ลักษณะนิสัยของคน "ศรัทธาจริต" ... (จริต ๖ ศาสตร์ในการอ่านใจคน)


ผมใ้ช้เวลาที่ยังไม่อยากทำงานต่อ นั่งอ่านหนังสือ "จริต ๖ ศาสตร์ในการอ่านใจคน"

โดยแนวคิดจากหนังสือเล่มนี้ีมีรากฐานมาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งผู้ประพันธ์เชื่อกันว่า
เป็นพระอรหันต์ชาวลังกา ในคัมภีร์ดังกล่าวได้อธิบายถึงสภาวะจิต หรือ นิสัยมนุษย์ว่า
มีอยู่ด้วยกัน ๖ ประเภท ได้แก่


๑. ราคะจริต คือ สภาวะจิตที่หลงติดในรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสจนเป็นอารมณ์

๒. โทสะจริต หรือ สภาวะจิตที่โกรธง่าย ฉุนเฉียวง่าย เพียงพูดผิดสักคำ ได้เห็นดีกัน

๓. โมหะจริต หรือ จิตที่มักอยู่ในสภาพง่วงเหงาหาวนอน หรือซึมเศร้าเป็นอาจิณ

๔. วิตกจริต หรือ สภาวะจิตที่กังวล สับสน และวุ่นวาย ฟุ้งซ่านแทบทุกลมหายใจ

๕. ศรัทธาจริต คือ สภาวะจิตที่มีปรัชญาหรือหลักการของตัวเองและพยายามผลักดันให้ตัวเอง
และผู้อื่นบรรลุถึงจุดหมายนั้น

๖. พุทธิจริต คือ สภาวะจิตที่เน้นการใช้ปัญญาในการไตร่ตรอง คิดหาเหตุผลมาแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต
ทั้งชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงาน รวมทั้งมีความสนใจเรื่องการยกระดับและัพัฒนาจิตวิญญาณ


เราแต่ละคนสามารถเป็นได้หลาย ๆ จริตในคนเดียวกัน เพียงแต่จะมีลักษณะเด่นเช่นไร
ในแต่ละช่วงเวลาของชีวิตเท่านั้นเอง


นำเสนอ "ศรัทธาจริต" นะครับ ;)...


.....................................................................................................................................................................



ศรัทธาจริต


ลักษณะนิสัยของศรัทธาจริต


โดยทั่วไปแล้วบุคคลในกลุ่มศรัทธาจริตเป็นผู้ใฝ่ดี อยากเป็นคนดี เป็นผู้พยายามแสวงหาบุคคลหรือระบบความเชื่อที่หวังว่าจะนำพาชีวิตของตนเอง ครอบครัวหรือสังคมไปสู่ความเจริญยิ่งขึ้น เมื่อคิดว่าค้นพบแล้ว จะมีความยึดมั่นอย่างแรงกล้าในตัวบุคคล หลักการ และความเชื่อนั้น ๆ บุคคลผู้มีศรัทธาจริตเป็นผู้พร้อมที่จะเสียสละเพื่อบุคคล อุดมการณ์ หรือความเชื่อที่ตัวเองเคารพ ยึดมั่น การเสียสละมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่ระดับความเข้มข้นของศรัทธาจริตในแต่ละคน ยิ่งมีศรัทธาจริตสูงเ่ท่าไร ก็ยิ่งเต็มใจที่จะเสียสละทรัพย์สินจำนวนมหาศาลความสุขส่วนตัวหรือแม้แต่ชีวิตเพื่อผู้อื่น บุคคลในกลุ่มศรัทธาจริตมักมีพลังจิตสูงและเข้มแข็ง เพราะพร้อมที่จะเสียสละเพื่อผู้อื่นหรืออุดมการณ์อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ผู้มีศรัทธาจริตจึงเหมือนมีพลังมหาศาลคอยขับเคลื่อน หากมีแนวทางที่ถูกต้องแล้วจะไปได้เร็วอย่างมีพลัง

ผู้มีศรัทธาจริตมักมีลักษณะอุดมคตินิยม คือ ต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเอง สังคม และโลกไปสู่สภาพเป็นอยู่ที่ดีกว่า พยายามที่จะปฏิบัติ ฝึกฝน หรือ ต่อสู้เ รียกร้องเพื่อความยุติธรรม หรือเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของตนเองและของสังคม หากคนกลุ่มนี้มีความเป็นพุทธิจริตประสมอยู่ด้วยจะมีความเป็นผู้นำของการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บรรลุถึงโลกในอุดมคติ อุดมการณ์ หรือระบบความเชื่ออันหนึ่งอันใด ความบริสุทธิ์และความเชื่อมั่นอย่างสูงทำให้มีพลังจิตอันแรงกล้า สามารถดึงดูดผู้สนับสนุนได้มากมาย เพราะคิดอย่างมีหลักการ และพูดอย่างมีตรรกะตลอด ให้คาวมหวังกับบุคคลอืี่นสำหรับโลกในอุดมคติที่เขาเหล่านั้นกำลังนำพาไปสู่

ผู้อยู่ในประเภทศรัทธาจริตจะมีความเชื่อมั่นว่า ตัวเองเป็นบุคคลมีหลักการ อุดมการณ์ คิดว่าตนเองเป็นคนดี น่าศรัทธา ประเสริฐยิ่งกว่าคนในจริตใด ๆ รวมถึงพุทธิจริต เพราะผู้มีศรัทธาจริตมักเป็นผู้ที่คิดและพูดอย่างมีหลักการ และเคารพในระเบียบกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด

แต่คนที่มีศรัทธาจริตอย่างรุนแรงโดยไม่่มีพุทธิจริตเจือปนแล้ว พระุพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นคนมีปัญญาน้อย เพราะปัญญาและศรัทธาเป็นสัดส่วนผกผันระหว่างกัน หากมีศรัทธามาก ปัญญามักจะลดน้อยลงไป ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ที่มีความเชื่ออย่างฝังหัวว่า บุคคลหรือหลักการที่ตัวเองเชื่อถือจะทำให้ตัวเองและสังคมมีชีวิตที่ดีขึ้น และมีความยึดมั่นเชื่อมั่นอย่างนั้นไม่เสื่อมคลายโดยไม่ได้พิจารณาให้ถ่องแท้ว่า ที่จริงแล้วชีวิตของตนเองหรือสังคมดีขึ้นจริงหรือไม่มากน้อยเพียงใดขนาดไหน และจะปิดรับแนวความคิดอื่นที่แตกต่างไปากแนวความคิดที่ตัวเองยึดถือ เื่มื่อปิดรับความคิดใหม่นานวันเข้าความคิดก็จะคับแคบมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ศรัทธาจริตยังเป็นเรื่อของอารมณ์และความเชื่อ ไม่ใช่เป็นเรื่องของเหตุผลมากมายเท่าไรนัก ยิ่งมีศรัทธามากเท่าไร การพิจารณาเรื่องเหตุผลก็น้อยลงเท่านั้น

นอกจากนี้ ผู้มีศรัทธาจริตแรงกล้าจะไ่ม่รู้จักประนีประนอม ความจริงมีอยู่เพียงหนึ่งเดียว ความคิดเห็นอะไรก็ตามที่ไม่เหมือนของตนเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง ไ่ม่สามารถยอมรับได้ คนที่ไม่ยึดมั่นในความคิดดั่งเช่นของตนจึงไม่ใช่คนดี ทำให้คนมีศรัทธามากจึงบ่อยครั้งขาดความเมตตา เพราะมองว่าคนที่มีความคิดไม่ตรงกับตัวเองเป็นคนไม่ดี หลงผิด หากมีศรัทธาจริตแรงมากจะมองโลกเป็นขาวและดำ เช่น ถ้าคิดไม่เหมือนเราก็เป็นคนชั่วคนไม่ดี คนที่ไม่ใช่่มิตรก็เป็นศัตรู โลกนี้ไม่มีเสียเทา และจะเอาเป็นเอาตายกัคนที่ไม่ิคิดเหมือนตน

ศรัทธาจริตยังมองว่า เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตนเองเชื่อว่าถูก วิธีิการที่ใช้จะเป็นแบบไหนก็ได้ แม้กระทั่งความรุนแรง ทำให้บางครั้งสามารถกระทำการโดยไม่คิดถึงผลที่จะตามมา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ในสหรัฐฯ กลุ่มผู้ต่อต้านการทำแท้งบางกลุ่มโยนระเบิดใส่คลินิกทำแท้ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายคน ซึ่งเป็นการปกป้องชีวิตหนึ่งแต่ก็เป็นการทำลายอีกหลายชีวิต เพียงเพราะอาจหาญทำสิ่งที่ตรงข้ามกับอุดมการณ์ของตน


.................................................................................................................................................................


เป็นไงครับ ... ศรัทธาจริต คุ้น ๆ ไหมครับ

คล้่าย ๆ วิธีการสร้างมวลชนหรือประท้วงเพื่อคนที่ตัวเองศรัทธาไหม
ถึงแม้จะผิดแค่ไหน ภาพลักษณ์ก็ยังทำให้คนคลั่งได้เหมือนกัน

แ้ม้แต่วิธีการรุนแรง ละเมิดสิทธิ์ ทำลายองค์กร ทำได้หมด

ส่วนผม กำลังคิดว่า จะต้องเผชิญคนลักษณะนี้อยู่
จึงต้องเร่งศึกษาไว้ก่อน


บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)...


................................................................................................................................................................

ขอบคุณหนังสือดี ๆ


อนุสร จันทพันธ์ และบุญชัย โกศลธนากุล.  จริต ๖ ศาสตร์ในการอ่านใจคน.  พิมพ์ครั้งที่ ๑๑. กรุงเทพฯ : อ้มรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๖.


หมายเลขบันทึก: 538917เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2013 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2013 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ศรัทธาถ้าขาดปัญญากำกับกลายเป็นงมงาย  อันตรายมากค่ะอาจารย์

เช่นนั้นเลยครับ คุณครู ธรรมทิพย์ ;)...

เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันชัดเจนมากครับ


...จริตไม่ตรงกันก็พูดคุยกันคนละเรื่องนะคะ

  • ถ้าจำไม่ผิดหนังสือเล่มนี้หนาพอควร ผมก็เลยไม่ซื้อ :-) เพราะผมเป็นประเภทความจำสั้น อดทนต่ำ เกรงว่า ซื้อมาแล้วไม่ได้อ่าน
  • ผมได้ข้อคิดจากจริตตรงที่ว่า จริตนั้น เราต้อง "ดัด" เพื่อให้จริตที่ร้ายกลายเป็นจริตที่ดี
  • ขอบคุณสำหรับเช้านี้ครับผม

เช่นนั้นเลยครับ ท่านอาจารย์ ดร. พจนา แย้มนัยนา ;)...

ขอบคุณมากครับ

หนังสือหนาหลายร้อยหน้าอยู่ครับ ท่านอาจารย์ nmintra ;)...

การดัด คงหมายถึง การรู้เท่าทันทั้งตนเองและผู้อื่น นะครับอาจารย์

ขอบคุณครับ ;)...

มารับความรู้เพิ่มเติมค่ะอาจารย์

เยี่ยมมากต้องหามาอ่านและใช้งานด้วยเลยขอบคุณ

ขอบคุณมากครับ คุณ ลุงเอก ที่แวะมาเยี่ยมครับ ;)...

อาจารย์เกริ่นไว้อย่างน่าสนใจ  และน่าศึกษามากค่ะ จะไปหามาอ่าน ขอบคุณค่ะ

หนังสือเล่มนี้ จำนวนการพิมพ์ ๓๐ กว่าครั้งแล้วนะครับ
ยืนยัน ความต้องการรู้ของคนได้ดีมาก ๆ

ยินดีครับ คุณ แมววิเชียรมาศ ;)...

ผมยังมีแง่มุมที่ ลุงเอก ยังมองไม่เห็นครับ. คือ เรื่อง จิตที่จำนน มอบตัวในความผิดพลาดทั้งจำได้ และจำไม่ได้ แล้วทั้งจิต และจริต ไม่ก่อความเสียหายใดใด(ไม่ก่อคดีเพิ่ม) หากจิตมอบตัวกับผู้พิพากษาที่ยุติธรรมที่สุด ไม่เคยรับผลประโยชน์ ไม่เคยโกง มีพระคุณกับพ่อแม่ปู่ย่าตายาย รวมถึงพระพุทธเจ้าเราด้วยล่ะ. จริตก็ไม่ก่อความผิดอีก ทีนี้ก็เกิดคนดีบนหน้าแผ่นดินได้ทันแบบกระพริบตาเดียว เพิ่มขึ้นได้. ทุกคนทำได้ตามตรรกะ ที่เป็นความจริงนี้ได้ คนดีสร้างไม่ยากหรอกครับ. หากลุงเอกสนใจ แผนภูมิว่า ความดี มีมาตรฐานตรงกันได้อย่างไร ก็แจ้งไว้นะครับ หากลุงมีฉันทะ ผมจะวิริยะ จิตตะ วิมังสะจะเกิดแก่เราทั้งมวลได้. นับถือครับ.

ขอบคุณ ท่าน มีมุมอื่น ครับ ;)...

ขอให้สังเกตว่า หนังสือ ข่าว พยากรณ์ ตำรา ล้วนแล้วแต่มีความต้องการของมนุษย์(ที่มาสโลว์ กล่าวไว้) ปะปนอยู่ในนั้นทั้งสิ้น แม้แต่ใบเสร็จจากเซเว่นใบเดียว ยังมีปะปนอยู่หลายฝ่ายเลย. แต่มีเอกสารที่ไม่มี5needs ที่ maslow กล่าวไว้แม้แต่ประการเดียว(ความต้องการคือ มีผู้กำหนด และ รับผลประโยชน์ ที่ชี้ตัวได้ เป็น องค์ประกอบกัน) เอกสารนั้น คือ ความจริงที่ก่อปิติสุข บนพื้นฐานกตัญญู โดยไร้สภาพการเป็นนาย เป็นทาสต่อกัน. หากใช้อิทธิบาท4 หรือ อินทรีย์5 เป็น หาให้พบ และ ศึกษา ได้ไม่ยากเย็นนักหรอก มีอยู่ในห้องสมุดทั้งชั้นนำ และ ชั้นรอง ทั่วโลกด้วยซ้ำ (คนไทยถูกปิดกั้น และยอมจำนนในการปิดกั้นนั้นเสียด้วยซิ) คนไทยไม่ค่อยศึกษาสิ่งที่กว้างกว่าการพยากรณ์ หรือ วรรณกรรม ลองก่อนอย่าเพิ่งเชื่อ(พระพุทธเจ้าท่านชี้แนะไว้) ลองเพียรค้นหา เพื่อการศึกษาก่อนเถิด จะได้รู้เขา รู้เรา แล้วไม่ต้องรบ เพื่อชัยชนะทุกๆฝ่ายเลย. สันติวิธีแน่นอน มนุษย์คือพี่น้องกัน ใยมาแตกแยกกันในยุคนี้เล่า. ช่วยกันเถิด ฟื้นฟูความดี บั่นทอนความชั่ว ฟื้นฟูความจริง บั่นทอนความเท็จ เอาแบบทันใช้นะครับ เพื่อลูหลานเราจะได้ “ทันเป็นคนดี” ไงล่ะ ประเทศชาติจะวัฒนาถาวร ผู้ใหญ่ตายตาหลับ เพราะ ลูกหลานดับเหตุแห่งทุกข์บรรพบุรุษเป็น.

หนังสือ ที่มีราคาขาย ก็จะมี needs ที่ยอดขาย เพื่อความกินดีอยู่ดี เป็นเหตุยังneeds ที่1 มีความสะดวกสะบายในชีวิต มีความสำเร็จยอมรับ มีสังคม จะเห็นได้ว่า มีความต้องการพื้นฐานทั้งนั้น. แต่ผลยังยอมรับ และ อ่านหนังสือต่างๆเสมอมา มิได้เดียดฉันท์ หรือพิพากษาในอธิฐานจิต ของผู้เขียน แต่ตระหนักในการ “รู้เท่าทัน” ทั้งสาร และ ผู้สร้างสาร. ปัจจุบัน ผู้นำสาร(นักข่าว นักพยากรณ์ นักบวช) ก็เป็นผู้ที่ มนุษย์ต้อง “รู้เท่าทัน” เพิ่มขึ้นมาอีก. และแถมยังมี เจ้าของสถาบันสื่อสาร ที่เราต้องรู้เท่าทัน เพื่อ สันติสุขแบบองค์รวมอีก. แฮะๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท