lesson study เป้าหมายที่ teach less learn more


         เมื่อประมาณช่วงต้นปีที่ผ่านมา   ผมได้มีโอกาสไปเรียนรู้นวัตกรรม Lesson study จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ครูเพื่อศิษย์   โดยการนำเสนอของทีมงานโรงเรียนเพลินพัฒนา

    หลังจากที่ได้เรียนรู้  ผมว่าเป็นนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอนครับ ผมเลยทดลองนำมาใช้จริง  ประมาณเดือนกุมภาพันธ์  ๒๕๕๖

      นำคุณครูและผู้บริหารโรงเรียนไปสังเกตการสอนจริงในชั้นเรียน ที่โรงเรียนวัดสลักเพชร 

       อำเภอเกาะช้าง

     สังเกตการเรียนรู้ของผู้เรียน

   หลังจากนั้นจึงมาสะท้อนหลังสอน ว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่

    ล่าสุด  นโยบายของ สพฐ. Coaching & Mentoring  โดยใช้ Lesson study  ก็ตรงกับที่ผมเคยทำมาแล้ว  คราวนี้   ทำเป็นทางการ  ทำเป็นโรงเรียน  โดยผมและทีมศึกษานิเทศก์  รับผิดชอบที่โรงเรียนอนุบาลวัดคลองใหญ่

   มีคุณครูเข้าร่วมโครงการทั้งหมด สิบกว่าท่าน   ผมร่วมกับทีมวิชาการโรงเรียน  และศึกษานิเทศก์  ก็ได้เข้าไปสังเกตการสอนในชั้นเรียน  ด้วยหลักการของ lesson study  ตามขั้นตอน Plan   Do    See

   Plan คือ  ดูแผนก่อนสอน  Do  คือ สังเกตการสอนในชั้นเรียน   See  คือ  สะท้อนหลังสอน

 

     ขั้น  Do  จะเน้นพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน  ว่าที่คุณครูสื่อสารออกมา  ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่   สังเกตจากสีหน้าและแววตา

 

   สังเกตว่า  Teach less   learn more  หรือไม่    (ครูสอนน้อย   เด็กเรียนมาก)

 

   หลังจากนั้นก็สะท้อนหลังสอนว่า  ที่สอนมา  ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่

  จากประสบการณ์ เมื่อ ๖  เดือนที่แล้ว  และ  ประสบการณ์ล่าสุด ของการทำ Lesson  study  พบว่า

   ๑.  ผู้สอนหลายคน  สอนมาก เด็กจะเรียนน้อย หรือ  อาจไม่เกิดการเรียนรู้เลย

   ๒.  ผู้สอนตลุยสอนให้จบเนื้อหาใน ๑ ครั้ง  โดยขาดการสังเกตตรวจสอบว่า  ในแต่ละขั้นตอน ในแต่ละกิจกรรม ในแต่ละคำพูด   ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่

   ๓. ผู้สอน สอนเนื้อหาหลายเรื่องในแต่ละครั้ง  ทำให้เด็กสับสน  จับประเด็นสาระสำคัญไม่ได้

    ๔   ที่ตรวจสอบได้ง่ายๆ ว่าเป็น teach less learn more หรือไม่   ตรวจสอบจากสื่อที่ใช้   ถ้าเป็นสื่อการสอนที่สาธิตโดยครู  ครูเป็นพระเอก  เด็กจะเกิดการเรียนรู้น้อยมาก   ถ้าเป็นสื่อสำหรับเด็ก  ให้เด็กฝึกปฏิบัติเป็นกลุ่ม  หรือปฏิบัติรายบุคคล   จะเป็น teach less learn more ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดี

  ๕.  ครูหลายท่านยังสอนโดยการ อธิบายความรู้  หรือ บอกความรู้   โดยผู้เรียนไม่ได้คิดเลย

  ๖. บุคลิกภาพของครู  มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

     ทั้ง ๖   ข้้อ   ผมก็ได้วิพาก์ให้คุณครูได้รับทราบอย่างเปิดใจครับ  พร้อมกับให้โอกาสได้โต้แย้งกลับมาได้

    ทั้ง ๖  ข้อ  จะนำไป Plan  ร่วมกับทีมวิชาการของโรงเรียน  ทีมศึกษานิเทศก์  และ  คุณครูผู้สอนแต่ละท่าน  ในครั้งต่อไปครับ วันที่ ๒๘ - ๒๙  กรกฏาคม  เป็น Lesson study  ที่เน้น Teach  less  learn more

 

คำสำคัญ (Tags): #lesson study#teach less learn more
หมายเลขบันทึก: 543161เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2013 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2013 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

น่าสนใจมากเลยครับท่านรองฯ ระบบการสอนแบบสอนน้อยแต่เรียนรู้มาก

คุณครูจะต้องจัดการเรียนรู้ได้เก่งด้วยครับ

ดีใจที่ได้รับข่าวดีครับ...

 ขอบคุณมากครับ ท่านอาจารย์ขจิต
 
              ผมเองเปลี่ยนงานที่รับผืดชอบ  เลยไม่มีโอกาสได้ไปทำกิจกรรมกับเด็กๆ
   
              ขอบคุณอาจารย์มากครับที่ให้โอกาส

ดีค่ะที่ Lesson study เป็นที่รู้จักและนำไปใช้มากขึ้นในบ้านเราประเทศไทย ส่วนตัวรู้จักอยู่พอควรในฐานะนักศึกษาและวิทยากรการสอนคณิตศาสตร์  รวมทั้งทำวิจัยจึงขออนุญาตแลกเปลี่ยนกับท่านนะคะ

หัวใจของ Lesson study อยู่ที่การที่ครู (ที่สอนในสายเดียวกัน ระดับเดียวกัน มีความสนใจเดียวกัน) แลกเปลี่ยน เรียนรู้ เสริมหนุนกันและกัน โดยอาจวางแผนการสอนด้วยกัน แล้วนำไปใช้ในห้องเรียน คนอื่นในทีมเข้าสังเกตการสอน หลังจากนั้นมีการพบกันเพื่อวิเคราะห์ ประเมินว่ามีสิ่งใดที่ดีแล้ว ควรปรับปรุงแก้ไข วัดผลออกมาแล้วได้สัมฤทธิผลเพียงใด ถ้าเปลี่ยนแปลงวิธีการจะได้ผลกว่าเดิมหรือไม่  กลุ่มครูอาจจะเล็ก ๆ 2-3 คน ทำอย่างเป็นธรรมชาติ ทำเป็นปกติ ก็จะเป็นการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง กล่าวได้ว่า Lesson

Study เป็นการพัฒนาครู เป็นการสร้าง Learning community

Lesson study อาจมองเป็นการวิจัยวิธีสอน บทเรียน ทดลองแนวคิดใหม่ ๆทางการศึกษา กระบวนการใช้เครื่องมือ พฤติกรรมการเรียนรู้ และจะเกิดประโยขน์อย่างยิ่งถ้าได้ข้อสรุปว่า อะไรที่  Work สำหรับนักเรียนที่มีธรรมชาติของความแตกต่างระหว่างบุคคล  

วิธีการสอนมีมากมายหลายวิธี ไม่มีวิธีใดที่ให้ผลในทุกสถานการณ์ เพราะมีปฏิสัมพันธ์กัน( interaction effects) ระหว่างหลาย ๆ ปัจจัย เช่นระดับสติปัญญา แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์   สไตล์การเรียนรู้ของเด็ก(Learning styles)  ความพร้อมทางด้านอุปกาณ์ ความรู้ของครู ธรรมชาติของผู้เรียน ฯลฯ ไม่ควรใช่วิธีสอนน้อยเสมอไป ไม่ควรต้องค้นพบความรู้ที่พบแล้วสอนตรง ๆก็ได้ สิ่งที่ต้องจดจำก็ต้องให้ท่องจำไม่เสียหายอะไร สอนทุกครั้งต้องเกิดทั้ง ความรู้ ความคิด ทักษะ  และ เจตคติที่ดี และควรเป็น Active Learning ต้องระวังที่จะไม่เป็นเรื่อง Active แต่ ไม่  Learning  มีแต่ Chaosity ในห้องเรียน  

ขอบคุณค่ะ

 

 

หวังว่าคุณครูทั้งหลายจะเข้าใจว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่ใช่การไปสังเกตการณ์เพื่อจับผิดจับถูกนะคะ เพราะเรื่องนี้ทัศนคติและมุมมองน่าจะสำคัญมากๆในการสะท้อนภาพที่เห็น เพราะการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำมาจนเป็นประเพณีแล้วนั้นน่าจะไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะถ้ามุมมองไม่เปิดกว้างให้ตรงกัน อาจจะมีปัญหาต่อต้านลึกๆที่ทำให้ไม่มีความสุขได้นะคะ 

อาจารย์ ทะเลงาม  ครับ

       ขอบคุณมากครับ  ที่กรุณามาเสริมเติมเต็ม  ทั้งทฤษฎี  ที่มา  รูปแบบ  และ หลักการ ของ Lesson study สำหรับผมเอง จะเน้นไปที่การปฏิบัติจริงครับ  เลยทำให่้อ่อนในเรื่องของหลักการ ในเรื่องของวิธีการไปมาก  ทำแบบง่ายๆ  ไม่ค่อยยึดรูปแบบ  ไม่ค่อยยึดหลักการ     ได้อาจารย์มาเสริมเติมเต็ม ต้องขอขอบคุณอย่างสูงครับ    มีหลายประเด็นที่ผมยังไม่สมบูรณ์ตามหลักการ

       ผมชอบตรงนี้ครับ   Active แต่ ไม่ Learning มีแต่ Chaosity ในห้องเรียน 

                                       ขอบคุณครับ

      คุณ  โอ๋ -  อโณ  ครับ 

           ยอมรับเลยครับ เรื่อง Lesson study  ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ   แทบที่จะเป็นเรื่องทวนน้ำเลยครับ  เพราะเหมือนกับไปจับผิด  และ อีกอย่าง  เรามักไม่ค่อยยอมรับกัน   แล้ว  คนไปสังเกต  ก็มักไม่กล้าพูด  ในข้อที่เป็นจุดอ่อน  เพราะตัวเอง  ก็ยังมีจุดอ่อนเช่นกัน ไม่ได้ดีไปกว่าเขา  

             อีกอย่า ระบบอาวุโส  ก็สำคัญครับ   เป็นอุปสรรคมาก ต่อ Lesson study

           ผมทำแบบค่อยเป็นค่อยไปครับ  ต้องใช้เวลา  ต้องมีความจริงจัง และ  จริงใจ ให้เขาไปก่อน   โดยเฉพาะตัวผมเอง   ไม่ได้่อยู่ในหน่วยงานเดียวกับเขา  ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเขา  ก็พอที่จะพูดวิพากษ์ได้บ้าง แต่ต้องทีละน้อย ค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้น

           แต่คุณครู กับ   คุณครูด้วยกันเอง   ค่อนข้างเป็นเรื่องยากครับ   ต้องใช้เวลาพอสมควร

                                                ขอบคุณมากครับ

  

อาจารย์ JJ  ครับ
   
       สำคัญที่สุดที่ Earn นะครับ  เด็กได้อะไร
 
                           ขอบคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท