ความงาม & หน้าที่.... "เลือดนก" มีอะไร??


 ความงาม & หน้าที่... "เลือดนก" มีอะไร??

 "เลือด: น้ำเลือด & เซลล์เม็ดเลือด"



อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเลือด เพื่อศึกษาเซลล์เม็ดเลือดของนก


เรามักจะคุ้นเคยกับการเรียกสีแดงที่มีโทนสีต่างๆกัน หนึ่งในนั้นก็เรียกว่า " สีแดงเลือดนก" ..สีต่างกับแดงอื่นๆยังไงหนอ??   ...ธรรมชาติของนก จึงไม่เพียงแต่จะมีสีสันสวยงามภายนอก สำหรับให้ใครใคร่ศึกษาเท่านั้น  หากรู้จักกันให้ลึกซึ้งถึงระดับเซลล์  ก็มีความงามและความสำคัญไม่น้อย   โดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดง/ขาว  มีความน่าสนใจ ทั้งรูปร่างและหน้าที่   ทั้งนี้เลือดยังหมายรวมถึง ส่วนที่เป็นน้ำเลือด (blood plasma)  หรือส่วน ซีรั่ม (serum)  ที่จะนำไปวิเคราะห์หาค่าต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ที่สนใจ ...ไม่ว่าจะเป็นเอนไซม์ต่างๆ  หรือปริมาณสารเคมีที่ปนเปื้อนผ่านห่วงโซ่อาหาร และปรากฏในผู้บริโภคอย่างเช่นนก ..ในเลือดนก  ฯลฯ   

ตัวอย่างน้ำเลือด (พลาสมา) ที่ได้จากการปั่นเหวี่ยง  ในห้องปฏิบัติการ ที่เรียนรู้ ทำจริง เก็บตัวอย่างในภาคสนาม


เลือดและค่าพารามิเตอร์ต่างๆ  จึงใช้เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิต เช่นสุขภาพของนก  โดยนัยแล้ว..ไม่ต่างจากคนเรา  จึ่งควรจะมีค่ามาตรฐาน baseline แต่ละชนิด เก็บไ้ว้ศึกษาเปรียบเทียบเมื่อมีนกที่อยู่ในสภาวะที่ไม่แข็งแรง  บาดเจ็บ เป็นอันตราย ต้องการรักษาให้ดีขึ้น หรือใช้คุณภาพชีวิตของนกบ่งชี้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมอีกต่อหนึ่ง

ในทางเทคนิค...ก่อนที่จะนำเลือดมาศึกษา จะต้องศึกษาวิธีการเก็บเลือดให้ดี และเลือกใช้เทคนิคที่เหมาะสม  โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการศึกษาเฉพาะเรื่อง  .. แต่ที่ไม่ยุ่งยากเช่น การเกลี่ยเลือดให้บาง   ( blood smear) หรือ นำเลือดในปริมาณน้อยไปปั่นเหวี่ยงเพื่อตรวยดูค่าเลือดต่างๆ ..


เลือดนกและการศึกษาชนิด/ปริมาณเซลล์..

· การเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อหาค่าฮีมาโทคริต (haematocrit) โดยนำเลือดที่เก็บด้วยหลอด capillary tube ไปปั่นเหวี่ยงด้วยเครื่อง (haematocrit centrifuge) แยกน้ำเลือด (plasma) ออกจากเซลล์ แล้วนำไปอ่านค่าเปอร์เซ็นต์เซลล์เม็ดเลือดแดงที่อัดตัวเรียงกันแน่น (packed cell volume, PCV)


hematocrit/capillary tube ที่นำมาเก็บเลือดนก  ใช้เพียงหนึ่งหยดเพื่อทำเทคนิค smear ส่วนที่เหลือนำไปปั่น



capillary tube ที่ผ่านการปั่น ทำได้ครั้งละหลายหลอด 

  สังเกตการแยกชั้นของน้ำเลือด (พลาสมา) และเซลล์เม็ดเลือดในแต่ละหลอด


การศึกษาชนิดของเซลล์เม็ดเลือด โดยใช้เทคนิคเกลี่ยเลือดให้บางบนสไลด์  หลังจากนั้นนำสไลด์ที่ได้ไปผ่านขั้นตอนการคงสภาพ และย้อมสี ( Modified Wright’s and Giemsa’s stain) เพื่อศึกษาชนิดและจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดแดง (Red blood cell, erythrocyte) และเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ  (White blood cell) ชนิดต่างๆ.และรายงานเป็นร้อยละที่ตรวจพบเซลล์เม็ดเลือดขาวแต่ละชนิด จากการนับจำนวนหนึ่งร้อยเซลล์  (differential count)



สไลด์ที่ใช้เทคนิคเกลี่ยเลือด  ก่อนนำไปย้อมสีเพื่อศึกษาชนิดและปริมาณเซลล์เม็ดเลือด


ความแตกต่างของเซลล์เม็ดเลือดแดงของนกและคน

นอกจากขนาดและรูปร่างแล้ว สิ่งที่ต่างกันชัดเจนของเซลล์เม็ดเลือดแดงของนกและคนก็คือ  เซลล์เม็ดเลือดแดงของนกมีนิวเคลียส  ส่วนของคนเรา แรกเริ่มสร้างที่ไขกระดูก (Bone marrow) ก็มีนิวเคลียส แต่เมื่อเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด นิวเคลียสก็สลายไป  

เซลล์เม็ดเลือดแดงของนกมีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจน ซึ่งมีความสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาเคมีเผาผลาญสารอาหารเพื่อสร้างพลังงาน โดยนกเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้พลังงานสูงมากในการบิน   และนกมักจะกินแล้ว..ถ่ายเร็ว 


ชนิดของเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆของนก

(NB: เซลล์เม็ดเลือดในภาพที่เสนอเป็นของ ..นกกินเปี้ยว (Collared kingfisher) โดยหลังจากนำสไลด์ไปย้อมสีเซลล์เม็ดเลือด ก็จะถ่ายรูปภายใต้กล้องจุลทรรศน์ที่กำลังขยาย 100x10 และ scale bar ที่เห็นในหน่วยของไมโครเมตร)   (สนใจอ่านเิ่พิ่มเติมได้ที่ http://burongtani.oas.psu.ac.th/blog/380)


นกกินเปี้ยว (Collared kingfisher)

นกกินเปี้ยว... มักพบหากินเป็นคู่ ตัวผู้และเมียมีลักษณะคล้ายกันมาก แยกไม่ออกด้วยตาเปล่า  ที่ปัตตานีพบได้บ่อยบริเวณหาดเลน หรือพื้นที่ชุ่มน้ำป่าชายเลน.. .จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับนกกะเต็น อีกหลายชนิด  (Kingfisher) เช่นกะเต็นหัวดำ  กะเต็นอกขาว  กะเต็นใหญ่ฯลฯ    ส่งเสียงร้องดังมากเมื่อเทียบกับขนาดตัว     กินปลา  สัตว์เลื้อยคลานเล็กๆ เช่น จิ้งเหลน กิ้งก่า   ทำรังในรังของปลวก ที่พบได้ตามต้นไม้ เช่นต้นมะพร้าว หรือในสวนยาง (ปักษ์ใต้เรียกว่า "เคง" )  ใช้ปากอันทรงพลังเจาะโพรง  วางไข่และเลี้ยงลูก  โดยทั้งพ่อและแม่ช่วยกันเลี้ยงลูก  จนกว่าจะบินออกจากโพรง...(นกที่เห็น...เป็นรูปถ่ายจากโครงการใส่ห่วงขานก bird ringing) ใน มอ.ปัตตานี) ขณะใส่ห่วงขา 

ข้อสังเกต:   การถูกหนีบด้วย ปากอันทรงพลังจะเจ็บมาก (ยืนยันว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ !!!)  และรับรู้ได้ว่า .. ปลา/สัตว์เล็ก..ซึ่งเป็นอาหาร สดๆ ที่นกชนิดนี้กินเป็นอาหาร  ยากที่จะรอดจากการล่าของ King....ก็..Kingfisher นั่นไง..จึงเป็นที่มาของชื่อหล่ะค่ะ...




(Heterophil, Lymphocyte, Eosinophil, Monocyte คือชนิดของเซลล์เม็ดเลือดขาว สังเกตดูรูปร่าง หรือการติดสีจะแตกต่างกัน)




.ดูแล้วเซลล์เม็ดเลือดนกก็งามไม่น้อย...สีสวยทั้งภายใน และ ภายในนะเนี่ย....สำคัญไม่น้อยเลยน่ะ..มีใครเห็นด้วยบ้างหนอ ? ...art & science..by one's eyes...:-))

๒๗ มิย. ๒๕๕๖

Kwancha..

หมายเลขบันทึก: 540726เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2013 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มิถุนายน 2013 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

Thank you for the light into this area (I had never looked because it was dark).

Bird Blood in g(l)ory details ;-) the sequel?

เห็นด้วยว่าสวยมาก ทำทุกอย่างอย่างมีความสุข มองดูอย่างก็จะมีความสุขครับพี่

็Hi  SR,

Exactly, in the g(l)ory  details..the beauty of bird blood cells :-)) 

แหม..ท่านช่างเ่ลือกใช้คำ ทำให้ยิ้มได้ัทันทีที่อ่าน ..ชอบค่ะ.. gory  &   glory..  สุนทรีย์ทางด้านภาษา  มาพร้อมกับภาพเซลล์เม็ดเลือดของนก นะค่ะ ท่าน SR....  ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะ  

สวัสดีค่ะน้องแอ๊ด

ทุกขั้นตอนแฝงไว้ด้วยอามรมณ์ดี   มีความสุขอย่างทีน้องแอ๊ดกล่าวมาจริงๆค่ะ    แต่กว่าจะผ่านแต่ละขั้น โดยเฉพาะการศึกษาเซลล์เม็ดเลือด  ขั้นการย้อมสี และ ถ่ายภาพเซลลล์ ซึ่งทำภายใต้กำลังขยายสูงสุดของกล้องจุลทรรศน์ที่เรียกว่า 100 x +oil....อืมม์...พยายามทำจนได้ค่ะ ด้วยสายตาที่รู้สึกว่าแย่ลง  แต่ก็เพราะรัก/ชอบ (passion) ที่จะทำนี่หล่ะ..  นอกจากพี่จะดูนก  นับนก  ริงนก แล้ว ก็มีงานแล็บด้วยค่ะ  เห็นทั้งเสกลใหญ่และเล็กจะไ้ด้มองอย่างเชื่อมโยงกันค่ะน้องแอ๊ด..

เทคนิคต่างๆเวลาเสร็จแล้ว เอามาจัดเรียงถ่ายรูปก็ดูสวยดีด้วย   ทำไว้ให้นศ. ดูและเรียนรู้  เลยเอามาไว้ที่นี่ด้วย เผื่อมีใครสนใจ...  ขอบคุณค่ะ ที่แวะมาทักทายรับรู้ได้ว่า   น้องแอ๊ดก็ดูอย่างมีความสุขค่ะ :-))

สวัสดีค่ะอาจารย์วรรชไม

วันนี้มาอ่านเรื่องราวของเลือดนก บางอย่างก็ไม่รู้เรื่อง(ไม่มีความรู้)มากนักหรอก อิอิ แต่ก็อ่านเพราะอยากรู้

อ่านไปอ่านมาเจอคำว่า "เคง" ให้ได้คิดถึงเรื่องราวเก่าๆ ครั้งยังเป็นเด็ก ที่เตี่ยเลี้ยงปลานิล เตี่ยและพี่ชายจะเดินไปในป่ายางไปหาเคงมาเคาะให้ปลากิน มันแย่งกันใหญ่ คงอร่อยมันๆ อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร 

ส่วนเซลล์เม็ดเลือดนั้นสวยงามอย่างผ้าเชียวค่ะ 

ขอบคุณมากมายค่ะ ที่นำความรู้มาให้ได้อ่านเสมอๆ :)

จาก คนถ้ำ เจ้าค่ะ 

สวัสดีค่ะน้องหนูรี  คนถ้าำที่แสนน่ารัก..

ขออภัยค่ะ  มิได้ตั้งใจให้อ่านยากสักนิดเดียว   คราวต่อไปต้องปร้บปรุงๆๆๆ  .. แห่ะๆๆ เทคนิคมากไปหน่อย  แต่ยังไงก็ดีใจที่บอกว่า  .. เซลล์เม็ดเลือด สวย  ...คนมากด้วยอารมณ์ศิลป์ อย่างน้องหนูรี   ก็คงอิน กะสีสัน  เป็นแน่แท้ :-))

กล่าวถึง "เคง"...ลูกหลานปักษ์ใต้ คงจะรู้จัก กันเป็นอย่างดี  เพราะปลวกพวกนี้ รังจะ่ต่างจากปลวกอื่นๆชอบขึ้นในสวนยางและ ต้นไม้    การดำรงชีพที่เื้่อื้ออิงกัน   เป็นภูมิัปัญญาของบรรพชนจริงๆค่ะน้องหนูรี   อย่างเช่นที่น้องบอกว่า เตี่ยและพี่ไปหา "เคง"  มาเลี้ยงปลานิล....ใช่เลย ทั้งปลา และ ไก่   พี่เห็นส่วนใหญ่เกือบทุกที่ เค้าหา "เคง"  มาเลี้ยง   เพราะปลวก "เคง" เป็นอาหารโปรตีนชั้นยอดหล่ะค่ะ      เอามาผ่า หรือสับ ทุบรังให้ละเอียด ตัวอ่อนเล็กๆก็จะตาย แล้วเอาไปโรยให้ปลากิน เพราะปลวกตัวอ่อนจะลอยน้ำ ....

 เสียดาย  ปัจจุบัน สวนยางมักจะใช้ยาฆ่าหญ้า  ปลวกประเภทที่เคยอยู่ได้ในป่า ที่มีซากพืช กิ่งไม้ ใบไม้ ก็ยังไม่มีที่อยู่   เราก็เลยไม่ค่อยเห็น "เคง" มากนัก หมู่นี้  ยกเว้นสวนยางแต่ก่อนที่ไม่ใช้สารเคมี    กลายเป็นมนุษย์เราก็เข้าไปยุ่งกับระบบมากเกินไป..อะไรๆ ก็กลับตาลปัตรได้ อย่างเหลือเชื่อ..เห็นการเปลี่ยนแปลงแม้เพียงชั่วอายุของเราเอง

สำหรับนกกินเปี้ยว พี่ก็ยังสงสัยว่า ทำไมเลือกใช้โพรงของรัง "เคง"  .. เพราะโพรงแข็งแรง หรืออย่างไร ??  ค่อยมา บอกใหม่ หากทราบคำตอบจ๊ะ

ขอบคุณ..คนถ้ำทะลุ.. ที่แวะมาให้กำลังใจ ..คนริมเลตานี...เสมอมานะค่ะ   .:-))


Hi again. The story and picture of bird blood followed me for a few hours. I reread it again and I still wonder about using blood test to determine/assess 'health of wildlife' (I understand that it is not a 'new' technique and there must be some records of blood samples from some animals --in some study-- somewhere). I see some comparative study: comparing samples from different locations and different times, comparing certain population/species with competing population/species (to see which is/are healthier and --maybe-- adapting better to change in environment [human-human comparison would also be interesting), ...

I have thought of applications like blood testing animals before slaughtering to ensure 'health of people' (and what do we do with unhealthy animals?), assessing quality of animals' feed (formulas), a measure against outbreaks of diseases, ...

I have questions like how can we perform the test quicker? Can we have something similar to 'glucose meter' (for diabetis) --result in 10 seconds? [And follow on from that, can we 'print the test strips' using computer inkjet printers but test solutions rather inks?] ,...

Pull me down please, I am really flying away in Dreamland ;-)


สงสัยจังค่ะ เวลาเห็นสีเลือดเป็นสีแดง

แต่ที่เห็นเซลล์เลือดของนก...ทำไมออกดูเป็นสีม่วง ๆ ... ม่วงเข้มจนเกือบเป็นสีน้ำเงิน

แฮ่ะ ๆ .... ไม่รู้เรื่องทางวิทยาศาสตร์เลยค่ะ

(@^_________________^@) !!!!!

แวะมาสวัสดีปีใหม่กับอาจารย์

ด้วยความเคารพและระลึกถึงครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ...ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยบันดาลพรให้อาจารย์มีความสุข (ใจ + กาย) ตลอดไปนะครับ...

อาจารย์สบายดีนะครับ...ด้วยความระลึกถึง...

สวัสดีปีใหม่๒๕๕๗ค่ะ อาจารย์

สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณ kwancha

มาสวัสดีปีใหม่ครับ

ขอให้พี่มีความสุขกับการทำงาน

พี่หายไปนาน

เข้าใจว่างานยุ่งๆนะครับ

ส่งความสุข ความอบอุ่น ในวันครอบครัวถึงอาจารย์นะครับ

ด้วยความเคารพ

ส่งความงดงามมาเติมสุข จากธรรมชาติเนื่องในปีใหม่ ขอตั้งจิตอธิษฐาน ให้ผู้เป็นกัลยาณมิตร เป็นเครือญาติ เป็นครูแห่งชีวิต ผู้ตั้งมั่นในความดี เข้าถึงความเย็นใจ ทุกเมื่อทุกวัน

พี่ครับ

หายไปนาน

คิดถึงๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท