การให้เหตุผลทางคลินิกแบบClient centeredในผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมอง


จากที่ผ่านมาดิฉันได้เขียนบล็อกเกี่ยวกับผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมองhttp://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/541730

ซึ่งได้นำเสนอถึงบทความ งานวิจัยต่างๆที่ช่วยสนับสนุนการรักษาให้แก่ผู้รับบริการ และhttp://www.gotoknow.org/posts/542320ซึ่งนำเสนอเกี่ยวกับการให้เหตุผลทางกิจกรรมบำบัด ในครั้งนี้ดิฉันการให้เหตุผลทางกิจกรรมบำบัดในอีกรูปแบบหนึ่งคือ การให้เหตุผลแบบ Client-Centered Clinical reasoning โดยจะนำเสนอการเขียนรายงาน2แบบ คือ ABCDและแบบFEASTคะ 

ABCDประกอบไปด้วย

  Audience/client : ผู้ฟังซึ่งในที่นี้หมายถึงผู้รับบริการ คือ ผู้รับบริการได้รับฟังข้อมูลอะไรจากเราบ้าง เราได้แนะนำหรือบอกอะไรแก่ผู้รับบริการ

  Behavior: พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้รับบริการซึ่งเป็นอุปสรรคหรือข้อจำกัดที่ส่งผลต่อการบำบัดฟื้นฟู

  Conditions : สภาวะหรือโรคที่ผู้รับบริการเป็น ลักษณะอาการที่แสดง

  Degree/measurable goal : ระดับความรุนแรงของโรคและการวางแผนการรักษาต่อไป

FEASTประกอบไปด้วย

·  Function/occupational performance areas : ความสามารถ/หน้าที่การทำงานของร่างกาย

·  Expectation : ความคาดหวังของผู้รับบริการ

·  Action : ความสามารถของผู้รับบริการ

·  Specific condition : สภาวะที่เฉพาะเจาะจง

·  Timeline: ระยะเวลาที่ใช้ในการวางแผนบำบัดฟื้นฟู

ข้อมูลผู้รับบริการ

ชื่อ คุณจ. (นามสมมติ) เพศ หญิง อายุ 65 ปี  ข้างที่ถนัด ขวา การวินิจฉัยโรค  Stroke(Right hemiplegia) อาการสำคัญ มีอาการอ่อนแรงร่างกายซีกขวา ความต้องการของผู้รับบริการ ต้องการให้ร่างกายซีกขวาสามารถกลับมาใช้งานได้เป็นปกติ สามารถทำกิจกรรมดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

การเขียนรายงานแบบABCD

  ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคหลอดเลือดสมองซึ่งมีอาการอ่อนแรงของร่างกายซีกขวา อีกทั้งมีภาวะไหล่หลุด นักกิจกรรมบำบัดจึงแนะนำการใส่ที่ประคองไหล่(Shoulder sling) โดยให้ผู้รับบริการใส่ในขณะทำกิจกรรมยกเว้นตอนนอน ด้วยภาวะไหล่หลุดซึ่งส่งผลทำให้มีอาการเจ็บปวดบริเวณหัวไหล่ ทำให้ผู้รับบริการไม่อยากเคลื่อนไหวแขนด้านขวา ซึ่งเป็นอุปสรรคในการฝึกกิจกรรมบำบัดรวมถึงการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการ นักกิจกรรมบำบัดจึงวางแผนการรักษา โดยตั้งเป้าประสงค์การรักษาเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน ซึ่งตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ ปัจจุบันผู้รับบริการไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้ จึงวางแผนการรักษาโดยให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองหลังเข้ารับบริการทางกิจกรรมบำบัดเป็นเวลา4สัปดาห์

การเขียนรายงานแบบFEAST

  ผู้รับบริการได้รับการบำบัดฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง โดยมีอาการอ่อนแรงของร่างกายด้านขวา ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองและบทบาทงานอาชีพค้าขายได้ ผู้รับบริการมีความคาดหวังในการที่จะสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองรวมถึงการประกอบงานอาชีพค้าขาย เป้าประสงค์หลักสำหรับการบำบัดฟื้นฟูผู้รับบริการรายนี้คือให้ผู้รับบริการสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองหลังเข้ารับบริการทางกิจกรรมบำบัดเป็นเวลา4สัปดาห์ ซึ่งผู้รับบริการจะมาฝึกกิจกรรมบำบัดสัปดาห์ละ2ครั้ง ครั้งละ1ชั่วโมง ความสามารถในปัจจุบันหลังได้เข้ารับการฝึกกิจกรรมบำบัดเป็นเวลา2สัปดาห์พบว่า ผู้รับบริการสามารถใส่-ถอดเสื้อผ่าหน้าแบบมีกระดุมได้,ถอด-ใส่กางเกงแบบเอวยางยืดได้และตักอาหารรับประทานโดยใช้มือซ้ายได้

 


หมายเลขบันทึก: 542593เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2013 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2013 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

...ขอชื่นชมนักกิจกรรมบำบัดที่มีบทบาทสำคัญมากในการช่วยเหลือผู้ป่วยให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองนะคะ...ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายนะคะ...ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท