ห้องเรียนกลับทาง คุณครูปรับบทบาท นักเรียนปรับมุมมอง


ห้องเรียนกลับทาง คุณครูปรับบทบาท นักเรียนปรับมุมมอง

           ถึงแม้ห้องเรียนกลับทาง จะมีการพูดถึงอยากหลากหลายแล้ว แต่ครูปุ้มอ่านแล้วก็อดอยากเขียนไม่ได้ ถึงแม้จะเป็นการเสนอเรื่องที่ซ้ำซ้อน แต่เชื่อแน่ว่าแนวทางการเสนอก็แตกต่างหลากหลายกันออกไป สำหรับครูปุ้มเองถือว่าอ่านแล้ว เขียนด้วย จะช่วยเอาใจให้มากขึ้น....

           แปลฉบับครูปุ้ม มีคนบอกว่าอ่านแล้วเหมือนอ่านนิยาย อ่อยๆๆๆๆๆ ข่อยเขียนแบบจริงจังเน้อ ...หรือเค้าจะหมายความว่าอ่านสนุกนะ ลองอ่่านเองล่ะกันค่ะ (แต่ครูปุ้มแปลไว้แค่ 3 บทแรกนะค่ะ บทที่เหลืออ่านของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ท่านแปลไว้แล้วค่ะ ท่านเป็นผู้แรกที่นำเข้ามาในเมืองไทยค่ะ)  http://www.gotoknow.org/posts/537626


หนังสือ  Flip your Classroom โดย Jonathan Bergmann และ Aaron Sams

1. ความเป็นมาของห้องเรียนกลับทาง

                   อิริควาเด็กนักเรียนที่ต้องดิ้นรน  เอาตัวรอดให้รอดพ้นในวิชาคณิตศาสตร์ 
ศาสตร์การสอนยอดนิยมคือครูยืนหน้ากระดาน พูดเร็วปานรถไฟฟ้าในญี่ปุ่น (ของไทยยังไม่เร็วเท่าไร)
ตัวเค้าต้องวุ่นกับการจดที่ทันบ้าง ไม่ทันบ้าง ไม่แตกต่างเพราะสุดท้ายก็ไม่เข้าใจ
กลับบ้านต้องทำการบ้าน ที่จดมาจากฟังอาจารย์ก็ช่วยไม่ได้
เพราะมันมากกว่าที่จะเข้าใจ ไม่สามารถทำงานที่อาจารย์สั่งได้สมบูรณ์
อิริควาก็ไม่ได้นิ่งเฉย หาวิธีเฉลยการบ้าน เช้ามารีบเข้าหาอาจารย์
หรือไม่ก็วานเพื่อนที่รู้ให้ตอบที ท่าจะไม่ดี ส่งไม่ทัน มันก็ต้องลอกเพื่อน

                   เจไนซ์นักกีฬาโรงเรียน อยากเรียนวิทยาศาสตร์ แต่ก็ต้องพลาดห้องเรียนประจำ
เพราะต้องทำแข่งขันอยู่ร่ำไป

                   แอชลีเรียนโรงเรียนศิลปะ 10 ปี เธอเข้าใจดีในการประเมิน
เกณฑ์เป็นแบบไหน ถามครูให้เข้าใจแล้วทำตาม แต่เธอไม่ได้เรียนรู้ตามหลักการที่แท้จริง
แม้เกรดเธอจะดี แต่ติดที่ เธอไม่ปิ๊งไอเดียในสิ่งที่เรียน 

                  ครูโจนาธาน และครูอารอน เห็นปัญหา เพราะท่านทำงานร่วมกันมาในวิชาเคมี
วางแผนส่งเสริมการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนผู้มีกิจกรรมมากหลาย ความต้องการแตกต่างกันมากมาย
และบางครั้งเด็กจำเป็นต้องหายออกจากห้องเรียน


***************************************************************************************


Flipped Classroom จึงเกิดขึ้น

                 ครูอารอนอ่านแมกกาซีนพบซอฟแวร์ที่สามารถบันทึกพาวเวอร์พอยด์ เสียง ในการสอนได้
เอามาบอกเล่าครูโจนาธานทันใด แล้วรีบปรึกษาหารือ
บันทึกสิ่งที่สอนแล้วอัพไว้ในยูทูปแล้วออนไลน์เหตุไฉนซอฟแวร์นี้จึงดีเช่นนี้
เอาล่ะต้องลองสักที เพื่อช่วยช่วยนักเรียนดีๆให้ได้เรียนรู้ทุกคน

นักเรียน : ครูครับ ผมขาดเรียนเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ผลผลาดอะไรบ้างครับ

ครู          :  ไม่มีอะไรที่เธอพลาด ถ้าเธอเข้าไปเก็บกวาดความรู้ในยูทูปบนเว็บไซต์ของครู
                  ศึกษา เรียนรู้ ถ้าดูแล้วสงสัยหรือมีคำถามเรามาแลกเปลี่ยนกัน

                 

                 เด็กๆชอบใจ แม้บางครั้งพลาดในห้องเรียน ยังสามารถมาเรียนรู้ได้ทัน
      อีกทั้งยังมีประโยชน์มากล้น ให้ได้อ่านได้ค้นช่วงสอบ หาคำตอบได้ตลอดเวลาที่สงสัย
      วิชาไหนที่เรียนๆแบบพอเอาตัวรอด กลับมาตั้งต้นใหม่ ยูทูปที่ครูอัดไว้ 
      ช่วยให้เข้าใจเรียนรู้ใหม่แบบจริงจัง


****************************************************************************************


              ประสบการณ์สอน 37 ปี ทำให้ครูอารอนเข้าใจดี ว่าโลกกำลังเปลี่ยนไป
              นักเรียนอ่าน ศึกษาเนื้อหาเองได้ และพวกเค้าต้องการให้ครูช่วยเหลือในแบบที่แตกต่างกัน


              ทำถามจึงเกิดขึ้น “ถ้าเราอัดการสอนทั้งหมดไว้ในยูทูป แล้วให้เด็กๆไปศึกษาเป็นการบ้าน
              แล้วใช้เวลาในห้องให้ยาวนาน ด้วยการทำให้เด็กๆเข้าใจหลักการ
              จะดีกว่าการที่ใช้เวลาในห้องเรียนบอกเล่าเนื้อหา แล้วเด็กๆไปล่าหลักการที่บ้านเอง”


เมื่อคำถามเกิด ถึงเวลาต้องหาคำตอบ ห้องเคมีหลักสูตรมหาวิทยาลัยในปี 2007-2008 จะให้คำเฉลย
เมื่อครูโจนาธานทำบทเนื้อหาเกี่ยวกับหลักสูตรมหาลัย ครูอารอนทำในเนื้อหาวิชาเคมี สลับกันไป
สำหรับนักเรียนจะได้รับตารางศึกษายูทูปวันละ 90 นาที เปรียบเหมือนเป็นการบ้าน 


การนำไปทดลองใช้ ให้ผลน่าพอใจทั้งครูและนักเรียนมีเวลามากในห้องปฏิบัติการ
ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยน ตอบปัญหา จึงเสร็จสิ้นก่อนหมดเวลาจริงตั้ง 20 นาที


ครูต้องสองพิจารณา วิเคราะห์วิธีการ พบว่า Flipped classroom ดีกว่าการสอนแบบเดิมและเริ่มใช้รูปแบบนี้มาเรื่อยๆ


<p></p>


                         “ห้องเรียนกลับทางคือหนทางที่คุณครูจะใส่ใจผู้เรียนและการเรียนรู้ให้มากขึ้น”


2. ห้องเรียนกลับทาง “เรียนที่บ้าน ทำการบ้านที่ห้องเรียน”

              เริ่มต้นห้องเรียนด้วยการอภิปรายเกี่ยวกับวิดีโอที่เด็กได้ศึกษา ใช้เวลาเล็กน้อย
              เด็กๆต้องค่อยๆเรียนรู้ แม้อาจไม่สามารถตั้งคำถามได้ทันที ครูจึงต้องมีวิธีการ
              ชวนดูวิดีโอด้วยกัน นักเรียนและครูสามารถหยุดวิดีโอเพื่อซักถามและจดบันทึกใจความสำคัญของบทเรียนได้ตลอดเวลา
              ครูสอนการจดบันทึกแบบ Cornell note-taking method มาถ่ายทอดต่อ คือการจดคำถาม จดการถามตอบและสรุปบทเรียน นักเรียนที่สามารถใช้เทคนิคการการจดบันทึกแบบนี้จะสามารถตั้งคำถามที่ดี ที่ทำให้ครูช่วยเหลือหากนักเรียนเกิดมโนทัศน์ที่ผิดพลาด (misconcept)
             คุณครูจะใช้คำถาม เพื่อประเมินประสิทธิภาพจากการเรียนรู้ เมื่อถาม-ตอบเรียบร้อย

             นักเรียนจะเริ่มลงมือปฏิบัติตามงานที่ได้รับมอบหมาย อาจจะเป็นปฎิบัติการทดลอง กิจกรรมสืบเสาะ
กิจกรรมการแก้ปัญหา หรือการทดสอบ ภายในเวลา 95 นาที 


<p></p>

               เนื่องจากเด็กๆได้เรียนรู้เนื้อหาและวิธีการใช้เครื่องมือจากการดูวิดีโอผ่านมือถือ ไอแพด หรือคอมพิวเตอร์ 
               นักเรียนจึงสามารถทำความเข้าใจกับงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสมบูรณ์ ทำให้ครูอารอนมีเวลาเดินไปรอบ
               ห้องเรียน เพื่อให้ความช่วยเหลือเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม

               นักเรียนสามารถที่จะทำปฏิบัติการและรายงานผลได้ภายในชั้นเรียน ไม่ต้องนำรายงานกลับไป
ทำที่บ้านเหมือนที่เป็น

                การสอบยังคงมี เพราะเป็นวิธีที่จะทำให้ครูรู้ว่าเด็กๆยังมี miscocept ตรงไหนบ้าง

                 ห้องเรียนนี้จึงมีนักเรียนเป็นศูนย์กลาง นักเรียนดูวิธีโอ ตั้งคำถาม คุณครูคอยสะท้อนผล

                นักเรียนรับผิดชอบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหาทางแก้ปัญหา มีแรงจูงใจในการเรียน รับผิดชอบในการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ตัวเองเข้าใจหลักการต่างๆ

               

                   “คุณครูกลายเป็นผู้ช่วยเหลือนักเรียนไม่ใช่ผู้เพียรแต่ป้อนความรู้อีกต่อไป” 


<p></p>

ทำไมคุณครูจึงควรใช้ Flipped Classroom

                   เราต้องยอมรับว่า เราใช้การสอนแบบบรรยายมานานปีดีดัก แต่ห้องเรียนกลับทาง
จะทำให้เรา ไม่กลับไปใช้วิธีการนั้นอีกแล้ว

                   นักเรียนเติบโตมายุคอินเตอร์เน็ต เฟสบุ๊ค มายด์สเปส เมื่อกลับมาถึงบ้าน
                   พวกเค้าจะกระหน่ำใช้เครื่องมือเหล่านี้ เพื่อดูหนัง ฟังเพลง แชทกับเพื่อน ติดตามข่าวสาร
                   เพราะอดกลั้นมานานระหว่างที่อยู่ในโรงเรียน
                   เป็นที่น่าเสียดาย เด็กๆพกเครื่องมือนำสมัยไปในกระเป๋าทุกวัน
                   แต่กลับต้องหันไปใช้คอมพิวเตอร์เก่าๆในโรงเรียน

                    ทำไมเราไม่ใช่ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้นล่ะ เปิดโอกาสให้เด็กๆได้นำเครื่องมือทรง
                    ประสิทธิภาพเหล่านั้นมาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ แบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคุณครูและเพื่อนๆ


                    ส่งเสริมให้พวกเค้าได้ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีอย่างถูกวิธีและสร้างสรรค์ ดีกว่าต่อต้าน ทั้งๆที่รู้ว่า  
มันกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเด็กๆในยุคนี้ไปแล้ว


เหตุผลทีไม่ควรใช้ห้องเรียนกลับด้าน ถ้าเพียงแต่

1. ฟังจากคำบอกเล่าขอคนที่อ่านเล่มนี้ แน่นอนว่าไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าเทคนิคนี้ถูกนำไปใช้
โดยไม่ผ่านการคิด

2. ถิดว่าจะช่วยพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ถึงแม้ห้องเรียนกลับทางจะใช้เทคโนโลยี
แต่ก็ไม่ใช่วิธีการที่จะทำให้เกิดทักษะนั้น

3. เพราะคิดว่าจะกลายเป็นผู้ล้ำสมัย  เพราะวิธีการนี้ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีชนิดล่าสุด ล้ำยุคใดๆ

4. เพราะคิดว่ามันจะทำให้คุณกลายเป็นครูที่ดี การสอนเป็นอะไรที่มากกว่าการให้แค่เนื้อหา

5. เพราะคิดว่ามันจะทำให้สอนง่ายขึ้น เปล่าเลยวิธีการนี้ไม่ทำให้คุณสอนได้ง่ายขึ้น


Flipped Classroom เหมาะกับนักเรียนแบบใดบ้าง

  1. นักเรียนที่มากด้วยกิจกรรม และต้องการเรียนรู้ที่หยืดหยุ่น

  2. นักเรียนที่ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ (struggling student)

  3. นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษต่างๆ สามารถเลือกที่จะเรียนซ้ำได้เท่าที่ต้องการ


ประโยชน์ของ Flipped Classroom

  1. หยุดถามหรือเปิดดูซ้ำไปมาได้

  2. เพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน ครูเดินไปมาคอยช่วยเหลือ เมื่อเด็กๆทำงาน
     จึงสามารถซักถาม แนะนำทันที ความคิดที่มี จึงชัดเจนมากขึ้น
  

  3. ช่วยให้ครูรู้จักผู้เรียนได้ดีขึ้น ครูมีโอกาสได้ช่วยเหลือผู้เรียนเป็นรายบุคคล
      จนเด็กๆไม่กลัวที่จะซักถาม  เรื่องใดๆก็ตาม ถามได้ตามความพอใจ
      วิธีการนี้จึงช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมเชิงบวกระหว่างครูและนักเรียน


  4. ช่วยเพิ่มใปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
      เมื่อนักเรียนมีปัญหาใกล้เคียงกัน จึงต้องแบ่งปัน แลกเปลี่ยน เพื่อช่วยกันแก้ปัญหา

  5. ช่วยส่งเสริมนักเรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ในห้องเรียนหนึ่งห้องเรียน
ผู้เรียนมีความแตกต่างหลากหลายด้าน เมื่อครูตรวจสอบความเข้าใจ เมื่อพบว่านักเรียนคนใด
ต้องการความช่วยเหลือแบบใด สามารถช่วยได้ทันที

  6. เปลี่ยนแปลงการจัดการห้องเรียน ห้องเรียนแบบเดิมมักจะพบนักเรียนที่เบื่อหน่าย
และไม่สนใจในการเรียน เพราะธรรมชาติของเด็กๆไม่สามารถนั่งฟังการบรรยายที่นานๆได้
นี่คือปัญหาหนึ่งของการจัดการชั้นเรียน ห้องเรียนกลับทางทำให้เด็กๆได้ลงมือทำมากกว่าเป็นผู้ฟัง

  7. เปลี่ยนวิธีการพูดคุยกับผู้ปกครอง  ผู้ปกครองมักชอบมีคำถามที่ว่า
“ลูกอยู่ในห้องเรียน เป็นอย่างไร นั่งเรียนเรียบร้อยและเชื่อฟังดีหรือไม่ ไม่ก่อกวนชั้นเรียนใช่ไหม” เมื่อห้องเรียน
เปลี่ยนแปลง รูปแบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไป ทำให้ไม่ต้องกังวลกับบทสนานี้ เพราะนักเรียน
เข้ามาในห้องเรียนอยากมีเป้าหมาย เราจึงมีเพียง 2 คำถามคือ นักเรียนกำลังเรียนรู้ใช่หรือไม่ ถ้าไม่ เราต้องทำอย่างไรเพื่อช่วยให้เด็กๆเกิดการเรียนรู้

  8. เปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของผู้ปกครอง ผู้ปกครองสามารถใช้รุปแบบการเรียนรู้
ไปพร้อมๆกับเด็กๆ และสามารถช่วยเหลือเด็กในการเรียนรู้ได้

  9. ช่วยลดระยะทางของการเรียนรู้ เมื่อคุณครูอัพโหลดวิดีโอต่างๆ นักเรียนทุกมุมโลก
สามารถเข้ามาศึกษาได้

  10. เมื่อคุณครูไม่สามรถเข้าสอนเนื่องจากภารกิจต่างๆ ห้องเรียนกลับทางเป็นผู้ช่วยที่ดี

 

            ลองคิดพิจารณาว่าเหมาะสมและปรับใช้กับบริบทเราได้ไหม เด็กๆของไทย เหมาะสมหรือไม่กับห้องเรียนกลับด้าน ครูอยู่กับเด็กๆทุกวัน ต้องหมั่นสังเกตปัญหา อะไร สิ่งใดกับแน่ที่ต้องพัฒนา ให้กับเด็กเรา



          

หมายเลขบันทึก: 537626เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2013 02:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มกราคม 2014 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณมากครับ. ได้ความรู้มากเลย จะเริ่มทดลองดูนะเพื่อชาติของเรา555

ยินดีค่ะ ดีใจที่อาจารย์อ่านแล้วจะนำไปทดลองนะค่ะ อย่าลืมมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยน เรียนรู้กันด้วยนะค่ะ

ครูปุ้มค่ะ ท่านที่ได้นำความรู้ Flipped classroom มาให้ประเทศเราเป็นท่านแรกคือ อาจารย์หมอวิจารณ์ ค่ะ และท่านใช้คำไทยของ Flipped classroom ว่า ห้องเรียนกลับทาง ค่ะ

ครูปุ้มลองค้นดูได้ใน  GotoKnow นะคะ ด้วยคำว่า ห้องเรียนกลับทาง ค่ะ ปุ่มค้นอยู่ที่หน้าแรกค่ะ

     ขอบพระคุณมากค่ะอาจารย์ ปุ้มสับสัน "กลับด้าน"กับ"กลับทาง" แก้ไขเรียบร้อยแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท