เสียงจากแดนไกล สื่อสาธารณะ บล๊อก. การรับรู้ข้อมูลและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น


วันนี้ตื่นมาตอนเช้า. ผมก็เข้ามาเช็คอีเมล์เช็คเฟสก่อนไปทำงานตามปกติ
แต่สิ่งที่ไม่ปกติคือผมมาพบกระทู้ที่ถูกแชร์กับมามีทั้งโพสต์โจมตีรัฐบาล. โพสต์ตอบโต้ฝ่ายค้าน โพสต์แชร์ความคิดเห็น. โพสต์ธรรมะ โพสต์เรื่องคนถูกฟ้องเพราะใช้สื่อประนามผู้อื่นแล้วไม่เป็นความจริง. แล้วทำใหคิดได้ว่า เราเข้ามาใช้สื่อสาธารณะนี้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เราต้องไม่ลืมว่า
1เฟสและบล็อกเป็นที่สาธารณะจะโพสต์หรือแสดงความคิดเห็นอะไรต้องคิดก่อน
2การสื่อสารบนเฟสและกระทู้ในบล็อกเป็นการสื่อสารด้วยตัวหนังสือ ไม่ได้เห็นอวัจนะภาษา. ผู้สื่อสารไม่ทราบว่าเจตนาของผู้โพสต์เป็นอย่างไรดังนั้นการเขียนจะต้องระวังมากขึ้นอีก
3ข้อมูลในเฟสและบล็อกทั้งหลายมีข้อข้อมูลจริงและไม่จริง ข้อมูลบางอย่างนั้นใส่ความคิดเห็นตัวเองลงไปเพื่อจะโน้มน้าวให้คนอื่นเชื่อสิ่งที่ตัวผู้เขียนคิดดังนั้นก่อนจะเชื่อหรือไม่เชื่ออะไรต้องนำมาพินิจพิเคราะห์ก่อน ว่าที่จริงในประเด็นที่สามนี้อยากเขียนเยอะเพราะคนไทยเรา เราไม่ได้ถูกฝึกให้คิดหาเหตุผลพิเคราะห์เรื่องต่างๆ เราเรียนโดยบอกให้จำๆต่อกันมาดังนั้น ข่าวลือต่างๆจึงลามไปไวมากในสังคมไทย ยึ่งปัจจุบันมีสื่อสาธารณะ ข่าวสารยิ่งเคลิ่อนไหวไปไวพอๆกับไฟลามทุ่ง ที่จริงพอมาเรียนที่ออสเตรเลีย แล้ว ผมได้ทำรายงานเรื่องเสรีภาพในการสื่อสาร ผมจึงเริ่มเข้าใจว่า ในเมื่อคนตะวันตกเขาใช้สื่อ เขาไม่ทราบถึงภัยอีกด้านของมันหรือ? จะเห็นได้ว่าปัจจุบันไม่ใช่เฉพาะรัฐบาลหรือ ประชาชนเท่านั้นที่ใช้สื่อสาธารณะ กลุ่มก่อการร้าย มิจฉาชีพก็ใช้. บางทีอาจจะใช้มากกว่าภาครัฐในการสร้างความหวาดระแวงให้เกิดขึ้นในสังคมและอาศัยช่องทางนั้นก่อความไม่สงบด้วยซ้ำไป. แต่ เท่าที่ผมทราบ นักคิดชาวตะวันตก ปรัชญาเมธีทั้งหลายของตะวันตกอย่างอดัม. สมิธ เขาบอกว่าในโลกที่ต้องการเสรีภาพในการสื่อสารนั้น เราต้องยอมให้มีการโป้ปดมดเท็จเพื่อรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพในการสื่อสาร และฝึกให้คนในสังคมมีวิจารณญาน เพราะอย่างน้อยการที่มีข้อมีข้อมูลทั้งจริงและไม่จริงทำให้คนเราได้ฝึกเลือกข้อมูลว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อข้อมูลอะไร? และจะใช้ปัจจัยไหนมาตัดสินว่าตนเองควรเชื่ออะไร นั่นเองทำไมโลกตะวันตกถึงเชื่ออย่างฝังหัวเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการให้เหตุผลมาสนับสนุนความคิดของตัวเรา เพราะท้ายสุดมันนำไปสู่การแสวงหาความจริง

ที่จริงมีคำถามน่าคิดว่า แล้วท่านเหล่านี้ไม่คิดถึงการละเมิดสิทธิผู้อื่นหรือ?

ผมเชื่อว่าท่านเหล่านี้คงคิดถึงด้านลบของเสรีภาพในการสื่อสารด้วย แต่ท่านคงทราบดีว่า การบังคับใข้กฎหมายของชาติตะวันตกนั้นต่างกับไทย เพราะใช้บังคับอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันดังนั้นคนที่จะโพสต์หรือเขียนอะไรในสที่สาธารณะนั้นจะต้องมาควบคู่ไปกับความรับผิดชอบในการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นและการรักษาประโยชน์ของสาธารณะไว้ด้วยซึ่ง ประเด็นนี้ผมเห็นว่าในไทย คนไทยยังมีทักษณะน้อยเมื่อเทียบกับสังคมอื่นๆ... 

ดังนั้น เราต้องหัดมีวิจารณญานให้มากๆก่อนที่จะเชื่ออะไร อย่าให้อารมณ์มาอยู่เหนือเหตุผล และการเชื่ออะไรนั้นต้องมีหลักการในการกลั่นกรอง สำหรับผมนั้นผมคิดว่าหลักการเรื่องกาลามสูตรของพระพุทธเจ้านั้นเหมาะสมที่สุดที่จะนำมาใช้ ในสมัยนี้
หมายเลขบันทึก: 542812เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2013 05:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2013 05:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนอาจารย์ Old soldier เข้ามาอ่านบันทึกนี้แล้วแนวคิดในการรับสื่อ

สื่อที่ตรงกับความคิดเรามักจะขาดวิจารณญาณ ในการวิเคราะห์

รู้เท่าทันสื่อ คือต้องลดการชอบชังรักเกลียด อย่าง "รู้เท่า รู้ทัน รู้กัน รู้แก้ วิเคราะห์ แล้วจะเห็นสัจะแห่งสื่อ

ขอบคุณที่แบ่งปันความคิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท