ความมั่นคงทางด้านอาหาร กับUPOV


เกษตรกรคัดเลือกพันธ์ แล้วแบ่งปันให้เพื่อนบ้านไปปลูกด้วย เป็นการขยายพันธ์ ซึ่งมีนัยะว่า หากพันธ์ปลูกอยู่เกิดเสียหาย ถูกภัยธรรมชาติ ก็ไปขอแบ่งปันคืนจากเพื่อนบ้าน นั้นคือภูมิปัญญาในการเก็บรักษาพันธ์ของชาวบ้าน

      

คุณวิทูรย์ เลี่ยนจำรูญ 


   ความมั่นคงทางด้านอาหาร  การปกป้องพื้นที่ผลิตอาหาร เกษตรทางเลือก 

หลายๆคำเหล่านี้ เริ่มส่งเสียงดังขึ้น จากเกษตรกรที่กสิกรรม และผู้คนที่เคลื่อนไหวใน

นามของมูล นิธิ ชีววิถี คุณ วิทูรย์ เลี่ยนจำรูญ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน และชาวนา

เกษตรกรที่ทำข้าวอินทรีย์  เมื่อวันที่ 14 -15 มิถุนายน 

       ผู้เขียนได้เข้าไปร่วมงาน สมัชชาความมั่นคงทางด้านอาหาร ในนามสมาคม

ชาวนาและเกษตรกรไทยที่มหาวิทยาลัยที่เกษตรบางเขน

ได้เข้าไปฟังในห้องย่อย ประเด็นกฎหมายกับเมล็ดพันธ์พืชทางการเกษตร 

 ดร. สงกรานต์  จิตรากร  ได้นำคุยเรื่องกฎหมาย ในเรื่องสิทธิเกษตรกรใน ราช

อาณาจักรไทย ไล่มาตั้งแต่ พรบ.พันธ์พืช พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535

และ พ.ศ.2550  พรบ. คุ้มครองพันธ์พืช พ.ศ. 2542 



        ที่ฟังแล้วพอจับใจความได้ว่าการเก็บเมล็ดพันธ์ทางการเกษตรจะตกอยู่ในมือ

พ่อค้า บริษัทต่างๆเช่น ซีพี มอนซานโต้ เบทาโก้ ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดจากการจำหน่าย

เมล็ดพันธ์ ที่น่าเป็นห่วงคือ เมล็ดพันธ์ที่บริษัทปรับปรุงพันธ์เกษตรกรต้องซื้อมาปลูก

ไม่สามารถขยายพันธ์ได้  หมายความว่า ซื้อพันธ์พืชจากบริษัทมาปลูกได้ครั้งเดียว  

หากจะปลูกครั้งที่ สองต้องไปซื้อพันธ์จากบริษัทเรื่อยๆไป เมื่อก่อนในการเก็บเมล็ด

พันธ์ เกษตรกรคัดเลือกพันธ์ แล้วแบ่งปันให้เพื่อนบ้านไปปลูกด้วย เป็นการขยายพันธ์  

ซึ่งมีนัยะว่า หากพันธ์ปลูกอยู่เกิดเสียหาย ถูกภัยธรรมชาติ ก็ไปขอแบ่งปันคืนจาก

เพื่อนบ้าน นั้นคือภูมิปัญญาในการเก็บรักษาพันธ์ของชาวบ้าน ข้อสังเกตุเมล็ดพันธ์พืช

ของบริษัท จะดก ใหญ่ ยาว  แต่ไม่อร่อยไม่มีรดชาด ระยะปลูกสั้น เปรีบยเทียบง่าย

อย่างเช่น ไก่เนื้อบริษัท โตไวใหญ่เร็ว ระยะสั้น แต่รดชาดสู้ไก่บ้านพันธ์พื้นเมืองไม่ได้

ในความอร่อย


          ดร.สงกรานต์ บอกให้ฟังถึงการคุ้มครองพันธ์พืชใหม่ ภายใต้อนุสัญญา

ระหว่างประเทศ  OPOV (International Covention fortheProtection New Varieies 

of Plants)  ซึ่งเป็นการให้ความคุ้มครองสิทธิ์ของนักปรับปรุงพันธ์พืช เป็นช่องทางได้

เปรียบของบริษัท ได้รับสิทธิ์เด็ดขาดในพันธ์พืชคุ้มครอง  เช่น การผลิตหรือเพิ่ม

ปริมาณส่วนขยายพันธ์ เงื่อนไขต่างๆเพื่อการขยายพันธ์ การเสนอขาย การดำเเนินการ

ขายและการดำเนินการด้านตลาด การส่งออกและนำข้าว การเก็บรักษาเพื่อ

วัตถุประสงค์ดังกล่าว ฟังกฎหมายจากดร.สงกรานต์แล้วหนาว 

       นำมาบอกเล่าให้สมาชิกกลุ่มเกษตรฟัง สมาชิกถามว่า แล้วเราจะทำปรือ ผู้เขียน 

ตอบว่า"หนักแล้วสิดเหอ"


พี่น้องจากครัวใบโหนดสงขลามากันหลายคน



คุณ กำหราบ พานทอง ยกทีมสื่อภาคใต้ มาถ่ายทอดสดในวิทยุเครือข่าย สมัชชาทางอากาศ


เสรี กลิ่นจันทร์ ขยันเก็บภาพ




หมายเลขบันทึก: 539643เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2013 01:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2013 02:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ด้วยกระแสนิยมของสังคม แม้แต่พืชผักผลไม้ทุกอย่างต้องรวดเร็วทันใจ แต่รสชาดนั้นหรือจะเท่าของที่มีอยุ่ในท้องถิ่นเรา  แต่ด้วยข้ออ้างเพื่อความเติบโตทางเศรษฐกิจและเพื่อการทัดเทียมสากล ทำให้เกษตรกรเป็นได้เพียงเครื่องจักรที่ใช้ผลิตสินค้าเพื่อแลกกับเงินที่ไม่มากนักเมื่อหักลบต้นทุนรวมถึงค่าแรงไปแล้วแทบจะไม่เหลืออะไรเลยนะครับท่านวอญ่า

เรียน คุณหลวงเวช ขอบคุณหลายๆที่เข้ามาทักทายเติมเต็ม ยังจำได้ ติดค้าง สรรพลี้หวนให้ ไม่อาจนำเสนอผ่านบันทึกได้  แต่ยังนึกถึงอยู่ 

หลายเรื่องที่รัฐทำลงนามทำให้ชาวบ้านเกษตรกรของเราเสียเปรียบ 

ภายได้UPOV  กฎหมายอินเดียคุ้มครองเกษตรของเขาไว้ในกฎหมายอินเดียว่า

"สิทธิเกษตรกร  พันธ์ ต่อยอดจากพันธ์เกษตรกร ไม่อนุญาติให้นำเข้าเชิงการค้า ยกเว้นได้รับความยินยอม(ข้อนี้กฎหมายไทยไม่พูดถึง) 

สิทธิเกษตรกรหรือชุมชนที่จะได้รับผลตอบแทนจากการอนุรักษ์ (กม.ไทยไม่พูดถึง)

เกษตรกรสามารใช้เมล็ดพันธ์จากผลผลิตของตนเพื่อเพื่อการขายได้  (กม.ไทยไม่คุ้มครอง) จึงเกิดคดีความชาวบ้านบรรทุกพันธ์ข้าวโพด บริษัท ซีพี จับเพราะเข้าโพด ซีพี ปรับปรุงพันธ์ชาวบ้านหมดสิทธิ์จำหน่าย 

มีหลายกรณ๊ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายมาให้คำแนะนำ

การผลักดันเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรไทย ณ ปัจจุบันนี้ยังมีน้อยมาก ถ้ามีมาซะหน่อยก็แสวงหาผลกำไรจากการผลักดันในโครงการต่างๆขึ้นมาทันที ทำให้พอพยากรณ์ได้ว่า วิกฤติการขาดแคลนเกษตรที่มีคุณภาพและที่เป็นกำลังของชาติในการผลิตอาหารต้องมีน้อยลง เนื่องจากผลกระทบและโอกาสเสี่ยงที่มีค่อนข้างมากกว่าอาชีพอื่น 

สวนรุกขชาติประจำหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค ประเทศ...เป็น นโยบาย(ซ่อนเร้น)เก่าแก่มานาน ควรนำออกหน้าเป็นวาระหนึ่งของการปรับปรุงคุณภาพชีวิต ;-)


ความมั่นคงทางด้านอาหาร

ชื่อนี้ฟังแล้วฮีกเหิม ดีจังค่ะ

ปลุกใจให้ทำ....

เสรี กลิ่นจันทร์ ขยันเก็บภาพ

คงเหมือนกับ บังวอญ่า......ผู้ไม่เคยเหนื่อยล้ากับการทำงาน...เพื่อสาธารณชน

สวัสดียามเช้าค่ะ



ขอบคุณมากครับ เป็นเรื่องน่ารู้มากครับเกี่ยวกับสิทธิเกษตรกรหรือชุมชน ในการจัดการพันธุ์พืชครับ

ลุงวอคนขยัน เหนื่อยกับการทำงานบ้างไหมเนี่ยะ

เรียนท่าน SR (สวนรุกขชาติประจำหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค ประเทศ..) 

เพิ่งได้ยิครั้งแรกว่าแต่ละหมู่บ้านมีสวนรุกชาติ ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีหากชุมชนมีสวนในชุมชน

สวัสดีคุณกระติก บึงกาฬ  งามมาก ยังไม่เคยไปเยือน

ผ่านทางคงต้องแวะชมแล้ว

เรียนน้องทิมดาบ 

พอได้รับรู้ข้อมูลทางด้านกฎหมาย สิทธิบัตรทางการเกตร ทำให้นึกไม่ไว้วางใจ คนของรัฐในการปกป้องพี่น้องเกษตรกร

เหมือนอย่างกรณีย์ สิทธิบัตร ยา 

ทำไม่เขาไม่ออกกฎหมายให้เอื้อต่อคนส่วนใหญ่

ทำไมต้องเปิดช่องกฎหมายให้ กับบริษัท

ทำให้รู้ว่าทำไมชาวบ้านถึงเดินเรียกร้องสิทธิ์

เพราะอำนาจรัฐไม่เอื้อประโยชน์ให้กับคนรากหญ้า

ขอบคุณ น้องมะเดื่อ กลับจาก กทม.ก็ลุยอีกสองเวที  เวที ครูผู้ปกครองเด็กอนุบาล กับ เวที ปศุสัตว์ มีเรื่องมาแลกเปลี่ยนผ่านบันทึกอีกแล้ว

รัฐบาลฆ่าเกษตรกร http://thaipost.net/?q=node/36...  Tuesday, October 10, 2017

...ในร่าง พ.ร.บ.มาตรา 35 จะระบุข้อความว่า "เพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูกหรือขยายพันธุ์สำหรับพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับความคุ้มครอง เกษตรกรมีสิทธิในการใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ตนเองเป็นผู้ผลิตในพื้นที่ของตนเอง" แต่กลับเพิ่มเงื่อนไขสำคัญต่อท้ายว่า "เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชมีอำนาจออกประกาศกำหนดพันธุ์พืชใหม่ชนิดใดเป็นพันธุ์พืชที่สามารถจำกัดปริมาณการเพาะปลูกหรือการขยายพันธุ์ทั้งหมดหรือบางส่วนของเกษตรกรได้"...หากเกษตรกรปลูกพันธุ์พืชใหม่ตามประกาศข้างต้นแล้วเก็บรักษาพันธุ์ไปปลูกต่อ หรือแจกจ่ายแก่เพื่อนบ้านจะมีความผิดตามร่าง พ.ร.บ.มาตรา 74 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ...นี่คืออันตรายของกฎหมายที่ละเมิด เข่นฆ่า เกษตรกรไทยอย่างโหดร้าย...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท