ความน่าจะเป็นของการเรียกชื่อพิมพ์ และประเภทเนื้อพระเก่าสมัยโบราณ


หลังจากที่ผมส่องกล้องดูเนื้อพระแบบต่างๆ

ผมเชื่อว่า ธรรมชาติของการใช้มวลสารต่างๆผสมลงในเนื้อพระนั้น ผู้สร้างน่าจะไม่มีการกำหนดแบ่งแยกว่าจะสร้างพระเนื้ออะไร หรือให้แก่มวลสารอะไร

คงจะทำไปตามเท่าที่มี ตามที่หาได้

พอสร้างแล้ว เห็นผลแล้ว คนรุ่นหลังที่ไปพบ จึงมาแบ่งแยกเรียกกันไปตามความคิด ความเชื่อของตนเอง

เช่นเนื้อโลหะ ก็น่าจะมีแบบผสมหลากชนิด และแก่โลหะบางชนิด แล้วแต่เตาหลอมไหนจะมีอะไร

และแล้วแต่การเทลงเบ้า ว่าเบ้าไหนจะมีอะไรลงไปมากกว่ากัน

ที่ทำให้เกิดเนื้อโลหะ สำริดหลากชนิด เนื้อเงินหลากแบบ ชินเงินหลากความแก่โลหะ ตะกั่วหลากชนิด ฯลฯ

หรือเนื้อดินดิบสีต่างๆ แก่ดินบ้าง แก่ว่านบ้าง

หรือเนื้อผงสารพัดรูปแบบของส่วนผสมที่เกิดขึ้น

แต่ คนในวงการทั้่วไป กลับไปฟังคนที่พยายามจำกัดวงเล่น เฉพาะพระที่ตัวเองมี หรือที่ตัวเองรู้จัก

คนที่ไม่รู้ มาทีหลัง ก็วิ่งตาม เรียกไป เล่นไปโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

ทั้งๆที่ คำเรียก ชื่อเรียกเหล่านั้น น่าจะเป็นเพียงคำที่เขาสมมติขึ้นมาคุยกันเฉยๆเท่านั้น

นี่คือที่มาของชื่อเรียกต่างๆที่ทำให้เกิดความสับสนในวงการพระเครื่องครับ

555555555555555555555555555555555555555555555

ถ้าเรากลับมาทำความเข้าใจความเป็นจริง แล้วเราจะไม่งง ไม่สับสนครับ

อิอิอิอิอิอิ

หมายเลขบันทึก: 535899เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2013 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2013 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นายฤทธิกร ชอบทำทาน

สวัสดีครับอาจารย์กินข้าวเที่ยงเพิ่งเสร็จพอมาเข้าห้องเรียนเริ่มง่วงนอนครับขออนุญาตงีบนิดหนึ่งครับ  ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท