ระบบ "ท่องจำ" ใช้ไม่ได้กับการดูพระเนื้อผง


ในวงการพระเครื่อง จะมีสำนวนพูดติดปากว่า

 

"เล่นพระสมเด็จ เสร็จทุกราย"

 

ที่น่าจะมีที่มาแน่ๆ

 

เพราะ เท่าที่ผมมีประสบการณ์นั้น

การศึกษาพระเนื้อผงรุ่นเก่าๆ ไม่เหมาะกับ "นักท่องจำ" แน่ๆ

แต่จะเหมาะกับ "นักเรียน"

เพราะพระสมเด็จเนื้อปูนเปลือหอย ที่ทำด้วยมือนั้น แต่ละองค์ แทบจะไม่มีอะไรเหมือนกันเลย

จากการประมาณการณ์ของผม ลักษระของเนื้อพระ น่าจะมีได้ไม่ต่ำกว่า 10000000000 แบบของเนื้อที่ปรากฏให้เห็นได้

ดังนั้น ใครพยายามจะท่องจำ จำให้ติดตา

 

นอกจากจะจำได้ยากแล้ว ก็ยังอาจจะได้แค่พระเก๊ทำเลียนแบบ เท่านั้น

ผมพยายามบอกไปก็ไม่มีใครเชื่อ

และสุดท้าย ก็มักจะมาบ่นว่า

1. ไม่เคยเห็นของจริง เลยแยกไม่ออก
(ที่เป็นการบ่นแบบไร้สาระที่สุด เท่าที่เคยได้ยินมา เพราะคนที่ไม่เข้าใจ ต่อให้เห็นของจริงเป็นหมื่นๆองค์ วางปะปนกันอยู่กับของเก๊ ก็ยังจะแยกไม่ออกว่าองค์ไหนเก๊ องค์ไหนแท้)

2. ไม่มีใครสอน เลยดูไม่เป็นสักที

(ที่ไร้สาระพอๆกัน เพราะแท้ที่จริงการเรียนอยู่ที่ตัวเราเอง ต่อให้มีคนสอนเต็มไปหมด คนไม่เรียนก็ไม่มีทางจะรู้เหมือนเดิม)

แต่ข้ออ้างสองข้อข้างบนนี่ก็สาหัสแล้ว และพบมากที่สุดในกลุ่มคนที่ "ไม่ชอบเรียน"

เพราะเขาคิดแค่ว่า จำเอาก็ได้แล้ว ไม่ต้องเรียนก็ได้

สาเหตุของปัญหาของการหลงใหลในพระเก๊เนื้อพลาสติก ก็อยู่ประมาณนี้แหละครับ

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ


 

หมายเลขบันทึก: 535622เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2013 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2013 13:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นายฤทธิกร ชอบทำทาน

ผมต้องขอโทษอาจารย์ด้วยครับ ผมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่หลงเป็นนักท่องจำอยู่เหมือนกัน แต่ต่อไปนี้ผมจะปรับปรุงตัวเองครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท