วิถีลำปลายมาศพัฒนา (๒)


 


ความฝันของฉัน 



 ยามค่ำคืนดวงดาวกระจ่างแสง                ช่วยเป็นแรงผลักดันที่ฝันใฝ่

 ความฝันนั้นยังคงอยู่ไม่ไกล                     จะต้องไปให้ถึงที่ปลายทาง

จะเป็นครูผู้ให้และสอนสั่ง              สร้างพลังแรงใจที่ปรารถนา

มองดูดาวพร่างพราวบนนภา          ดูงามตาค่ำคืนนี้ไม่มีจันทร์

เปรียบตัวฉันเป็นเหมือนดาวดวงน้อย     ที่จะคอยนำทางอย่างสร้างสรรค์

แม้ลำบากสักเพียงใดไม่เคยหวั่น              ร่วมฝ่าฟันไปกับศิษย์ไม่ท้อเอย

.........................................................................................................................................................................

 





ขอขอบคุณบทกลอนของนักเรียนโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา  บทกลอนต้อนรับผู้มีความฝันและหัวใจอยากเป็นครู


ติดอยู่ที่ใต้ถุนเรือนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑   คุ้น ๆ ไหมคะ....เหมือนเรือนของ “อีสร้อย”  ในเรื่องคุณชายรัชชานนท์.....อย่างนั้นทีเดียว


คุณครูใหญ่วิเชียร  ไชยบัง  ให้ครูอ้อนไปดูที่จิมป์ทอมสันฟาร์ม  โคราช  ที่เดียวกับที่อีสร้อยปีนขึ้นวิ่งลงเรือน  ที่ใช้ในการถ่ายทำละครนั่นแหละค่ะ


เสก็ตช์แบบ  ก่อสร้างให้เป็นเรือนประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓  หลังละชั้น  เมื่อ ๓  ปีที่แล้ว  ซึ่งเดิมมีเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖


จำลองบรรยากาศให้เหมือนหมู่บ้านอีสาน  การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ถือเป็นเรื่องสำคัญของที่นี่ 

 ไม่แยกเรื่องที่เรียนออกจากชีวิตจริง


ทั้งธรรมชาติและสิ่งที่สร้างขึ้นที่มีอยู่ภายในโรงเรียน  รอบ ๆ โรงเรียน  คอกหมูป่า  เล้าไก่  สระเลี้ยงปลา  แปลงผัก  สนามเด็กเล่น  สนามหญ้า  ป่าชุมชนที่เชื่อมโยงกับชีวิตนักเรียน เป็นต้น


ล้วนสามารถนำมาเป็นบรรยากาศ  หรือเป็นประเด็นสำคัญ......ที่จะใช้เดินเรื่องในการพูดคุยเรียนรู้ได้ตลอดเวลา


 








คุณครูป้อม  ราชิต  สุพร  (ครูคณิตศาสตร์นอกกะลา)  สวมหมวกเตรียมพร้อม  นั่งข้าง ๆ วงนักเรียน  

ฟังคุณครูอีกคน Brieft  พร้อมให้พี่คิดว่า 


พี่ ป.๖  จะมีน้อง ป.๑  ไปเดินป่าโคกหีบ  ที่ใกล้ ๆ โรงเรียนนี้ด้วย  จะช่วยกันดูแลน้อง ๆ อย่างไร  

น้อง ป. ๑  ยังไม่เคยเดินป่ามาก่อน


เพราะที่นี่....โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา    ทุกวิชาไม่มีแบบเรียน   แม้แต่วิชาภาษาไทย


หนังสือที่ใช้ คือ วรรณกรรม  นิทาน  ซึ่งคัดเลือกมาเป็นอย่างดี  ให้นักเรียนยืมอ่านได้ที่ห้องสมุด


 


มีการบ้านที่ใช้เวลาทำไม่เกิน  ๓๐  นาที  หรือไม่มีการบ้านเลย 


ตลอดเทอมจะมีหนึ่งวันที่ผู้ปกครองเลือกเอง  เพื่อมาเป็นวิทยากรพิเศษร่วมกับผู้ปกครองท่านอื่น 

 เรียนรู้ไปพร้อมกับนักเรียน  เช่น  สอนการทำขนม  ข้าวต้มมัด  วุ้น  เป็นต้น


แบ่งเวลาเรียนเป็น  ๔  เทอม ๆ ละ  ๑๐  สัปดาห์  นักเรียนยังสนุกกับการเรียนรู้  

ไม่ทันล้าก็ปิดเทอมพอดี    ไม่มีการสอบใด ๆ   พี่นักเรียนเพียงสรุปการเรียนรู้ทุกสัปดาห์  เช่น  ทำ mind map  เป็นต้น


ความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เหมือนขนบเดิมของระบบการศึกษาไทย  ความเป็นนอกกะลาการศึกษา  

ดังที่นักเรียนแต่งกลอนนี้


 


 โรงเรียนนอกกะลาปาฏิหาริย์         ร่วมสันสร้างความคิดริเริ่มใหม่

 เปลี่ยนแนวทางการศึกษาให้ก้าวไกล        มีวิสัยนักคิดนักพัฒนา

 การน้อมมาซึ่งความพร้อมของสมอง        ด้วยเตรียมพร้อมกิจกรรมจิตศึกษา

 เราทุกคนล้วนยินดีและปรีดา                               ได้ศึกษาร่วมคิดร่วมไตร่ตรอง

 ไร้ตำราทุกวิชาใช้ความคิด         ได้พินิจพิเคราะห์ฝึกสมอง

 ได้ร่วมคิดร่วมทำร่วมทดลอง        รู้จักมองชีวิตอย่างเข้าใจ

.........................................................................................................................................................................

ไม่ต้องตกใจนะคะ  ทำไม....สันสร้าง  มิใช่  สรรค์สร้าง

ที่นี่เมื่อนักเรียนเขียนผิด  ครูจะไม่กากบาทแดงทับ  หรือแก้ไขในชิ้นงาน 

เหมือนตอกย้ำให้รู้สึกว่าลดทอนคุณค่าของพี่นักเรียน


แต่จะเขียน “แก้คำผิด”  โดยเขียนคำที่ถูกต้อง  เคลือบซีลด้วยพลาสติกแข็งอย่างสวยงาม  

นำไปติดไว้ในที่ต่าง ๆ  ที่นักเรียนสังเกตเห็นได้ง่าย


คุณครูใช้จิตวิทยาเชิงบวกเสมอ  พี่ภูมิเยี่ยมมาก  พี่ปุ๊บปั๊บเยี่ยมค่ะ  ครูกรรอน้องพลอยอยู่นะคะ


ในห้องประชุมที่พวกเราฝึกอบรม  ครูต๋อยก็จะพาร้องเพลงตรงต่อเวลา  เพลงความเกรงใจมีท่าทางประกอบด้วย  

โดยไม่ต้องบอกว่าจะสอนพวกเราเรื่องอะไร


คนน่ารักยกมือพูดทีละคนนะคะ  คนน่ารักไหว้และรับเมื่อส่งไมโครโฟนนะคะ  

หรือเมื่อเพื่อนมีน้ำใจนำกระดาษ  ปากกามาให้ทำกิจกรรมกลุ่ม  เป็นต้น


กิจกรรมเรียนรู้วันแรก  พร้อมกันที่เสาธง  

พิธีเริ่มต้นวันอย่างมีความหมาย  เงียบ  เรียบง่าย  ดูสงบ  

ใช้เวลาไม่ถึง  ๑๕  นาที


ร้องเพลงชาติ  สวดมนต์  คุณครูพานำยืนสงบนิ่ง  ระลึกถึงบุญคุณ  คุณค่าของน้ำ  

ระลึกถึงพื้นที่บางแห่งขาดแคลน


คุณครูและนักเรียนต่างใช้การไหว้เป็นสัญญาณปล่อยแถว    เริ่มจากตัวน้อยอนุบาล  ไหว้พี่ ป. ๑ และมัธยม  

ไหว้เคารพซึ่งกันและกัน  ตามลำดับอาวุโส  จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓    

คุณครูแต่ละชั้นนำแถวเดินกลับห้อง 


หรือไปยังสถานที่เรียนรู้  ซึ่งจะเริ่มด้วยจิตศึกษาเหมือนกันทุกชั้น  

แม้แต่อนุบาล  การเล่นเครื่องเล่นในสนามตามลำดับแถว  โดยคุณครูและครูฝึกสอนสนับสนุน  ให้กำลังใจ  ให้นักเรียนทำได้เอง  

ก็เป็นชั่วโมงจิตศึกษา


 



พวกเรามาเป็นนักเรียนเช่นกัน  เริ่มต้นทุกวันเช้า ๆ  กับวิถีลำปลายมาศพัฒนา (LPMP)  

๐๘.๐๐ น.  ตรง  โดยไม่มีเสียงระฆัง 


ตอนหน้ามาดูรายละเอียดกระบวนการเรียนรู้ของเหล่าทันตแพทย์  ๘  สถาบัน  

จากจังหวัดเหนือ  ใต้  ออก  ตก  อีสาน  ครึ่งประเทศ  เกือบ  ๕๐  คน 

เพราะเดี๋ยวมีรุ่น ๒   จำนวนเท่า ๆ กัน   ตามมาเรียนรู้ใน  ๓  วันถัดไป


สักครู่นะคะ

^_,^

 


หมายเลขบันทึก: 538496เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2013 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2013 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมาก  ถึง มากที่สุดเลยจ้ะ

จะค่อย ๆ ทยอยเล่านะคะ คุณมะเดื่อ   โดยเฉพาะ  ค.คุณครูใจดี  แบบคุณมะเดื่อน่าจะชอบ

กลับมา  ๓  วันแล้ว  แค่นึกถึงยังมีความสุขเหมือนอยู่ที่นั่น  ....รักษาจิตใจให้ผ่องใสเสมอ


.......  ทำแล้วมีความสุข ..... เป็นผลลัพธ์ที่สุดๆๆ  นะคะ  ......


        


จริงค่ะพี่เปิ้น Dr. Ple  ไม่ใช่มีความสุขเฉพาะนักเรียนนะคะ  แม่ครัว  คนจัดอาหาร  คนจัดเบรกให้พวกเรา  

และบุคคลสำคัญของการปฏิรูปการเรียนรู้แบบนี้....ทีมคุณครู  ดูมีความสุข  เบิกบาน  แจ่มใส  

ความมีเมตตา  ฉายออกมาเหมือนแสงออร่าเลยนะคะ  ตลอดเวลาที่มาจัดกระบวนการเรียนรู้ให้พวกเรา

รวมทั้งครูท่านอื่น ๆ ที่พวกเราได้ไปสังเกตการเรียนรู้ของนักเรียนแบบติดขอบเวที

ขอบคุณมาก ๆ นะคะพี่เปิ้น

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท