลมขวัญประโลมไทย
๒๒.๐๒ น. : ๖ ส.ค. ๕๖

หมายเลขบันทึก: 544855เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2013 08:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 สิงหาคม 2013 08:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

นมัสการพระคุณเจ้า แวะมาเยี่ยมชมบทกลอนแด่...แม่ที่ไพเราะค่ะท่าน...สบายนะเจ้าคะ...

กราบนมัสการค่ะ

บทกลอนไพเราะและซาบซึ้งในพระมหากรุึณาธิคุณมากค่ะ

นมัสการ มีปัญหาจะเรียนถามเจ้าค่ะ

"ตามพระวินัยแล้ว พระสงฆ์จะไม่สะสมอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารแห้งหรืออาหารสด  อาหารแห้งที่เรานำมาถวาย ส่วนใหญ่แล้ว ท่านจะนำไปทำทานต่อไป "

มีคำถามค่ะ

1. ถ้าเป็นกรณีที่ เมื่อท่านรับบิณฑบาตแล้ว  อาหารแห้งที่สามารถเก็บไว้นาน ท่านนำไปมอบให้โรงครัวของวัด ให้โยมที่มีหน้าที่เกี่ยวกับโรงครัวเจ้าหน้าที่โรงครัวทำมาถวายในยามที่จำเป็นเช่น กรณีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน  กรณีน้ำท่วม พระท่านผิดวินัยหรือไม่เจ้าคะ

2. กรณีที่วัดเป็นสถานศึกษาของสามเณรและภิกษุสงฆ์ที่มีจำนวนมาก ถ้าพระท่านนำไปมอบให้โรงครัว โดยที่ตัวท่านเองไม่ได้สะสมอาหาร ท่านทำผิดพระวินัยหรือไม่เจ้าคะ

 

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกคำตอบเจ้าค่ะ

ขอขอบคุณคุณโยมทุกท่านที่มาเยี่ยมชม ขอให้มีความสุข

ตอบคุณครูมุก : กรณีที่ได้รับมาแล้ว นำไปมอบให้โรงครัว แสดงว่าท่านไม่ได้เก็บไว้เป็นการส่วนตัว เก็บไว้เป็นสาธารณโภคี หมายความว่าเอาไว้เป็นของกลางเป็นส่วนรวม ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่โรงครัว(ภันฑาคาริก) ในการเป็นผู้ดูแล และประกอบให้ฉัน ก็ไม่น่าจะผิดนะ : ส่วนของที่ท่านได้รับมานั้น ตามพระวินัย ของแต่ละอย่างมีเวลาเก็บรักษานะ ท่านเรียกว่า "กาลิก" การสะสมของที่ได้มาและของนั้นสมมุติว่าท่านกำหนดให้เก็บไว้ได้หนึ่งวัน ล่วงหนึ่งวันไป ยังเก็บสะสม และนำมาฉัน ท่านเรียกว่า "สันนิธิ" การฉันของที่เป็นสันนิธิก็เป็นอาบัติ เรื่องของกาลิก มีดังนี้

กาลิก (อ่านว่า กา-ลิก) แปลว่า ประกอบด้วยกาลเวลา, ขึ้นอยู่กับกาลเวลา เป็นภาษาพระวินัย หมายถึงอาหารหรือของที่ภิกษุรับแล้วเก็บไว้ฉันได้ตามกาลเวลาที่กำหนดเท่านั้น หากเก็บไว้เกินกว่านั้นถือเป็นความผิด ได้แก่

  1. ยาวกาลิก ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราว คือตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ ข้าวสุก ขนม ปลา เนื้อ เป็นต้น
  2. ยามกาลิก ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วระยะเวลาวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่ น้ำปานะหรือน้ำผลไม้ชนิดต่าง ๆ ที่ทรงอนุญาตไว้
  3. สัตตาหกาลิก ของที่เก็บไว้ฉันได้ภายใน 7 วัน ได้แก่ เภสัช 5 คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย

ทั้งนี้ของที่นอกเหนือจากกาลิกทั้ง 3 นั้น คือ ยาวชีวิก เป็นของที่เก็บไว้ฉันได้ตลอดชีวิต คือ ยารักษาโรค 

ขออภัยที่มาตอบช้า

มาอ่านบทกลอนพานได้ความรู้เรื่อง กาลิก

นมัสการขอบคุณพระคุณเจ้าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท