๑๔๖.รูปแบบ วิธีการ และกระบวนการ วาดรูปเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ


 

วาดรูปเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ 
เวทีสัมมนาแผนยุทธศาสตร์สร้างความเป็น 'มหาวิทยาลัยวิจัยของท้องถิ่น'
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
ณ โรงแรมรอยัลเจมส์  จังหวัดนครปฐม  ๓๐ มิถุนายน-๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
วิทยากรกระบวนการ : วิรัตน์ คำศรีจันทร์

๑.แนวคิด เหตุผล ความสำคัญ และวิธีทำ

                                                                                 

        เวทีสนทนาพูดคุยประเด็นที่มีความเป็นสาธารณะมาก และกลุ่มผู้เข้าร่วม นอกจากจะเป็นกลุ่มขนาดค่อนข้างใหญ่ มากกว่า ๖๐-๗๐ คนแล้ว ก็เป็นกลุ่มสหวิทยาการและพหุภาคี ซึ่งล้วนมีบทบาทสำคัญในหลายภาคส่วนของสังคม การเข้ามาร่วมการสัมมนาจึงมีความหมายมาก แต่ขนาดของกลุ่มเป็นข้อจำกัดต่อการจัดกระบวนการให้ทุกคนมีส่วนร่วมได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอ         

         ดังนั้น จึงเป้นปัญหาและทำให้เกิดคำถาา ซึ่งเสมือนเป็นโจทย์การวิจัยและจำเป็นต้องสร้างเครื่องมือเชิงกระบวนการมารองรับว่า ......ทำอย่างจึงจะสามารถทำให้สภาพแวดล้อมของห้องประชุม มีส่วนต่อการบริหารจัดการข้อมูล ส่งเสริมการสื่อสารเรียนรู้ สร้างปฏิสัมพันธ์ ช่วยเปิดพื้นที่ เพิ่มโอกาสในการร่วมคิด ร่วมทำ และทำให้การจัดเวทีได้เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งๆขึ้น ผู้เข้าร่วมประชุมเกิดความประทับใจ ได้มีส่วนร่วมหลากหลายช่องทาง และทั่วถึงมากขึ้น ...

         แนวคิดและคำถามเชิงการวิจัยเพื่อจัดกระบวนการดังกล่าวนี้  วิธีง่ายๆและเป็นการผสมผสานวิธีการแบบ Nontext Research Tool ดังเช่นการทำกระดาษแปะติดผนังขนาดใหญ่แล้ววาดรูปต้นไม้ พร้อมกับแจกกระดาษโพสต์อิธ ให้ทุกคนสามารถเขียนสิ่งที่ต้องการแสดงการมีส่วนร่วม แล้วนำไปติดบนรูปต้นไม้บนกระดาษที่วาดขึ้น เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยตอบโจทย์และครอบคลุมความจำเป็นในลักษณะนี้ได้

๒. กระบวนการ
     (๑) ติดกระดาษบนผนัง โดยใช้กระดาษปรู๊ฟแผ่นใหญ่ ๑๐ แผ่น ต่อกัน
     (๒) วาดรูปต้นไม้
     (๓) เขียนข้อแนะนำ คำอธิบาย ความหมาย และวิธีการร่วมใช้ทำกิจกรรมบนเวที
     (๔) แจกกระดาษแบบมีกาวอยู่ในตัวหรือกระดาษโพสต์อิธ ตั้งแต่เริ่มเข้าเวทีประชุม
     (๕) ผู้ประสานงานและดำเนินรายการเวที ประชาสัมพันธ์ บอกกล่าว เชิญชวนให้เขียนข้อความที่ต้องการ แล้วนำไปติดด้วยตนเอง
     (๖) ผู้ร่วมเวทีเขียนและนำไปติดตอนไหนก็ได้ ตามสะดวก โดยไม่ต้องลงชื่อ

    

สื่อที่ทำเสร็จและติดไว้บนผนังเรียบร้อยแล้ว

๓. การชี้แนะที่เขียนและระบุแนวการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง (Instruction)

 

ข้อความบนสื่อเพื่อเป้นสื่อสำหรับกระบวนการมีส่วนร่วมและเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติด้วยตนเอง

     เขียนความคิด ความคาดหวัง ข้อมูล สำหรับร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมขับเคลื่อน กระบวนการทางการศึกษา เพื่อสุขภาวะยั่งยืนของสังคม โดยร่วมสร้างสรรค์ความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ ........

 

  • การขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ให้เป็นจริงใน ๕ ปีข้างหน้า ๒๕๕๖-๒๕๖๐
  • เรื่องที่ยังไม่ได้คุย-นำเสนอในเวที     
  • เรื่องที่อยากเสนอแนะ-ชวนพิจารณา
  • เรื่องที่อยากให้ชื่นชม ให้กำลังใจ

เขียนลงในกระดาษ แล้วนำมาติดแปะไว้ตามสบายครับ

 

                                    

                                    

                                    

                                    

๔. ผลที่ได้
     (๑) ได้ข้อมูล ประเด็นข้อร่วมคิดร่วมทำ และการแสดงออกต่างๆ เป็นจำนวนมาก
     (๒) เป็นมุมหนึ่งของห้องประชุม ที่ก่อให้เกิดการยืนพูดคุย ขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนทางการสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ ส่งเสริมให้เวทีประชุมบรรลุผลสำเร็จในการพัฒนาเครือข่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ต่างๆได้มากยิ่งๆขึ้น
     (๓) ในทางการสื่อสารเรียนรู้ สื่อศิลปะและการวาดรูป นอกจากจะเป็นเครื่องมือช่วยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพอย่างมีส่วนร่วม ได้อย่างมีพลังมากแล้ว ก็เป็นเงื่อนไขทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์และสื่อสาร ๒ ทาง หรือ ๒ Ways Communication ซึ่งก่อให้เกิดมิติชุมชนในเชิงจินตภาพ และทำให้การบริหารจัดการการมีส่วนร่วมของเวที ประสบความสำเร็จ เกิดการพูดคุยและปรึกษาหารือกันด้วยบรรยากาศที่ดี มีนัยสำคัญต่อประเด็นที่ต้องก่าร ได้มากขึ้น
     (๔) ทำให้เกิดสื่อเพื่อการสนทนาภายในด้วยตนเอง (Dialogue) ระหว่างผนังและสภาพแวดล้อมกับผู้เข้าร่วมประชุม ผนังห้องไม่ว่างเปล่า และไม่ทำให้สภาพแวดล้อมถูกปล่อยให้เงียบอย่างไม่มีความหมาย รวมทั้งไม่ถูกละเลยให้ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา ที่ยังมีความคิดอีกหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อหัวข้อการสัมมนาที่ต้องการการมีส่วนร่วม แต่กระบวนการเวทีโดยตรง ไม่สามารถจัดสรรให้มีส่วนร่วมได้อย่างทั่วถึงในรูปแบบเดียวกันทั้งหมดทุกคน

                                     

 

..................................................................................................................................................................

Field note :  เครื่องมือและวิธีการแบบ Nontext สำหรับบันทึกและเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างมีส่วนร่วม
Case 
:           เวทีสัมมนาแผนยุทธศาสตร์สร้างความเป็น'มหาวิทยาลัยวิจัยของท้องถิ่น' 
                      มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ 
Date :            ๓๐ มิถุนายน - ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ 
Place :          โรงแรมรอยัลเจมส์ จังหวัดนครปฐม 
Proponent and Implementator : มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ และจังหวัดอำนาจเจริญ
Conceptual Design and Process Facilitator :  ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์ นักวิชาการอิสระ
Project Director :  ผู้ช่วยศาสตราจารย์นคร เหมะ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
Coordinator :         ดร.จตุรงค์ จันทร์สี่ทิศ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 541110เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2013 04:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2013 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอขอบพระคุณทุกท่านครับที่เข้ามาเยือน อาจารย์ ดร.โอ๋-อโณ และ Dr.sr ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์  ที่เคารพ

ใบหน้ามีรอยยิ้มมสวนทางกับ "สูท"  ที่ดูเคร่งขรึมนะคะ  กระบวนการน่าจะทำให้ทุกคนชอบมากที่ด้มีส่วนร่วม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท