มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

จำนวนประชากรผู้สูงอายุในราชอาณาจักรไทย และ ทันตกรรมผู้สูงอายุ


"Everything in our forecast makes us worry. Thailand needs a policy to prepare society for the age of the elderly," Pramote said.

Kingdom's 'elderly explosion'

----------------------------------------------------------------------- 

มาเรียนต่อเหรอค่ะ  คณะอะไรค่ะ

ทันตะค่ะ

อ๋อ มาต่อโทเฉพาะทางเหรอค่ะ สาขาไหนเอ่ย

อ๋อ มาต่อเอกค่ะ

หมอฟันต้องเรียนเอกด้วยเหรอ สาขาไหนค่ะเนียะ (เริ่มงง)

ทันตกรรมผู้สูงอายุค่ะ

อะไรนะคะ (หน้างงมากขึ้น)

ทันตกรรมผู้สูงอายุค่ะ 

------------------------------------------------------------------------

บทสนทนาประจำเวลาพบเจอเพื่อนใหม่ค่ะ ชินซะแล้ว

โดยส่วนมากก็จะตอบต่อไปว่า คนแก่ที่มีโรคประจำตัวมากมาย ดูแลตัวเองได้น้อยลง ต้องนั่งรถเข็นบ้าง นอนเตียงบ้าง คนที่หลงๆลืมๆบ้าง พวกเขาเหล่านี้แหละค่ะที่ไม่ค่อยมีหมอดูแลเวลามีปัญหา

(คนไข้โดยเฉลี่ยะจะอายุ 70 ขึ้นไป) 

ถ้าปวดฟันที เป็นหนองที หรือฟันปลอมพังบ้างหลวมบ้าง ถ้ามีโรคเยอะ ก็ทำให้การทำฟันยากขึ้น ต้องรู้ว่าจะใช้ยาอะไร อะไรรักษาได้ อะไรพอปล่อยไว้ได้ เค้าจะเดินทางไปหาหมอก็ลำบาก ขึ้นนั่งเก้าอี้ทำฟันก็ลำบาก หมออาจต้องมีอุปกรณ์หรือวิธีพิเศษในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หรือไม่ได้ไปหาที่บ้านเลย

(นี่พูดแต่เรื่องการรักษาอย่าเดียวเลยนะเนี่ยะ) 

ส่วนมากตอบแบบนี้คนก็จะเข้าใจมากขึ้น (แต่ยังไม่สมใจคนตอบ) 

 ------------------------------------------------------------------------       

ที่ี่ไม่สมใจเพราะจริงๆแล้ว ด้านที่ยากกว่าและต้องการความสนใจมากกว่าการรักษาหรือ  การแก้หลังเกิดปัญหา คือ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันไม่ให้โรคในช่องปากไปทำให้มีผลร้ายต่อการกิน การพูด การเข้าสังคม แล้วก็โรคประจำตัวหรืออาการทางระบบอื่นๆ  (เช่น ปอดบวม!)

------------------------------------------------------------------------- 

ที่ลืมไม่ได้คือสังคมและวัฒนธรรมคนไทย

อะไรคือความต้องการ เพราะเรื่องที่สำคัญกว่าเรื่องสุขภาพช่องปากนั้นมีมากนัก เราจะมาไร้เดียงสาู้หน้ามืดโดยไม่ดูความต้องการเบื้องต้นก็ไม่มีอะไรดีขึ้น

------------------------------------------------------------------------ 

แล้วไว้วันหลังจะมาเขียนต่อว่า ทำไมประเทศอื่นถึงมีสาขานี้เพิ่มขึ้นมา (นอกจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และ cohort ที่เปลี่ยนไป) ก่อนจะจบบันทึกนี้ขอออกตัวไว้ก่อนว่าโดยส่วนตัวแล้ว  ไม่ได้คิดว่าหมอฟันที่จะมาดูแลประชากรกลุ่มนี้ต้องเป็น specialist  ในลักษณะเดียวกับหมอดัดฟันหรือหมอรักษารากฟัน

แต่ต้องเป็นหมอ GP ที่รู้เรื่อง medically compromised patient  และที่สำคัญคือ ใจดีแล้วก็ใจเย็นมากหน่อยเท่านั้นเอง 

ถ้ามีคนแวะมาอ่าน เชิญแสดงข้อคิดเห็นได้เลย ไม่ต้องเกรงใจนะคะ ว่ามีประสบการณ์ส่วนตัว หรือ คิดเห็นว่าอย่างไร

 

 

หมายเลขบันทึก: 54047เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2006 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท