"ผู้เชี่ยวชาญกับการเร่ร่อน"


"อะไรคือความสัมพันธ์ของคำว่าผู้เชี่ยวชาญกับการเร่ร่อน"

           นิทานอีสปเรื่องหนูเมืองกับหนูนา ในตอนท้ายหนูนามักจะพูดกับหนูเมืองด้วยประโยคที่ว่า "ข้ายอมกินถั่วในความสงบ ดีกว่ากินเค้กในความหวากกลัว" หรือ "การอยู่อย่างลำบากแต่ปลอดภัยย่อมดีกว่าการอยู่อย่างสะดวกสบายแต่เต็มไปด้วยภัยอันตราย" 

         หนูนาจะคุ้นชินกับการอยู่ในโซนที่ตนเองรู้สึกปลอดภัย ในขณะที่หนูเมืองพร้อมผจญอันตราย มีอะไรที่หนูสองตัวนี้แตกต่างกันบ้างในทางวิทยาศาสตร์

         **การทดลองระหว่างหนูที่ถูกขังอยู่ในกรงเดียวตลอดชีวิต (เทียบกับหนูนา) กับหนูที่ถูกย้ายไปนู่นมานี่ประจำ (หนูเมือง) พบว่า หนูเร่ร่อน (หนูเมือง) จะแสดงออกว่ามีความฉลาดมากกว่า เมื่อวิเคราะห์สมองของหนูทั้ง 2 ตัวแล้วพบว่า หนูเร่ร่อนมีพัฒนาการในบางลักษณะ เช่น สมองส่วนนอกหนา แน่นและมีเอนไซม์บางอย่างมากกว่า
หนูนา(**อ้างอิงจาก Jerome Becomes A Genius)

          การทดลองของ"หนูเร่ร่อนกับหนูนากรงเดียว" สามารถนำมาปรับใช้กับนักเรียนของเราได้อย่างไรบ้าง

          "ผลงานวิจัยชิ้นนี้สรุปว่า สิ่งแวดล้อมที่แปลกใหม่ จะกระตุ้นให้ระบบประสาทและการตอบสนองของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น เพิ่มการตื่นตัว การรับรู้และกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ใหม่ๆ"

        ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความสามารถ สมรรถนะ ที่เป้าหมายปลายทางคือการสร้างให้เด็กๆกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาหรืออาชีพนั้นๆ จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้เด็กๆได้กล้าลองเสี่ยงและกล้าทำสิ่งใหม่ๆ 

        ทำอย่างไรเด็กๆจึงจะกล้าก้าวออกจากโซนปลอดภัยของชีวิต (แม้แต่ผู้ใหญ่เองก็เหมือนกัน)

      ***Tina Seeling (หนังสือน่าจะรู้อย่างนี้ตั้งแต่อายุ 20) สรุปว่า ในโลกนี้มีคนอยู่ 2 ประเภท

1. คนที่รอให้คนอื่นอนุญาตก่อนลงมือทำสิ่งที่อยากทำ 
2. คนที่อนุญาตให้ตัวเองทำในสิ่งที่อยากทำ

เด็กจึงต้องรู้คือ **เรื่องที่ไม่ต้องทำจริงๆ*** 
(เรื่องประเภทผิดศีลธรรม จรรยาบรรณ  เรื่องที่อันตรายต่อชีวิตผู้อื่นและสังคม)

นอกนั้นเด็กๆควรเรียนรู้คำว่า "ขอภัยมากกว่าขออนุญาต"

             "ห้องเรียนจึงต้องเปิดโอกาสให้เด็กๆการลองทำ ผิดพลาด ล้มเหลว ลุกขึ้น แก้ปัญหา เผชิญหน้า กับสถานการณ์ต่างๆ"

           "ถ้าเด็กๆเข้าใจว่าการล้ม การหล่น การตก จับโยน โดนบีบ โดนแบน ปั่นหัว ถลกหนังทาเกลือ (อันนี้ดูรุนแรงไป แต่บางทีชีวิตก็ฟาดเราด้วยอุปสรรคหนักๆเป็นบางครั้งบางครา มิใช่หรือ) ล้วนเป็นการเรียนรู้ การต่อสู้เพื่อเติบโต
เข้มแข็ง...เด็กๆจะกล้าเดินตามฝันและไขว่คว้าโอกาสด้วยตนเอง มากกว่าการรอใครสักคนหยิบยื่นมันมาให้"


         "บรรยากาศห้องเรียนเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมา จะทำให้เด็กหมดความสนใจและเบื่อหน่ายในที่สุด"

 
         ถ้าคุณครูอยากให้เด็กๆกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ บรรยากาศห้องเรียนและกิจกรรมการเรียนรู้ ควรหลากหลายและแปลกใหม่ ในทุกๆวันต้องมีเรื่องท้าทายให้เด็กได้คิด ได้แก้ปัญหาและลงมือทำคุณลักษณะเหล่านี้จะชวยให้เด็กๆกล้าก้าวออกจากโซนปลอดภัยในชีวิต ผจญภัยในโซนใหม่ๆ เร่ร่อนไปในสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ที่หลากหลายที่จะช่วยให้เด็กๆกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในที่สุด


       "หนูเร่ร่อนจะสามารถกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญได้ ในขณะที่หนูกรงเดียวตลอดชีวิตแทบจะไม่มีโอกาสนั้น เพราะอะไรรู้ไหม" 


    เพราะเรื่องตลกที่เล่ากันมายาวนานของคำจำกัดความของคำว่า "****ผู้เชี่ยวชาญ แปลว่า ผู้ที่มีจากที่อื่นนะซิ" 


                     


**** ความหมายนี้ต้องการจะสื่อให้เข้าใจว่า การอยู่ในสภาพๆเดิมๆจะทำให้คนชินกับความสะดวกสบายและไม่คิดหาวิธีการที่จะพัฒนาตนเอง ดังนั้นหากอยากเชี่ยวชาญในสิ่งใด ต้องก้าวข้ามความสะดวกสบายที่เคยมีไปเรียนรู้ในบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม มุมมองที่แปลกใหม่ เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ แม้จะล้มเหลวบ้าง ไม่ประสบความสำเร็จบ้าง แต่ประสบการณ์เหล่านั้นจะช่วยหล่อหลอมให้มีความเชี่ยวชาญในสิ่งนั้นนั่นเอง



              

หมายเลขบันทึก: 538707เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2013 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2013 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ความหลากหลายทางสังคม ช่วยให้เราเรียนรู้และรู้จักปรับตัวเพื่อให้เผชิญหน้ากับทุกสถานการณ์ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท